ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ลักษณะเรือนพื้นบ้านชาวประมง(ฝั่งทะเลตะวันตก), ลักษณะเรือนพื้นบ้านชาวประมง(ฝั่งทะเลตะวันตก) หมายถึง, ลักษณะเรือนพื้นบ้านชาวประมง(ฝั่งทะเลตะวันตก) คือ, ลักษณะเรือนพื้นบ้านชาวประมง(ฝั่งทะเลตะวันตก) ความหมาย, ลักษณะเรือนพื้นบ้านชาวประมง(ฝั่งทะเลตะวันตก) คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ลักษณะเรือนพื้นบ้านชาวประมง(ฝั่งทะเลตะวันตก)

          เรือนพื้นบ้านชาวประมง (ฝั่งทะเลตะวันตก) เป็นเรือนพื้นบ้านแบบชั่วคราว ชนิดเรือนเครื่องผูก จะใช้วัสดุท้องถิ่นที่หามาได้ง่าย ๆ ในบริเวณใกล้เคียง เช่น ไม้ไผ่ แฝก ใบไม้ กก ยึดเหนี่ยวโครงสร้างด้วยหวาย สูงจากพื้นดินประมาณ ๑ เมตร มีเสา ๖ ต้น ช่วงกว้างของเรือนประมาณ ๓-๔ เมตร ยาวประมาณ ๕-๖ เมตร โครงหลังคาใช้ไม้ไผ่มุงด้วยแฝก  ตัวเรือนหันด้านหน้าออกสู่ทะเล เรือนชาวเลแบบดั้งเดิมเป็นอาคารสี่เหลี่ยมทรงโรง ไม่มีกันสาด บันไดขึ้นด้านหน้า หลังคาทรงจั่ว ต่อมาได้พัฒนาโดยต่อเติมบางส่วนของชายคาด้านข้างออกมา และต่อพื้นทำเป็นระเบียงย้ายบันไดจากด้านจั่วมาขึ้นด้านข้างซึ่งติดกับระเบียง พื้นระเบียงลดระดับต่ำกว่าพื้นห้องนอน โครงสร้างเริ่มเปลี่ยนมาใช้ไม้จริงเป็นบางอย่าง เช่น เสา คาน และตง ส่วนพื้นใช้ฟากและไม้กระดาน ฝาใช้ไม้ไผ่ขัดแตะ โดยนำเอาไม้ไผ่ไปแช่น้ำทะเลกันมอดก่อนแล้วสานเป็นลำแพนลายสอง ผิวมันเรียบสีเหลือง มีการต่อบางส่วน
ทำเป็นครัวปรุงอาหาร ซึ่งแต่เดิมนั้นไม่มี อาศัยพื้นที่ใต้ต้นไม้ใหญ่ทำครัว
         สำหรับห้องส้วมที่ใช้ขับถ่ายในชีวิตประจำวันนั้น ชาวเลจะอาศัยถ่ายลงตามดงไม้ไม่นิยมสร้างห้องส้วมไว้ในบ้าน

ลักษณะเรือนพื้นบ้านชาวประมง(ฝั่งทะเลตะวันตก), ลักษณะเรือนพื้นบ้านชาวประมง(ฝั่งทะเลตะวันตก) หมายถึง, ลักษณะเรือนพื้นบ้านชาวประมง(ฝั่งทะเลตะวันตก) คือ, ลักษณะเรือนพื้นบ้านชาวประมง(ฝั่งทะเลตะวันตก) ความหมาย, ลักษณะเรือนพื้นบ้านชาวประมง(ฝั่งทะเลตะวันตก) คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 13

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu