ตำราคชศาสตร์
ตำราคชศาสตร์, ตำราคชศาสตร์ หมายถึง, ตำราคชศาสตร์ คือ, ตำราคชศาสตร์ ความหมาย, ตำราคชศาสตร์ คืออะไร
คือ ตำราว่าด้วยช้างเผือก มี ๒ ตำรา คือ
๑.คชลักษณ์ กล่าวถึงรูปพรรณสัณฐานของช้างต่าง ๆ ทั้งดีและชั่ว ถ้าได้ไว้จะให้คุณและโทษตามแต่ลักษณะช้าง
๒.คชกรรม คือ ตำราที่รวบรวมเวทมนตร์คาถา กระบวนการจับช้าง รักษาช้าง และบำบัดเสนียดจัญไรต่าง ๆ
กำเนิดของช้างตำราสร้างโลก กล่าวว่า พระนารายณ์เสด็จบรรทมอยู่ในเกษียรสมุทร แล้วกระทำอธิษฐานด้วยเทวฤทธิ์ให้ดอกบัวผุดขึ้นที่พระอุทร ดอกบัวนั้นมี ๘ กลีบ ๑๗๓ เกสร แล้วจึงนำดอกบัวนั้นไปถวายพระอิศวร พระอิศวรจึงแบ่งดอกบัวนั้นเป็น ๔ ส่วน
ส่วนหนึ่ง ๘ เกสร เป็นของพระอิศวร
ส่วนหนึ่ง ๒๔ เกสร เป็นของพระพรหม
ส่วนหนึ่ง ๘ เกสร เป็นของพระนารายณ์
ส่วนหนึ่ง ๑๓๓ เกสร เป็นของพระเพลิง (พระอัคนี)
พระเป็นเจ้าทั้ง ๔ จึงได้สร้างช้าง ๔ ตระกูล พระอิศวรสร้างช้าง ๘ หมู่ พระพรหมสร้างช้าง ๑๐ หมู่ และช้างอัฎฐทิศ ๘ หมู่ พระนารายณ์สร้างช้าง ๘ หมู่ พระเพลิงสร้างช้างที่มีลักษณะดี ๔๒ ช้าง ช้างอำนวยพงศ์ คือ ช้างตระกูลประสมกันมีลูกแปลกออกไปอีก ๑๔ ตระกูล และช้างปาปลักษณ์ คือ ช้างที่มีลักษณะไม่เป็นมงคลอีก ๘๒ ช้าง
ช้างที่พระเป็นเจ้าทั้ง ๔ องค์สร้างนั้น ได้มีการแบ่งวรรณะเหมือนคนในประเทศอินเดีย ดังนี้ คือ ช้างที่พระพรหมสร้าง เป็นวรรณะพราหมณ์ ลักษณะเนื้อหนังอ่อน ขนอ่อนละเอียด เส้นเรียบ หน้าใหญ่ท้ายต่ำน้ำเต้าแฝด ขนงคิ้วสูง โขมดสูง มีกระทั่วตัวดังดอกกรรณิการ์ ขนหลัง ขนหู ขนปาก และ ขนตายาว ขุมหนึ่งขึ้น ๒ เส้น อกใหญ่ งวงเรียวรัด งาใหญ่ ปลายและต้นสมส่วน งาสีดอกจำปา
ตำราคชศาสตร์, ตำราคชศาสตร์ หมายถึง, ตำราคชศาสตร์ คือ, ตำราคชศาสตร์ ความหมาย, ตำราคชศาสตร์ คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!