ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การเกิดดอก, การเกิดดอก หมายถึง, การเกิดดอก คือ, การเกิดดอก ความหมาย, การเกิดดอก คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การเกิดดอก

          บริเวณปลายยอดของกิ่งมีกลุ่มเซลล์ที่มีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว  กลุ่มเซลล์เหล่านี้อาจแปรรูปเป็นตาดอกหรือใบก็ได้ ในระยะแรกของการเจริญเติบโตของพืช  กลุ่มเซลล์ที่กล่าวนี้จะเจริญไปเป็นกิ่งใบ ทำให้พืชมีการเจริญเติบโตตามด้านยาวเป็นส่วนมาก  ทำให้พืชสูงใหญ่ขึ้น พอถึงอีกระยะหนึ่งจะหยุดเจริญทางกิ่งใบ  และเริ่มสร้างดอกหรือช่อดอก  ในระยะนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานของตาใบอย่างเห็นได้ชัด  กล่าวคือตาใบจะค่อยๆแบนออก  เพราะมีการเจริญทางด้านยาวน้อยมากแล้วเกิดเป็นตาดอก  ทำให้เกิดจุดกำเนินดอกขึ้นซึ่งมีลักษณะนูนขึ้นเล็กน้อย  ส่วนต่างๆ ของดอกจะเจริญจากจุดนี้
พืชบางชนิดจะออกดอกได้  ต่อเมื่อได้รับช่วงแสงวันสั้น  บางชนิดต้องการช่วงแสงวันยาวจึงจะออกดอก  แต่บางชนิดการออกดอกจะไม่ถูกกระทบกระเทือนแม้จะมีวันสั้นหรือยาว  ดังนั้นจึงมีการแบ่งพืชออกเป็น ๓ พวกโดยอาศัยความสั้นยาวของวัน (day-length) คือ
          ๑. พืชวันสั้น (short-day plant) เป็นพืชที่จะออกดอกเมื่อได้รับแสงในช่วง ๒๔ ชั่วโมง (๑ วัน) ต่ำกว่าความยาววิกฤต (critical day-length)ของพืชนั้น ตัวอย่างเช่น พืชวันสั้นชนิดหนึ่งมีความยาววันวิกฤต ๑๒ ชั่วโมง  พืชชนิดนี้จะออกดอกต่อเมื่อได้รับแสงน้อยกว่า ๑๒ ชั่วโมงในช่วง ๒๔ ชั่วโมง  และถ้าได้รับแสงมากกว่า ๑๒ ชั่วโมงในช่วง ๒๔ ชั่วโมง พืชจะไม่ออกดอก แต่จะมีการเจริญทางกิ่งใบเท่านั้น
          ๒. พืชวันยาว (long-day plant) พืชวันยาวจะออกดอกได้ต่อเมื่อได้รับแสงในช่วง ๒๔ชั่วโมงมากกว่าความยาววันวิกฤตของพืชนั้น เช่น  ผักโขมฝรั่ง (spinach) จะออกดอกได้เมื่อได้รับแสงมากกว่า ๑๓ ชั่วโมงในช่วง  ๒๔ ชั่วโมง  ฉะนั้นความยาววันวิกฤตของผักโขมฝรั่งจึงเท่ากับ ๑๓  ชั่วโมง
          ๓. พืชเป็นกลาง (day-neutral plant)  พืชกลุ่มที่สามนี้จะออกดอกได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับความสั้นยาวของวัน  กล่าวคือสามารถออกดอกได้ตามอายุถ้าหากว่ามีปัจจัยในการเกิดดอกอย่างสมบูรณ์ตัวอย่างเช่น  ข้าวโพด  มะเขือเทศ          ระยะเวลาการออกดอกติดผลของไม้ผลอาจแตกต่างกันออกไปตามชนิดพืช  และสภาพทางภูมิศาสตร์ ไม้ผลส่วนมากจะตกผลเป็นฤดูกาล  คือปีละครั้ง  ยกเว้นไม้ผลบางชนิดอาจให้ผลมากกว่า ๑ ครั้งต่อปี  เช่น  มะนาว  ส้มโอ  พุทรา  ละมุด  องุ่น เป็นต้น ตาราง ต่อไปนี้เป็นช่วงเวลาการออกดอก  อายุของผลแก่ อายุจากปลูกจนถึงตกผลและจำนวนครั้งในการตกผลโดยประมาณของไม้ผลบางชนิดในประเทศไทย

 
ชนิด
ระยะออกดอก
ระยะผลแก่ อายุผล
(เดือน)
มีผลปีละ
(ครั้ง)
อายุผล (ปี)
หมายเหตุ กิ่งตอน เมล็ด   กล้วย
  ขนุน
  เงาะ
  ชมพู่สาแหรก
  ชมพู่ต่าง ๆ
  ทุเรียน
  น้อยหน่า
  ฝรั่ง
  พุทรา
  มะขาม
  มะไฟ
  มะยม
  มะพร้าว
  มะเฟือง
  มะนาว
  มะละกอ
  มะม่วง
  มะม่วงหิมพานต์
  มะปราง
  มังคุด
  ละมุดฝรั่ง
  ละมุดไทย
  ลางสาด
  ลิ้นจี่
  ลำไย
  ลูกเนย
  ส้มแก้ว
  ส้มซ่า
  ส้มเขียวหวาน
  ส้มเกลี้ยง
  ส้มตรา
  ส้มโอ
  สับประรด
  สตรอว์เบอร์รี
  สาเก ตลอดปี
ธ.ค.-ม.ค
ม.ค.-ก.พ.
ธ.ค.-ม.ค.
ธ.ค.-ก.พ.
ธ.ค.
ก.พ.
เม.ย.-พ.ค.
มิ.ย.-ก.ค.
เม.ย.-มิ.ย.
ธ.ค.
ก.พ.
ม.ค.-ธ.ค.
เม.ย.
ก.ค.-ก.พ.
ม.ค.-ธ.ค.
ธ.ค.-ม.ค.
ม.ค.-ก.พ.
ธ.ค.-ม.ค.
ม.ค.-ก.พ.
พ.ย.-ม.ย.
ก.ค.-ส.ค.
ก.พ.
ธ.ค.-ก.พ.
ม.ค.-ก.พ.
ธ.ค.-ม.ค.
มี.ค.-เม.ย.
ก.พ.-มี.ค.
มี.ค.-เม.ย.
ก.พ.-มี.ค.
ม.ค.-ก.พ.
ก.พ.-มี.ค.
ต.ค.-ธ.ค.
ธ.ค.-ม.ค.
ธ.ค.-ม.ค. ตลอดปี
เม.ย.-พ.ค.
พ.ค.-มิ.ย.
มี.ค.-เม.ย.
มี.ค.-ม.ค.
พ.ค.-ก.ค.
มิ.ย.-ก.ค.
ส.ค.-ก.ย.
ธ.ค.-ม.ค.
ม.ค.-ก.พ.
เม.ย.-พ.ค.
มิ.ย.
ม.ค.-ธ.ค.
ส.ค.
พ.ค.-มิ.ย.
ม.ค.-ธ.ค.
เม.ย.-พ.ค.
เม.ย.-พ.ค.
เม.ย.-พ.ค.
มิ.ย.-ก.ค.
พ.ย.-ธ.ค.
ธ.ค.-ม.ค.
มิ.ย.
เม.ย.-พ.ค.
ก.ค.-ส.ค.
ก.ค.-ส.ค.
ต.ค.-พ.ย.
ส.ค.-ก.ย.
ต.ค.-พ.ค.
ส.ค.-ก.ย.
ต.ค.-ม.ค.
ก.ย.-ต.ค.
เม.ย.-พ.ค.
ม.ค.-มี.ค.
เม.ย.-พ.ค. ๓











๑๒–๑๔












๗-๘


๘-๙

๑๐




ตลอดปี
๑-๒

๑-๓
๑-๓


๑-๒
๑-๒



ตลอดปี

๑-๒
ตลอดปี




๑-๒






๑-๒



๑-๒
๑-๒

๑-๓ -




๕-๘
-





-


-

-

-












-

๓ -




๖-๘



๖-๘


๓-๗




๓-๔

๘-๑๐



๗-๑๐
๘-๑๐







-
-
๕ ใช้หน่อปลูก
































ปลูกจากไหล

 

การเกิดดอก, การเกิดดอก หมายถึง, การเกิดดอก คือ, การเกิดดอก ความหมาย, การเกิดดอก คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 5

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu