ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ทรัพยากรสัตว์ป่า, ทรัพยากรสัตว์ป่า หมายถึง, ทรัพยากรสัตว์ป่า คือ, ทรัพยากรสัตว์ป่า ความหมาย, ทรัพยากรสัตว์ป่า คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ทรัพยากรสัตว์ป่า

        สัตว์ป่า โดยทั่วๆ ไป เรามักจะหมายถึง เฉพาะสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ สัตว์จำพวกปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน นกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม บางคนก็หมายถึง สัตว์ที่มีกระดูกหลังที่ไม่เชื่อง หรือที่คนไม่ได้เลี้ยงเอาไว้ อย่างไรก็ตาม ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ (ฉบับล่าสุด) ได้ให้คำนิยามของ สัตว์ป่า ว่า หมายถึง สัตว์ทุกชนิดไม่ว่าสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก แมลง หรือแมงซึ่งโดยสภาพธรรมชาติย่อมเกิดและดำรงชีวิตอยู่ในป่าหรือในน้ำ และให้หมายความรวมถึงไข่ของสัตว์ป่าเหล่านั้นทุกชนิดด้วย แต่ไม่หมายความรวมถึงสัตว์พาหนะที่ได้จดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะแล้ว และสัตว์พาหนะที่ได้มาจากการสืบพันธุ์ของสัตว์พาหนะดังกล่าว
           สัตว์ป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีคุณประโยชน์ต่อมนุษย์มาตั้งแต่สมัยที่คนยังอาศัยอยู่กับธรรมชาติในป่า หรือในถ้ำ ยิ่งในสมัยปัจจุบันเมื่อมนุษย์มีความเจริญก้าวหน้าขึ้น สัตว์ป่าก็ยิ่งกลับมีบทบาทและเพิ่มความสำคัญให้แก่มนุษย์มากขึ้นเป็นลำดับ สำหรับคุณประโยชน์ของสัตว์ป่าที่มีต่อมนุษย์ในด้านต่างๆ ได้แก่

          ๑. ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การค้าสัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่าจากส่วนต่างๆ เช่น ขน เขาและหนัง เป็นต้น การค้าสัตว์ป่า จึงถือว่าเป็นอาชีพที่ทำรายได้ให้แก่ผู้ค้าอย่างงาม และมีเงินหมุนเวียนในประเทศจำนวนไม่น้อย ซึ่งคุณค่าทางเศรษฐกิจจะรวมถึงรายได้ต่างๆ จากการท่องเที่ยวในการชมสัตว์ด้วย
          ๒. การเป็นอาหาร มนุษย์เราได้ใช้เนื้อสัตว์ป่าเป็นอาหารเป็นเวลาช้านานมาแล้ว ซึ่งสัตว์ป่าหลายชนิด ก็ได้มีเลี้ยงจนกระทั่งกลายเป็นสัตว์เลี้ยงไป สัตว์ป่าหลายชนิดตามธรรมชาติคนก็ยังนิยมใช้เนื้อเป็นอาหารอยู่ เช่น หมูป่า เก้ง กวาง กระจง นกเป็ดน้ำ ตะกวด แย้ เป็นต้น รวมทั้งอวัยวะของสัตว์ป่าบางอย่าง เช่น นอแรด กะโหลกเลียงผา เขากวางอ่อน เลือดและกระเพาะต่างๆ ดีงูเห่าซึ่งคนก็นิยมดัดแปลงเป็นอาหาร หรือใช้เป็นเครื่องยาสมุนไพร และเนื่องจากปัจจุบันสัตว์ป่าได้ลดจำนวนลงอย่างมากและบางชนิดได้สูญพันธุ์หรือใกล้จะสูญพันธุ์ ดังนั้น จึงควรช่วยกันเปลี่ยนค่านิยมในการบริโภคอาหารจากสัตว์ป่า
          ๓. การนันทนาการและด้านจิตใจ สัตว์ป่าทำให้ธรรมชาติดูมีชีวิตชีวา การได้พบ ได้เห็นได้ยินเสียงสัตว์ป่าย่อมทำให้เกิดสิ่งบันดาลใจหรือดลใจ ทำให้เกิดความสุขทางจิตใจ เป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดได้อย่างดี นับเป็นคุณค่าที่ไม่สามารถประเมินเป็นตัวเงินได้โดยง่าย การท่องเที่ยวชมสัตว์ป่าในสวนสัตว์ อุทยานแห่งชาติเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และแหล่งสัตว์อื่นๆ จัดเป็นเรื่องของนันทนาการทั้งสิ้น เมื่อได้พบเห็นสัตว์ป่าแปลกๆ และสวยงาม จะทำให้รู้สึกตื่นเต้นและมีความสดชื่นดีใจ ทำให้เกิดพลังที่จะคิดสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมต่อไป
          ๔. ด้านวิทยาศาสตร์ การศึกษา และการแพทย์ การค้นคว้าทดลองในด้านวิทยาศาสตร์ที่ก่อประโยชน์ให้แก่สังคม ในปัจจุบันมีอยู่หลายสาขาวิชาที่จำเป็นต้องอาศัยสัตว์ป่าเป็นตัวทดลองทำให้นักวิทยาศาสตร์ นักการศึกษา และแพทย์ประสบผลสำเร็จในด้านการค้นคว้าทดลองต่างๆ นอกจากนั้น ยังมีการนำสัตว์ป่าไปเลี้ยงในสวนสัตว์ เพื่อให้ประชาชน นักศึกษา และนักวิทยาศาสตร์ทางธรรมชาติได้ชมและศึกษาถึงชีวิตของสัตว์ป่า ซึ่งนับว่ามีคุณประโยชน์เป็นอย่างมากเพราะเท่ากับเป็นการรักษาชนิดพันธุ์สัตว์ที่หายากบางชนิดไม่ให้ต้องถูกล่าจนสูญพันธุ์ไป และในอนาคตคนรุ่นต่อไปอาจจะได้ชมและเห็นสัตว์ป่าบางชนิดก็แต่เพียงในสวนสัตว์เท่านั้น
          ๕. เป็นตัวควบคุมสิ่งมีชีวิตอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ด้วยกันเอง เช่น ค้างคาวกินแมลง นกฮูกและงูสิงกินหนูต่างๆ นกกินตัวหนอนที่ทำลายพืชเศรษฐกิจ เป็นต้น ซึ่งเท่ากับเป็นการช่วยประหยัดเงินในการที่จะต้องนำไปใช้ในการกำจัดศัตรู ทั้งทางตรงและทางอ้อมเหล่านี้
          ๖. คุณค่าของสัตว์ป่าต่อทรัพยากรอื่นๆ สัตว์ป่ามีส่วนช่วยหลายอย่าง เช่น
              ๖.๑ ช่วยทำลายศัตรูป่าไม้ ได้แก่ ศัตรูตามธรรมชาติจำพวกโรคและแมลง ศัตรูเหล่านี้จะไม่ระบาดหากมีตัวทำลาย ซึ่งสัตว์ป่าหลายชนิดเป็นตัวกำจัดแมลง เช่น นกหัวขวานนกไต่ไม้จะกินแมลงและตัวหนอนตามลำต้นนกกินแมลงจะกินแมลงที่มาทำลายใบ ดอกและผล ตุ่น หนูผี จะกินหนอนที่มากินรากและลำต้นใต้ดิน หากไม่มีสัตว์เหล่านี้แล้ว ต้นไม้จะได้รับความเสียหายและอาจจะตายได้ในที่สุด
              ๖.๒ ช่วยขยายพันธุ์ไม้ สัตว์ป่าบางชนิดช่วยขยายพันธุ์โดยผสมเกสร เช่น นกกินปลีนกปลีกล้วย และค้างคาว เป็นต้น สัตว์ป่าเหล่านี้จะช่วยผสมเกสรดอกไม้ขณะที่กินน้ำหวานดอกไม้จากดอกหนึ่งไปยังอีกดอกหนึ่งสัตว์ป่าบางชนิด เช่น นกขุนทอง นกเงือก ลิง ค่าง กวาง กระทิง วัวแดง เป็นต้น จะกินผลไม้เป็นอาหาร แล้วคายหรือถ่ายเมล็ดออกมาตามที่ต่างๆ ที่สัตว์ท่องเที่ยวไป ซึ่งอาจจะช่วยในการกระจายเมล็ดพันธุ์ไม้ไปในที่ต่างๆ
              ๖.๓ ช่วยทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้นมูลสัตว์เกือบทุกชนิดใช้เป็นปุ๋ยได้อย่างดี เท่ากับเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน ในขณะเดียวกันเมื่อสัตว์ป่าตายลง ซากของสัตว์ป่าก็จะกลายเป็นปุ๋ยได้เช่นเดียว

ทรัพยากรสัตว์ป่า, ทรัพยากรสัตว์ป่า หมายถึง, ทรัพยากรสัตว์ป่า คือ, ทรัพยากรสัตว์ป่า ความหมาย, ทรัพยากรสัตว์ป่า คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 21

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu