ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

แบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Data Model), แบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Data Model) หมายถึง, แบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Data Model) คือ, แบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Data Model) ความหมาย, แบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Data Model) คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
แบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Data Model)

          เป็นแบบจำลองข้อมูลที่ได้รับความนิยมสูงสุด เสนอขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๓ โดยนายเท็ด  คอดด์ มีโครงสร้างข้อมูลพื้นฐานแบบเดียวกันเท่านั้นและเป็นแบบที่ง่ายด้วย คือ ตารางความสัมพันธ์ (Relation) มีลักษณะเหมือนกับโครงสร้างตารางนั่นเอง  ฐานข้อมูลหนึ่งๆ คือ  กลุ่มของตารางความสัมพันธ์  แต่ละแถวของข้อมูลในตารางหนึ่ง ๆ คือ ชุดข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน  ซึ่งอาจจะหมายถึงเอนทิตี  หรือความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตีก็ได้โดยที่ข้อมูลแต่ละแถวจะถูกเรียกว่า  ทูเปิล (Tuple)    และชื่อของแต่ละสดมภ์ (Column) นั้นจะถูกเรียกว่า คุณสมบัติ (Attribute)  ตัวอย่างระบบจัดการฐานข้อมูลที่ใช้แบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์  ได้แก่ดีบีทู  (DB2)  โอราเคิล  (Oracle)  อินฟอร์มิกซ์ (informix) ไซเบส   (Sybase)  อินเกรส  (Ingress) แอ็กเซส (Access)   อินเทอร์เบส (Interbase) เป็นต้น

          คำว่า  เค้าร่างตารางความสัมพันธ์  (Relation Schema)  ใช้สัญลักษณ์  R(A1  ,A2,....An)ประกอบด้วย  ๒  สิ่ง   คือ  ชื่อของตารางความสัมพันธ์  ซึ่งก็คือ  R  และกลุ่มของคุณสมบัติของตารางความสัมพันธ์  ซึ่งก็คือ  A1,A2,....Anส่วนคำว่า  ระดับของความสัมพันธ์  (degree  of  a  relation)  คือจำนวนคุณสมบัติทั้งหมดในตารางความสัมพันธ์  =n  ตัวอย่างของเค้าร่างความสัมพันธ์  ได้แก่ นักศึกษา  (รหัสประจำตัว,ชื่อ,นามสกุล,ที่อยู่,เบอร์โทรศัพท์, วันเกิด, ชั้นปี, เกรดเฉลี่ยสะสม)  ซึ่งมีชื่อตารางความสัมพันธ์ว่า  นักศึกษา  มีคุณสมบัติทั้งหมด  ๘  ชนิดด้วยกัน  และระดับความสัมพันธ์ของนักศึกษาคือ  ๘

          ส่วนคำว่าข้อมูลจริงของตารางความสัมพันธ์ (Relation  instance  หรือ  Relation)  หมายถึงกลุ่มข้อมูลจำนวน  m  ทูเปิล  โดยที่แต่ละทูเปิล  t = <V1,V2,....,Vn>  แต่ละ  Vi, 1 < i < n,  เป็นสมาชิกในโดเมนของ  Ai  หรือเป็นค่าพิเศษที่เรียกกันว่า  ค่าว่าง  (NULL)  ซึ่งหมายถึง  ไม่มีค่า  หรือมีค่า  แต่ยังหาค่ามาใส่ไว้ไม่ได้  มักจะนิยมเรียกเค้าร่างตารางความสัมพันธ์ว่า  อินเทนชัน  (Intension) และเรียกข้อมูลจริงว่า  เอกซ์เทนชัน  (Extension) ตัวอย่างต่อไปนี้แสดงทูเปิล  รายละเอียดต่างๆ ของตารางความสัมพันธ์  "นักศึกษา"


แบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Data Model), แบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Data Model) หมายถึง, แบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Data Model) คือ, แบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Data Model) ความหมาย, แบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Data Model) คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 25

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu