การละเล่นในเทศกาลต่างๆ
การละเล่นในเทศกาลต่างๆ, การละเล่นในเทศกาลต่างๆ หมายถึง, การละเล่นในเทศกาลต่างๆ คือ, การละเล่นในเทศกาลต่างๆ ความหมาย, การละเล่นในเทศกาลต่างๆ คืออะไร
การละเล่นรื่นเริงในเทศกาลต่างๆ ที่เล่นกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ตั้งแต่โบราณมา เทศกาลที่มีการละเล่นมากที่สุดน่าจะได้แก่ เทศกาลสงกรานต์ เพราะถือเป็นวันขึ้นปีใหม่และมีเวลาว่างจากการงาน ประกอบกับเป็นช่วงหน้าแล้ง ฝนไม่ตกหลังจากทำบุญสุนทานกันในวันนี้แล้วก็มีการละเล่นรื่นเริงสนุกสนาน เด็กๆ มักจะชอบการเล่นกลางแจ้ง ในเทศกาลนี้เด็กๆ ชอบเล่นการละเล่นที่ออกกำลังและมีบทร้องประกอบ ในภาคกลางตามจังหวัดต่างๆ ถึงกับกล่าวกันว่าถ้าอยากดูการเล่นต่างๆ ของเด็ก ต้องมาดูในวันสงกรานต์ และที่เห็นเล่นกันมากทั้งเด็กและหนุ่มสาวก็คือ งูกินหาง รีรีข้าวสาร เพราะมีโอกาสได้แตะต้องเนื้อตัวกันและมีบทร้องประกอบสนุกสนานอย่างสุภาพ มีการเล่นแม่ศรีและการละเล่นประเภทความเชื่อเรื่องเข้าทรงอื่นๆ นอกจากนั้น ก็มี โค้งตีนเกวียน จ้ำแจ่วหรือปลาหมอตกกระทะ คล้องช้าง ไม้หึ่ง จ้องเต (ต้องเต) ฯลฯ ซึ่งเป็นการเล่นกลางแจ้งเพราะต้องการที่กว้างจุคนได้มาก
๑. การละเล่นประเภทแข่งขัน แยกออกเป็นสองฝ่าย ให้ฝ่ายหนึ่งเป็นชายล้วน ฝ่ายหนึ่งเป็นหญิงล้วน เมื่อการแข่งขันสิ้นสุดแล้วผู้ชนะจะปรับให้ผู้แพ้ร้องรำ จึงเพิ่มความสนุกสนานสมานสามัคคีมากขึ้น เช่น การละเล่นชักชา ช่วงรำ และสะบ้ารำ เป็นต้น
๒. การละเล่นที่มีบทร้องประกอบ เช่น การเล่นโยนชิงช้า หรือช้านางหงส์ รำโทน เป็นต้น
๓. การละเล่นประเภทเพลงพื้นเมือง ได้แก่ เพลงที่เกี่ยวกับงานสงกรานต์
๔. การเล่นสาดน้ำ การเล่นสาดน้ำมีที่มาจากการนำน้ำไปสรงพระพุทธรูปที่วัดโดยใช้รางรองรับน้ำ น้ำที่เหลือในขันก็นำมาประพรมกันสนุกสนานเพราะเป็นหน้าร้อน ที่ภาคอีสานเด็กๆ จะไปรอรับน้ำสรงพระที่ไหลลงมาเพราะถือว่าเป็นมงคล ต่อมามีการนำน้ำมาประพรมกันเองจนถึงสาดกัน
การละเล่นในเทศกาลต่างๆ, การละเล่นในเทศกาลต่างๆ หมายถึง, การละเล่นในเทศกาลต่างๆ คือ, การละเล่นในเทศกาลต่างๆ ความหมาย, การละเล่นในเทศกาลต่างๆ คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!