การแต่งทรงต้นและการตัดแต่งกิ่ง
การแต่งทรงต้นและการตัดแต่งกิ่ง, การแต่งทรงต้นและการตัดแต่งกิ่ง หมายถึง, การแต่งทรงต้นและการตัดแต่งกิ่ง คือ, การแต่งทรงต้นและการตัดแต่งกิ่ง ความหมาย, การแต่งทรงต้นและการตัดแต่งกิ่ง คืออะไร
การทำสวนผลไม้ เพื่อให้ได้รับความสำเร็จนั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับการเลือกชนิดและพันธุ์ไม้ที่ดีมาปลูกแล้ว ยังขึ้นอยู่กับการปฏิบัติในสวนและการดูแลรักษาอื่นๆ การตัดแต่งเป็นวิธีปฏิบัติในสวนผลไม้อย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้ ในระยะแรกๆของการปลูกไม้ผลมีความจำเป็นต้องดัดแปลงหรือบังคับให้ต้นไม้มีรูปร่าง และลักษณะตามที่ต้องการเพื่อไม่ให้เกะกะในการปฏิบัติงานสวนและเกิดผลดีในการออกดอกติดผลในเวลาต่อไป การตัดแต่งเพื่อให้ต้นไม้มีรูปทรงตามต้องการนี้เรียกว่า "การแต่งทรงต้น" (training) ซึ่งปกติจะทำในระยะ ๒-๓ ปีแรกขณะที่ต้นไม้ยังมีขนาดเล็กและอายุยังน้อยอยู่พอต้นไม้โตขึ้นจนสามารถให้ดอกผลได้แล้ว จำเป็นจะต้องตัดกิ่งของพืชออกบ้างเพื่อให้ส่วนที่เหลือทำหน้าที่ในการให้ประโยชน์เต็มที่ การปฏิบัติเช่นกรณีหลังนี้ เรียกว่า "การตัดแต่งกิ่ง" (pruning)
ต้นไม้ผลในบ้านเราส่วนมาก เป็นพวกที่ไม่ผลัดใบ (evergreen) การพักตัวแทบจะไม่มี ดังนั้นการตัดแต่งกิ่งต้นไม้ในบ้านเราส่วนมากจึงเป็นการตัดกิ่งที่ไม่ต้องการทิ้ง เช่น กิ่งแห้ง กิ่งแก่ หรือกิ่งที่เป็นโรคเพื่อเป็นการถนอมอาหารของต้นไม้ไม่ให้เสียไปโดยไม่จำเป็น การตัดแต่งกิ่งโดยทั่วไปทำกันระหว่างฤดูแล้งขณะที่การเจริญเติบโตของต้นไม้มีน้อย หรืออยู่ในระยะพักตัว ไม้เมืองหนาวส่วนมากเป็นพวกผลัดใบ (deciduous) การตัดแต่งกิ่งต้นไม้เมืองหนาวจึงควรทำในฤดูหนาวซึ่งเป็นระยะพักตัวของต้น ในระหว่างพักตัวอยู่นี้ ในลำต้นจะมีอาหารสำรองไว้มากพอสมควร พอถึงฤดูใบไม้ผลิจะมีการเจริญเติบโตอย่างมากมาย การตัดแต่งกิ่งต้นไม้เมืองหนาวจึงจำเป็นมาก เพราะนอกจากจะเป็นการลดจำนวนกิ่งอันจะช่วยป้องกันอันตรายจากความหนาวเย็นแล้ว พอถึงฤดูใบไม้ผลิ ใบหรือดอกที่แตกออกมาก็จะมีอาหารอย่างเพียงพอ และทำให้เกิดดอกมากขึ้นด้วย
การตัดแต่งกิ่งอาจทำแต่เพียงเบาบาง คือตัดกิ่งก้านออกประมาณ ๕% หรือน้อยกว่า อีกแบบหนึ่งเป็นการตัดกิ่งออกมากๆ กล่าวคือ ตัดออกประมาณ ๑๕% หรือมากกว่า ไม้ผลในบ้านเราส่วนมากควรตัดแต่งกิ่งแต่เพียงเบาบาง หรือเป็นการตัดแต่งประจำปี ยกเว้นไม้ผลบางชนิด เช่น องุ่น พุทรา เป็นต้น ชาวสวนควรทราบนิสัยการออกดอกติดผล ของไม้ผลก่อนที่จะทำการตัดแต่งกิ่ง พืชแต่ละชนิดอาจมีนิสัยในการออกดอกแตกต่างกันไป ไม้ผลบางชนิดออกดอกตามยอดกิ่ง เช่น มะม่วง ลำไย ลิ้นจี่ ส้ม และลูกเนย บางชนิดออกดอกตามกิ่งแก่ เช่น ทุเรียน ขนุน มะไฟ และมะยม การที่พืชมีนิสัยดังกล่าวนั้นเกี่ยวข้องกับตำแหน่งของตาดอกของต้นไม้แต่ละชนิดว่า เกิดอยู่ใกล้กับแหล่งอาหารและปัจจัยในการเกิดดอกเพียงใด ผู้ริเริ่มในการตัดแต่งกิ่งใหม่ๆ จำเป็นต้องรู้นิสัยของพืชนั้นๆ เพราะถ้าไปตัดเอาส่วนที่พืชจะให้ดอกออกไปเสียแล้วก็จะเกิดผลเสียหาย การตัดกิ่งออกจากต้นอาจทำได้เป็นสองลักษณะ คือ การทอนกิ่ง และการตัดกิ่งทิ้งทั้งกิ่ง การทอนกิ่งเป็นการตัดกิ่งเพื่อให้แตกยอดใหม่ การตัดจึงจำเป็นต้องเหลือตอกิ่งไว้ และควรตัดลงมาถึงตาที่อยู่ในทิศทางที่ต้องการ การตัดลงมาถึงตาที่หันเข้าหาพุ่มเป็นการตัดที่ไม่ถูกต้อง เพราะกิ่งที่เกิดใหม่จะไม่มีประโยชน์ซึ่งต้องตัดทิ้งในภายหลัง การตัดควรตัดชิดกับตา และทำเป็นปากฉลามโดยให้รอยแผลหันออกจากตา การตัดที่เหลือตอไว้ยาวๆ เหนือตานั้นจะไม่เกิดประโยชน์ บางครั้งตอจะแห้งหรือเน่าลามลงมาถึงตาด้วย สำหรับการตัดกิ่งทิ้งทั้งกิ่งหรือตัดโดยไม่ให้เหลือตอกิ่ง เป็นการตัดกิ่งที่ไม่ต้องการทิ้ง เช่น กิ่งที่หันเข้าหาพุ่มหรือหันออกจากทิศทางที่ต้องการ หรือกิ่งที่เป็นโรคตลอดจนกิ่งแห้ง เป็นต้น การตัดแบบหลังนี้จะตัดชิดกับต้นหรือชิดกับกิ่งใหญ่เลยที่เดียว
รอยแผลที่เกิดจากการตัดกิ่ง ควรให้มีผิวหน้าเรียบและเสมอเป็นหน้าเดียว การตัดกิ่งที่มีขนาดใหญ่ ยาว และมีน้ำหนักมากควรตัดด้วยความระมัดระวังเพื่อป้องกันการฉีก ควรเลื่อยด้านล่างของกิ่งให้ห่างจากลำต้น หรือกิ่งใหญ่พอสมควรให้รอยลึกประมาณ ๑ ใน ๓ ของเส้นผ่านศูนย์กลางของกิ่งเสียก่อน แล้วเลื่อยด้านบนห่างจากรอยเดิมออกไปทางชายพุ่มเล็กน้อย กิ่งก็จะหลุดออกโดยไม่ฉีก เมื่อขาดแล้วจึงค่อยทำการเลื่อยให้ชิดกับลำต้นหรือกิ่งใหญ่อีกทีหรือตัดตรงบริเวณที่ต้องการถ้าต้นไม้ได้รับการแต่งทรงต้นอย่างถูกต้องตลอดมาตั้งแต่เล็กแล้ว กิ่งใหญ่ก็จะไม่ต้องถูกตัดกิ่งที่จะต้องตัดก็เป็นเพียงกิ่งเล็กๆ เท่านั้น การรัก- ษาแผลก็อาจไม่จำเป็น อย่างไรก็ดีเมื่อต้องตัดกิ่งใหญ่ก็ควรช่วยรักษาแผลให้หายก่อนที่แผลจะเน่าหรือมีแมลงเข้าทำลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่ชุ่มชื้น และอุณหภูมิสูง แผลที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ครึ่งนิ้วขึ้นไปควรได้รับการรักษา ยาที่ใช้รักษาแผลควรใช้สารพวกปูนขาว ยางมะตอย สี น้ำมันดินฯลฯ หลังจากทาแล้วควรตรวจดูเป็นครั้งคราว อาจองทาซ้ำอีกจนกระทั่งแผลประสานกันสนิท การรักษาแผลใหญ่และลึกซึ่งอาจเกิดจากกิ่งฉีกออกจากลำต้นหรือจากการตัดแต่งที่ไม่ดี อาจทำการแก้ไขโดยตัดหรือเฉือนกิ่งที่ตายนั้นจนถึงเปลือกหรือเนื้อไม้ที่สด แล้วทาด้วยยาฆ่าราก่อนที่จะใช้ยางมะตอยหรือซีเมนต์อุด (ใช้ปูนซีเมนต์ ๑ ส่วน ทราย ๓ ส่วน) โดยอุดให้เสมอกับผิวของเปลือก
การแต่งทรงต้นและการตัดแต่งกิ่ง, การแต่งทรงต้นและการตัดแต่งกิ่ง หมายถึง, การแต่งทรงต้นและการตัดแต่งกิ่ง คือ, การแต่งทรงต้นและการตัดแต่งกิ่ง ความหมาย, การแต่งทรงต้นและการตัดแต่งกิ่ง คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!