การจะพิจารณาว่า พระไตรปิฎกภาษาบาลีมาสู่ประเทศไทยเมื่อไร จำเป็นต้องศึกษาว่าพระพุทธศาสนามาสู่ประเทศไทยเมื่อไร
กล่าวตามประวัติที่พอสืบค้นได้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ไว้ในหนังสือเรื่องตำนานพระพุทธเจดีย์ พอสรุปได้ว่าพระพุทธศาสนามาสู่ประเทศไทย รวม ๔ ครั้งด้วยกัน คือ
ครั้งแรก ก่อน พ.ศ. ๕๐๐ พระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมมาสู่ประเทศไทยที่นครปฐมตามหลักฐานที่ว่าพระเถระชื่อพระโสณะและพระอุตตระ เป็นหัวหน้าคณะนำพระพุทธศาสนามาสู่สุวรรณภูมิเป็นสมณทูตจากประเทศอินเดีย
ครั้งที่สอง ประมาณ พ.ศ. ๑๓๐๐ พระพุทธศาสนาแบบมหายานมาสู่ประเทศไทย ทางภายใต้จากอาณาจักรศรีวิชัย
ครั้งที่สาม ประมาณ พ.ศ. ๑๖๐๐ พระพุทธศาสนาแพร่เข้ามาสู่ภาคเหนือของประเทศไทยจากประเทศพม่า
ครั้งที่สี่ ประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ พระพุทธศาสนามาสู่ประเทศไทยทางนครศรีธรรมราชจากประเทศศรีลังกา
จากหลักฐานดังกล่าวข้างต้นทำให้สันนิษฐานว่า ในครั้งแรกและครั้งที่สองที่พระพุทธศาสนามาสู่ประเทศไทยนั้น ยังไม่มีพระไตรปิฎกมาด้วยเพราะในครั้งแรกยังไม่มีการจารึกพระไตรปิฎก ส่วนครั้งที่สองเป็นพระพุทธศาสนาแบบมหายาน พระพุทธศาสนาแบบที่ไทยนับถือเป็นพระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมที่เรียกว่า เถรวาท พระไตรปิฎกภาษาบาลีที่มาสู่ประเทศไทยน่าจะมาในสมัยที่พระพุทธศาสนาแพร่มาจากประเทศ พม่าสู่ภาคเหนือประมาณ พ.ศ. ๑๖๐๐ กับในสมัยที่แพร่มาจากประเทศศรีลังกาสู่นครศรีธรรมราชประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ แล้วทางกรุงสุโขทัยรับมา
เมื่อเป็นเช่นนี้พระไตรปิฎกที่ไทยเรารับมาและถ่ายทอดเป็นอักษรที่ใช้กันอยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ จึงน่าจะเป็นอักษรลานนาหรือล้านนา ในกรณีที่รับมาจากประเทศพม่าตั้งแต่ พ.ศ. ๑๖๐๐ และน่าจะเป็นอักษรขอมในกรณีที่รับมาจาก ลังกาตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๐๐ สภาพการปกครองประเทศในสมัยนั้น เชียงใหม่กับสุโขทัยมิได้ปกครองรวมกัน ต่างมีเจ้าผู้ครองนครเป็นอิสระของตนในแต่ละเมือง โดยเฉพาะในเมืองเชียงใหม่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองสูงสุดตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๐๐๐ เป็นต้นมา มีการทำสังคายนาชำระพระไตรปิฎก เมื่อ พ.ศ. ๒๐๒๐ ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของพระเจ้าติโลกราช หลังจากนั้นก็มีนักปราชญ์ภาษาบาลีผู้ยิ่งใหญ่คือ พระสิริมังคลาจารย์ แต่งตำราภาษาบาลีอธิบาย พระพุทธศาสนาไว้หลายเล่ม เช่น คำอธิบายมงคลสูตร ที่เรียกว่า "มังคลัตถทีปนี" เป็นต้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังการทำสังคายนา ครั้งนั้น ประมาณ ๒๐-๔๐ ปี ส่วนในกรุงสุโขทัยตั้งแต่ก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหงมาถึงสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง มีการแต่งหนังสือเรื่องไตรภูมิกถาหรือไตรภูมิพระร่วง อ้างอิงเรื่องราวจากพระไตรปิฎกและคำอธิบายพระไตรปิฎกมีการให้รายชื่อหนังสืออ้างอิงไว้หลายสิบเรื่องอันแสดงให้เห็นความคิดนำสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไทในการแต่งหนังสือ แล้วแสดงรายชื่อหนังสือที่ได้ค้นคว้าอ้างอิงไว้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ ๖๐๐-๘๐๐ ปีมาแล้ว
พระไตรปิฎกมาสู่ประเทศไทย
พระไตรปิฎกมาสู่ประเทศไทย, พระไตรปิฎกมาสู่ประเทศไทย หมายถึง, พระไตรปิฎกมาสู่ประเทศไทย คือ, พระไตรปิฎกมาสู่ประเทศไทย ความหมาย, พระไตรปิฎกมาสู่ประเทศไทย คืออะไร
พระไตรปิฎกมาสู่ประเทศไทย, พระไตรปิฎกมาสู่ประเทศไทย หมายถึง, พระไตรปิฎกมาสู่ประเทศไทย คือ, พระไตรปิฎกมาสู่ประเทศไทย ความหมาย, พระไตรปิฎกมาสู่ประเทศไทย คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!