ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ทารกแรกเกิด, ทารกแรกเกิด หมายถึง, ทารกแรกเกิด คือ, ทารกแรกเกิด ความหมาย, ทารกแรกเกิด คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 1
ทารกแรกเกิด

          แต่ก่อนนี้ ช่วงระยะคลอด และต่อมาใน ๒-๓ วันแรกของชีวิต เป็นระยะเวลาที่เสี่ยงอันตรายของทารกมาก ปัจจุบันนี้ความรู้ทางการแพทย์ได้เจริญอย่างมาก  ทำให้อันตรายลดลงจนพอจะกล่าวได้ว่าเด็กส่วนใหญ่จะคลอดด้วยความปลอดภัย ทางการแพทย์แบ่งทารกแรกคลอดตามระยะเวลาตั้งครรภ์และน้ำหนักตัวเมื่อคลอด เป็น ๕ ประเภท ดังนี้
          ๑. ทารกปกติจะมีอายุในครรภ์ ๓๘-๔๒ สัปดาห์และน้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยเพศชายประมาณ ๓,๑๐๐ กรัม ในเพศหญิงประมาณ ๓,๐๐๐ กรัม
          ๒. ทารกอายุในครรภ์ต่ำกว่า ๓๗ สัปดาห์เรียกว่า ทารกคลอดก่อนกำหนด
          ๓. ทารกอายุในครรภ์เกิน ๔๒ สัปดาห์เรียกว่า ทารกคลอดหลังกำหนด
          ๔. ทารกน้ำหนักน้อย จะมีอายุในครรภ์เท่าไรก็ตามแต่น้ำหนักตัวต่ำกว่า ๒,๕๐๐ กรัม
          ๕. ทารกน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ของอายุในครรภ์ พวกนี้จะมีน้ำหนักต่ำกว่าร้อยละ ๕ ของเกณฑ์น้ำหนักเด็กเมื่อมีอายุในครรภ์นั้นๆ

          ทารกจำพวกที่ ๒-๕ จะต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ

ตารางอาหารของทารก

อายุต่ำกว่า ๓ เดือน อายุ ๓ เดือน อายุ ๔-๕ เดือน อายุ ๖-๗ เดือน อายุ ๘-๙ เดือน อายุ ๑ ปี นมแม่อย่างเดียว วันละ ๕ มื้อ ประมาณ ๔ ชั่วโมงต่อมื้อ เว้นมื้อดึก (๑๖.๐๐ น., ๑๐.๐๐ น., ๑๔.๐๐ น., ๑๘.๐๐ น., ๑๘.๐๐ น., ๒๒.๐๐น.) นมแม่วันละ ๕ มื้อ อาหารเสริมอาจเริ่มด้วยน้ำข้าวข้น ๆ ต่อมาเป็นข้าวลดใส่น้ำแกงจืด ผลัดเปลี่ยนกับกล้วยสุกครูด วันละ ๑ มื้อ ตอนบ่าย (๑๔.๐๐น.)หรือเมื่อสะดวกก่อนกินนม อาหารเสริมนี้จะต้องเริ่มจากจำนวนน้อย ๆ ประมาณ ๑-๒ ช้อนชา จนถึง ๑-๒ ช้อนโต๊ะ และเพิ่มได้ ๒ มื้อ ก่อนกินนม (๑๔.๐๐ น. และ ๑๐.๐๐ น. หรือ ๑๘.๐๐ น.) นมแม่วันละ ๕ มื้อ อาหารเสริมเริ่มด้วยข้าวบดกับไข่แดงต้มสุก ตับสุก ถั่วต้มเปี่อย เนื้อปลา ฟักทอง หรือผักต้มสุกบด วันละ ๓ มื้อก่อนนม (ฝึกให้เด็กชินต่อการกินจากช้อน) นมแม่วันละ ๔ มื้อ เพิ่มจำนวนอาหารเสริมเพื่อ ๔-๕ เดือน เป็นอาหารหลักแทนนมแม่ อาจใช้เนื้อหมูสับละเอียดแทนปลาได้ และอีก ๒ มื้อ จำนวนน้อยก่อนนมแม่ (เด็กเริ่มหัดเคี้ยว เริ่มอาหารเป็นก้อน เนื้อสัตว์บด) นมแม่ ๓ มื้อ อาหารอื่นเป็นอาหารหลักทดแทนนมแม่ ๒ มื้อ (เริ่มหัดให้เด็กดื่มน้ำจากถ้วย) นมแม่ ๒-๓ มื้อ (เช้า-กลางวันและก่อนเข้านอน) อาหารอื่น ๆ เป็นอาหารหลักทดแทนนมแม่ ๓ มื้อ โดยเลือกอาหารเหมาะสมที่มีในสำรับของครอบครัว เช่น แกงจืด หมูสับ เต้าหู้ ปลา ฯลฯ



๑. ทางร่างกาย
          การคลอดจะมีผลกระทบต่อร่างกายเด็ก โดยที่ช่องทางผ่านของเด็กคือปากมดลูก และช่องคลอดมีขนาดเล็กกว่าตัวเด็ก การคลอดโดยปกติ เด็กจะเอาศีรษะออกเป็นส่วนใหญ่และเป็นการคลอดที่ปลอดภัยที่สุดของแม่และเด็กศีรษะของเด็กขณะนี้สามารถจะยืดหดได้โดยที่รอยต่อของกระดูกกะโหลกเป็นเพียงพังผืดเหนียว  ศีรษะเด็กเมื่อคลอดใหม่จึงมักจะเบี้ยวทุยไปทางท้ายทอย  และบางคราวหนังศีรษะบริเวณนั้นจะบวมนุ่ม มีสีเขียวคล้ำ จากการกดกับขอบปากมดลูก ศีรษะที่เบี้ยวและหนังศีรษะที่บวมจะยุบหายไปเองภายใน ๓-๗ วัน ขณะที่ไหล่และทรวงอกผ่านช่องคลอดที่แคบ จะช่วยบีบเอาน้ำคร่ำจากปอดออกทางปากด้วยจำนวนหนึ่งทำให้เด็กมีความสะดวกในการหายใจหลังคลอดแล้ว ส่วนน้ำคร่ำที่ตกค้างในปอดจะถูกดูซึมเข้าสู่ร่างกายทางหลอดเลือดภายใน ๒-๓ วัน แล้วปอดก็จะขยายตัวทำงานได้เต็มที่
 
๒. ทางสรีรวิทยา
           ทารกเมื่อคลอดจากครรภ์แม่แล้วจะต้องปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เช่น ขณะอยู่ในครรภ์ แม่จะทำหน้าที่ให้ออกซิเจนและอาหาร มดลูก น้ำคร่ำจะช่วยควบคุมอุณหภูมิ และร่างกายของแม่จะช่วยคุ้มกันโรคติดเชื้อ เมื่อทารก คลอดแล้วร่างกายของเด็กจะปรับตัวและเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมดังต่อไปนี้ 
          ๒.๑ การหายใจ หลังคลอดทารกต้องใช้ปอดทำการหายใจแทนรก เมื่อทารกคลอดจากครรภ์แม่ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิภายนอก และการสัมผัสของผู้ทำคลอด จะช่วยกระตุ้นศูนย์ควบคุมการหายใจให้มีการหายใจอากาศเป็นครั้งแรก และจะตามมาด้วยเสียงร้องของทารก  หน้าที่ของทารกที่เขียวคล้ำจะแดงขึ้นชัดเจน แสดงถึงปอดได้เริ่มทำหน้าที่แลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์อย่างมีประสิทธิภาพ
          ๒.๒ ระบบการไหลเวียนเลือด เมื่อทารกคลอดแล้วรกที่เคยทำหน้าที่นำออกซิเจนจากแม่ไปเลี้ยงร่างกายก็หมดหน้าที่ ดังนั้นจึงมีการเปลี่ยนระบบการไหลเวียนของเลือด คือแทนที่จะนำเลือดแดงจากรก กลับเป็นการนำเลือดแดงจากปอดแทน โดยที่ขณะอยู่ในครรภ์เลือดแดงจากรกส่วนใหญ่จะเข้าสู่หัวใจห้องขวาบนและผ่านเข้าหัวใจช่องซ้ายบนทางรูเปิด ที่มีชื่อว่า ฟอราเมนโอวาเล แล้วไหลลงสู่หัวใจห้องซ้ายล่าง เพื่อสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกาย โดยเฉพาะหัวใจส่วนบนของร่างกายและศีรษะ เลือดแดงจำนวนน้อยจากรกก็จะผสมกับเลือดดำที่ส่วนบนของร่างกายและศีรษะไหลลงหัวใจห้องขวาล่างเพื่อสูบฉีดไปยังปอด เนื่องจากปอดยังไม่ทำงานจึงมีหลอดเลือดลัดชื่อ ดัคตัสอาเทอริโอซัส นำเข้าสู่เส้นเลือดแดง นำเลือดไปเลี้ยงส่วนล่างของร่างกาย และไปยังรกเพื่อแลกเปลี่ยนออกซิเจน  หลังคลอดช่องติดต่อระหว่างห้องหัวใจขวาและซ้ายจะปิดลง และหลอดเลือดดัคตัสอาเทอริโอซัสก็จะค่อยๆ ตีบตัน ทำให้มีการไหลเวียนของเลือดแบบผู้ใหญ่
          ๒.๓ อุณหภูมิ ร่างกายทารกจำต้องปรับตัวเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศ ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิในมดลูก การปรับตัวนี้จะกินเวลาประมาณ ๒๔ ชั่วโมง ดังนั้นทารกเมื่อแรกเกิดจะมีอุณหภูมิร่างกายประมาณ ๓๕.๕-๓๖ องศาเซลเซียส และมี
อุณหภูมิ ๓๗ องศาเซลเซียสเมื่ออายุ ๒๔ ชั่วโมง อุณหภูมิของทารกมีความสำคัญในการดำเนินชีวิต หากอุณหภูมิต่ำหรือสูงกว่าปกติทารกจำต้องใช้พลังงานมากขึ้น ถ้าเป็นเวลานานอาจเกิดอันตรายได้ การที่ทารกอยู่ในบรรยากาศที่เย็นก็จะทำให้อุณหภูมิลดลง หรือหุ้มห่อมากเกินควรก็ทำให้อุณหภูมิกายสูงขึ้น
          ๒.๔ การย่อยอาหาร ทารกหลังคลอดจะต้องรับประทานอาหารเอง ซึ่งขณะอยู่ในครรภ์อาหารที่ได้รับทางรก จะเป็นอาหารที่ย่อยเรียบร้อยแล้ว อาหารจะถูกนำเข้าสู่ร่างกายทางระบบไหลเวียนเลือดเหมือนกับออกซิเจน ร่างกายทารกพร้อมที่จะรับประทานอาหารได้โดยการดูด เมื่อหัวนมสัมผัสขอบปากทารกก็จะหันเข้าหาหัวนมแล้วอ้าปากดูดทันที อาหารที่ดีที่สุดคือ นมแม่ สำหรับข้าวและกล้วยบด  ที่นิยมให้ควบไปนั้นไม่มีประโยชน์ เพราะเป็นอาหารจำพวกแป้งที่ทารกอายุต่ำกว่า ๓ เดือนจะย่อยไม่ได้ อาหารดังกล่าวเข้าแทนที่นมที่เด็กต้องการ และมีอยู่บ่อยๆ ที่คนเลี้ยงให้รับประทานกล้วยมากเกินไปจนทารกย่อยไม่ได้และไม่สามารถผ่านกระเพาะอาหารไปได้ ทำให้ท้องอืด และกระเพาะอาหารแตก หากช่วยเหลือไม่ทันจะทำให้เด็กตายได้
          ๒.๕ การป้องกันและต่อสู้ของร่างกายต่อเชื้อโรคทารกแรกเกิดมีร่างกายและอวัยวะที่อ่อนแอและมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคน้อย  เชื้อโรคจึงเข้าสู่ร่างกายง่ายทางผิวหนัง ลำไส้และปอด นอกจากนี้ภูมิคุ้มกันของร่างกาย ที่ต่อต้านเชื้อโรค ก็ยังมีน้อย จึงทำให้ทารกแรกเกิดติดโรค ติดเชื้อได้ง่าย และเวลาเกิดโรค มักจะมีโอกาสแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย มีอัตราตายสูง ด้วยเหตุนี้ทารกแรกเกิดจึงจำต้องได้รับความระมัดระวังและป้องกันการติดเชื้ออย่างดี   

ทารกแรกเกิด, ทารกแรกเกิด หมายถึง, ทารกแรกเกิด คือ, ทารกแรกเกิด ความหมาย, ทารกแรกเกิด คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 8

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu