ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

นมแม่, นมแม่ หมายถึง, นมแม่ คือ, นมแม่ ความหมาย, นมแม่ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 1
นมแม่

          เต้านมหญิงเมื่อเป็นสาว จะประกอบด้วยต่อมสร้างน้ำนมจำนวนมาก จากต่อมนี้จะมีท่อส่งน้ำนมรวมกันประมาณ ๑๕ -๒๐ ท่อ มาที่หัวนม ก่อนจะถึง หัวนมนี้จะป่องเป็นกระเปาะอยู่ตรงบริเวณลานหัวนม (บริเวณที่มีสีคล้ำที่ผิวหนังรอบๆ หัวนม)เมื่อมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น เต้านมจะมีการเจริญเติบโตขึ้นจากอิทธิพลของฮอร์โมนเอสโทรเจน และโพรเจสเทอโรน โดยเอสโทรเจนกระตุ้นให้มีการเติบโตของท่อ และระบบการหลั่งเก็บน้ำนม ส่วนโพรเจสเทอโรนช่วยให้มีการเจริญเติบโตของต่อมสร้างน้ำนม
           จำนวนการหลั่งของนมแม่มีแตกต่างกันแต่ละบุคคล หากได้รับการแนะนำ และปฏิบัติตามแล้ว จำนวนน้ำนมที่หลั่งจะเพียงพอสำหรับเลี้ยงลูก ตั้งแต่แรกเกิดจนอายุประมาณ ๕-๖  เดือน ปัจจัยสำคัญที่จะต้องคำนึง คือ
           ๑. สภาพโภชนาของแม่ แม่จำเป็นต้องได้รับอาหารเพียงพอสำหรับตนเอง และเด็กในครรภ์ ตลอดจนสะสมไว้สำหรับสร้างน้ำนมหลังคลอด ดังนั้นแม่ เมื่อก่อนคลอดจะมีน้ำหนักเพิ่มจากก่อนตั้งครรภ์ประมาณ ๑๒ กิโลกรัม น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจะเป็นน้ำหนักของลูก รกและน้ำคร่ำ ประมาณ ๔  กิโลกรัมอีกประมาณ ๔-๖ กิโลกรัม จะสำรองไว้สำหรับการสร้างน้ำนมในรูปแบบของไขมัน หรือประมาณ ๓๖,๐๐๐ แคลอรี พลังงานจำนวนนี้สามารถจะใช้ช่วยในการสร้างน้ำนมได้ประมาณ ๓๐๐ แคลอรีต่อวันเป็นเวลาถึง ๔ เดือน ดังนั้น หากแม่ไม่เลี้ยงลูกด้วยนมตนเอง จะเป็นสาเหตุให้อ้วนเกินแม่ที่ได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าและจำนวนเพียงพอจะหลั่งน้ำนมได้มาก ส่วนคุณภาพของสารอาหารที่สำคัญของนม เช่น โปรตีน ไขมัน และน้ำตาลนั้นใกล้เคียงกัน มีจำนวนไขมันและวิตามินบางอย่างซึ่งพบว่ามีสูงในแม่ที่มีสภาพโภชนาการดี
           ๒. ปัจจัยด้านฮอร์โมน การหลั่งน้ำนมจะถูกควบคุม โดยต่อมไร้ท่อในร่างกาย ซึ่งจะหลั่งฮอร์โมนหลายชนิด เช่น โปรแล็กติน เป็นฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมพิทูอิทารีซึ่งอยู่ในสมองส่วนหน้า นับได้ว่าเป็นกุญแจของฮอร์โมนของการหลั่งน้ำนม ตั้งแต่เริ่มต้นและต่อๆ มา ขณะที่เด็กยังไม่คลอด โปรแล็กติน จะถูกควบคุมโดยสารป้องกันการหลั่งของนม ซึ่งสร้างโดยไฮโปทาลามัสของสมอง ดังนั้น น้ำนมจึงไม่ไหลก่อนคลอดนอกจากระยะสามเดือนหลังของการตั้งครรภ์จะมีน้ำนมเหลือง(Colostrum)เป็นน้ำใสสีเหลืองออกเล็กน้อยเมื่อนวดและบีบเบาๆ    
          บริเวณลานหัวนม อิทธิพลของฮอร์โมนต่อการหลั่งน้ำนมมี ๒ รูปแบบ คือ
                      ๒.๑ การหลั่งโดยตรง
เมื่อเด็กดูดนมบริเวณหัวนมและลานหัวนม จะมีเส้นประสาทเลี้ยงอย่างมากมาย ผลของการกระตุ้นที่ปลายประสาทจะส่งกระแสไปยังไฮโปทาลามัส และ จากไฮโปทาลามัสมีกระแสกระตุ้นมายังต่อมพิทูอิทารีทั้งส่วนหน้าและหลัง จากส่วนหน้า โปรแล็กตินจะหลั่งออก ทำให้ต่อมสร้างน้ำนมหลั่งน้ำนมเพื่อทดแทนนมที่เด็กดูดออกไป
                      ๒.๒ การไหลของน้ำนมเอง การที่ต่อมพิทูอิทารี ส่วนหลังถูกกระตุ้นโดยไฮโปทาลามัสก็จะหลั่ง  "ออกซีไทซิน"ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อของเยื่อบุของต่อมน้ำนม ช่วยให้มีการขับน้ำนมมาตามท่อทำให้ไหลสะดวกมากขึ้นนอกจากแรงดูดของเด็ก ดังจะเห็นว่าขณะที่เด็กดูดนมจากเต้าหนึ่งแล้ว  ยังมีน้ำนมไหลเองเล็กๆ น้อยๆ จากอีกเต้าหนึ่ง 
           ๓. ปัจจัยทางจิตใจ ตั้งแต่ดั้งเดิมและปัจจุบันในชุมชนชนบท การเลี้ยงลูกต้องอาศัยนมแม่อย่างเดียว ไม่มีนมอื่นมาทดแทน แม่จึงใช้เลี้ยงลูกจนอายุ ๑ ๑๒ - ๒ ปี หรือจนกระทั่งตั้งครรภ์ใหม่ การปฏิบัติดังนี้ ก่อให้เกิดความสุขและความพึงพอใจ ทั้งแม่และลูกกระชับความสัมพันธ์ยิ่งขึ้น ปัจจุบันในชุมชนเขตเมืองแม่มีความจำเป็นต้องทำงาน มีความเครียดอีกทั้งมีนมอื่นทดแทน นับเป็นอิทธิพลที่สำคัญในด้านลบต่อการกระตุ้น "ไฮโปทาลามัส" เป็นเหตุให้การหลั่งน้ำนมลดลงได้ ดังนั้นความพร้อมและความเข้าใจถึงประโยชน์ของนมแม่ ตลอดจนการสนับสนุนของผู้ใกล้เคียง เช่น พ่อ ปู่ ย่า ตา ยาย ฯลฯ สามารถ ทำให้แม่มีความมั่นใจ และสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมตนเองได้สำเร็จ

          ขณะเริ่มให้ลูกดูดนม ควรจะอยู่ในระยะที่สบาย ไม่มีกังวลทั้งแม่และลูก เพราะระหว่างให้นมลูกไม่เพียงแต่ให้อาหาร  ลูกเท่านั้น ยังให้โอกาสที่แม่และลูกได้หยอกล้อและใกล้ชิดกันอย่างมีความสุข เสริมความรักและความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันท่าที่เหมาะสม คือนั่งบนเก้าอี้ที่มีพนักและมีที่รองเท้า เด็กอยู่ในอ้อมแขน สำหรับหลังคลอดใหม่ๆ อาจจะนอนตะแคงให้ก็ได้ เมื่อริมฝีปากของเด็กกระทบหัวนม ความรู้สึกนี้จะทำให้เด็กหันปากมาอ้าปากดูดนมตามธรรมชาติ มีบางคราวอาจจะต้องช่วยจับหัวนมให้จ่อที่ปากเด็ก และขยับท่าให้เหมาะสมเพื่อให้ปากเด็กกระชับกับเต้านม
          การจะให้นมลูกเมื่อใด และแต่ละครั้งนานเท่าใดนั้นตัวแม่และลูกเองเป็นผู้กำหนด ปกติประมาณ ๓-๔ ชั่วโมงต่อครั้ง เมื่อเด็กหิว แม่จะสังเกตได้ โดยมากเป็นเวลาหลังตื่นและ มีกิริยาแสดงว่าหิว ก่อนที่จะร้องก็เริ่มให้ได้เลย ภายหลังดูดได้ประมาณ ๕ นาที เด็กก็จะได้นมประมาณ ๓๔ ของความต้องการแล้ว การดูดนมจะเป็นเวลาให้แม่และเด็กมีความสุข และกระตุ้นการสร้างน้ำนมเพื่อเตรียมไว้คราวต่อไปจึงมักจะให้เวลาทั้งสิ้นประมาณ ๑๕-๒๐ นาที หลังจากนั้นควรจะจับเด็กนั่งหรือพาดบ่าตบหลังเบาๆ เพื่อให้เด็กเรอเอาลมออก ถ้าจับนอนทันทีเด็กมักขย้อน การดูดแต่ละครั้งดูดจากเต้าเดียวก็เพียงพอครั้งต่อไป จึงสลับข้างกัน

นมแม่, นมแม่ หมายถึง, นมแม่ คือ, นมแม่ ความหมาย, นมแม่ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 8

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu