การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีแนวความคิดหลักในการดำเนินงาน ดังนี้คือ
๑. มุ่งหวังให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ประกอบกันอยู่ในระบบธรรมชาติ มีศักยภาพที่สามารถให้ผลิตผลได้อย่างยั่งยืนถาวร และมั่นคง คือ มุ่งหวังให้เกิดความเพิ่มพูนภายในระบบที่จะนำมาใช้ได้ โดยไม่มีผลกระทบกระเทือน ต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ
๒. ต้องมีการจัดองค์ประกอบภายในระบบ ธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศให้มี ชนิดปริมาณ และสัดส่วนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแต่ละชนิดเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ตามธรรมชาติ เพื่อให้อยู่ในภาวะสมดุลของ
ธรรมชาติ
๓. ต้องยึดหลักการของอนุรักษ์วิทยาเป็นพื้นฐาน โดยจะต้องมีการรักษา สงวน ปรับปรุงซ่อมแซม และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติในทุกสภาพทั้งในสภาพที่ดีตามธรรมชาติ ในสภาพที่ กำลังมีการใช้และในสภาพที่ทรุดโทรมร่อยหรอ
๔. กำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการควบคุมและกำจัดของเสียมิให้เกิดขึ้นภายในระบบธรรมชาติ รวมไปถึงการนำของเสียนั้น ๆ กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างต่อเนื่อง
๕. ต้องกำหนดแนวทางในการจัดการเพื่อให้คุณภาพชีวิตของมนุษย์ดีขึ้น โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมในแต่ละสถานที่และแต่ละสถานการณ์
จากแนวคิดดังกล่าว เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น มีหลายชนิดและแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติและเอกลักษณ์ที่เฉพาะตัว ดังนั้น เพื่อให้การจัดการสามารถบรรลุเป้าหมายของแนวคิด จึงควรกำหนดหลักการจัดการหรือ แนวทางการจัดการให้สอดคล้องกับชนิดคุณสมบัติ และเอกลักษณ์เฉพาะอย่างของ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ ดังนี้
เป็น ทรัพยากรที่มีอยู่ในธรรมชาติอย่างมากมาย อาทิเช่น แสงอาทิตย์อากาศ และน้ำในวัฏจักร ทรัพยากรประเภทนี้มี
ความจำเป็นต่อร่างกายมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอย่างอื่นถ้าขาดแคลนหรือมีสิ่งเจือปนทั้งที่เป็นพิษและไม่เป็นพิษ ก็จะมีผลต่อการเจริญเติบโตและศักยภาพในการผลิตของทรัพยากรธรรมชาติ นั้น
การจัดการจะต้องควบคุมการกระทำที่จะมีผลเสียหรือเกิดสิ่งเจือปนต่อทรัพยากรธรรมชาติ ต้องควบคุมและป้องกันมิให้เกิดปัญหามลพิษจากขบวนการผลิตทั้งการเกษตร อุตสาหกรรม ที่จะมีผลต่อทรัพยากรประเภทนี้ รวมทั้งการให้การศึกษาแก่ประชาชน ทั้งผลดี-ผลเสียของการปนเปื้อน วิธีการควบคุมและป้องกัน รวมทั้งต้องมีกฎหมายควบคุมการกระทำที่จะมีผลต่อ
ทรัพยากรธรรมชาติประเภทนี้ด้วย