มันเทศเป็นพืชที่เป็นเถาเลื้อยราบไปบนพื้นดิน มีรากสะสมอาหารขยายใหญ่เรียกว่าหัว หัวมันเทศมีคุณประโยชน์มาก เพราะใช้เป็นอาหารของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี เราใช้มันเทศปรุงอาหารได้ทั้งคาวหวาน อาหารคาวได้แก่ แกงเลียง แกงคั่วแกงกะหรี่ และแกงมัสมั่น เป็นต้น อาหารหวานได้แก่ มันเทศต้มน้ำตาล มันเทศแกงบวด มันเทศทอด มันเทศเชื่อม มันเทศกวน มันเทศฉาบมันเทศรังนก และมันเทศเผา เป็นต้น หัวมันเทศมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูง จึงใช้รับประทานแทนข้าวได้ นอกจากเป็นอาหารของมนุษย์แล้ว มันเทศยังใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์ได้อีกด้วย เช่น เป็นอาหารหมู อาหารวัว และอาหารแพะ เป็นต้นมันเทศใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ทั้งหัว เถา และใบ ทั้งยังเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมได้หลายอย่าง เช่นใช้ทำแป้ง ทำอัลกอฮอล์ ทำเหล้า และทำน้ำส้ม มันเทศเป็นพืชอาหารที่มีความสำคัญอันดับที่ ๕ ของโลกรองจากข้าวสาลี ข้าวเจ้า ข้าวโพดและมันฝรั่ง ในประเทศไทยเราแม้จะปลูกมันเทศกันทั่วๆ ไป แต่ไม่ใคร่เป็นล่ำเป็นสันเท่าใดนักเพราะเรามีข้าวเจ้าเป็นอาหารหลักอยู่แล้ว
มันเทศนับว่าเป็นพืชที่เหมาะกับดินฟ้าอากาศของประเทศไทยอย่างยิ่ง เพราะสามารถเจริญเติบโตได้ดี และให้ผลผลิตของหัวค่อนข้างสูง มันเทศปลูกได้ปีละ ๒ ครั้ง คือ ในฤดูฝนตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนมิถุนายน และอีกครั้งหนึ่งหลังฤดูฝน คือ ในราวเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายนการปลูกมันเทศก็เริ่มจากการเตรียมดินไถและพรวน ๒-๓ ครั้ง เสร็จแล้วยกร่องห่างกันประมาณ ๑ เมตรความสูงของร่องประมาณ ๕๐ เซนติเมตร แล้วตัดเถามันเทศยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตรฝังลงไปบนสันร่อง ห่างกันประมาณ ๕๐ เซนติเมตร จากนั้นก็พรวนดินและกำจัดวัชพืช ถ้าไม่ได้ปลูกในฤดูฝนก็ต้องคอยรดน้ำ มันเทศจะทอดยอดงอกงาม เมื่อคอยต่อไป ๙๐-๑๕๐ วัน หัวมันเทศก็จะแก่และขุดได้
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ประเทศต่างๆ ทั่วโลกผลิตมันเทศได้รวมกัน ๑๓๓ ล้านตัน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนผลิตได้มากที่สุด คือ ผลิตได้ ๑๑๑ ล้านตัน บราซิล ๒.๓ ล้านตัน อินโดนีเซีย ๒.๑ ล้านตัน ญี่ปุ่น ๒ ล้านตัน สาธารณรัฐเกาหลี ๑.๖ ล้านตัน สำหรับประเทศไทยในปีเดียวกันผลิตมันเทศเพียง ๒ แสน ๘ หมื่นตันเท่านั้น
ประเทศไทยเรา มันเทศสามารถขึ้นงอกงามได้ทั่วทุกภาค ภาคกลางผลิตมันเทศได้มากที่สุดภาคเหนือได้น้อยที่สุด ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ประมาณ ๑ ตันเศษ จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นจังหวัดที่มีเนื้อที่ปลูกและผลผลิตสูงสุดในประเทศ รายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อที่ปลูก ผลผลิต ผลผลิตต่อไร่เป็นรายภาค และรายจังหวัด ดังแสดงในตารางต่อไปนี้
ตารางแสดงเนื้อที่ปลูก และผลผลิตมันเทศรายภาค ปี พ.ศ. ๒๕๑๕
ตารางแสดงเนื้อที่ปลูก ผลผลิต และผลผลิตเฉลี่ยของมันเทศใน ๑๐ จังหวัด ที่ปลูกมากที่สุดในปี พ.ศ. ๒๕๑๕
อันดับ
จังหวัด
เนื้อที่ปลูก
(ไร่)
ผลผลิต
(ตัน)
ผลผลิตเฉลี่ย
(ตัน/ไร่)
๑
๒
๓
๔
๕
๖
๗
๘
๙
๑๐
พระนครศรีอยุธยา
สงขลา
นครปฐม
เพชรบุรี
เชียงใหม่
นครสวรรค์
ตรัง
เลย
ปทุมธานี
๑๕,๒๒๘
๘,๔๐๗
๘,๓๐๐
๖,๙๑๑
๖,๔๗๑
๖,๐๐๖
๕,๙๔๗
๕,๖๐๕
๕,๐๒๕
๔,๘๙๐
๑๘,๘๔๒
๑๖,๕๒๔
๗,๔๒๐
๑๕,๒๐๔
๙,๗๐๕
๙,๑๓๐
๘,๖๗๙
๗,๒๒๐
๕,๐๗๐
๖,๑๑๒
๑.๒๔๓
๒.๐๐๐
๐.๙๐๐
๒.๒๐๐
๑.๕๐๐
๑.๕๒๐
๑.๕๐๐
๑.๓๒๙
๑.๒๐๐
๑.๒๕๐
ภาค
เนื้อที่ปลูก
(ไร่)
ผลผลิต
(ตัน)
ผลผลิตเฉลี่ย
(ตัน/ไร่)
เหนือ
ตะวันออกเฉียงเหนือ
ใต้ ๖๙,๒๑๕
๑๕,๓๑๐
๓๔,๕๕๔
๔๖,๐๕๕ ๑๐๙,๘๔๐
๑๙,๖๖๑
๔๑,๗๖๒
๕๓,๙๓๑ ๑,๖๐๗
๑,๒๙๓
๑,๒๕๕
๑,๑๘๐ รวมทั้งประเทศ ๑๖๕,๑๓๔ ๒๒๔,๑๙๔ ๑,๗๘๖ มันเทศมีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่บริเวณเขตร้อนของทวีปอเมริกา แต่มันเทศที่ปลูกกันอยู่ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ไม่มีหลักฐานแน่นอนว่ามีวิวัฒนาการมาจากพืชป่าชนิดใด อย่างไรก็ดีมนุษย์ก็รู้จักปลูกมันเทศมานานนับพันปีแล้ว ในสมัยโบราณนั้นมันเทศเป็นอาหารหลักของมนุษย์สองเขต คือ พวกอินเดียนในอเมริกากลาง และบริเวณเทือกเขาแอนดีส ประเทศเปรู พวกอินเดียนทั้งสองแหล่งนี้ปลูกข้าวโพดเพื่อใช้เป็นอาหารหลัก และในขณะเดียวกันก็ปลูกมันเทศด้วย อีกเขตหนึ่ง คือ ชนเผ่าโพลิเนเชียนที่อาศัยอยู่บนหมู่เกาะต่างๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก และตอนเหนือของเกาะนิวซีแลนด์ เชื่อกันว่ามันเทศที่ชาวโพลิเนเชียนปลูกกันในสมัยก่อนนั้น นำมาจากทวีปอเมริกาในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ หลังจากชาวยุโรปค้นพบทวีปอเมริกา นักสำรวจชาวสเปนได้นำมันเทศไปสู่ประเทศสเปน จากประเทศสเปนก็แพร่ต่อไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรป
ทางด้านเอเชีย ต้นมันเทศก็ถูกนำมายังอินเดีย ฟิลิปินส์ จีน และญี่ปุ่น โดยนักสำรวจสเปนและโปรตุเกส สำหรับประเทศไทยไม่มีหลักฐานบันทึกว่าได้มีการนำมันเทศเข้ามาปลูกในสมัยใดแต่เข้าใจกันว่ามีผู้นำมันเทศมาแพร่หลายในราวสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี* เพราะมีเรือสำเภาไปมาค้าขายระหว่างประเทศจีน พวกจีนคงจะได้นำติดมือมา ตามนิสัยที่ไปอยู่ที่ไหนก็หาพันธุ์พืชไปปลูกบริโภค ในปัจจุบันมันเทศปลูกกันทั่วไปในประเทศไทย แต่ส่วนใหญ่แหล่งปลูกเป็นจังหวัดในทางภาคกลาง จังหวัดที่ปลูกมาก ได้แก่ นครศรีธรรมราชพระนครศรีอยุธยา สงขลา นครปฐม เพชรบุรีเชียงใหม่ นครสวรรค์ ตรัง เลย และปทุมธานี