ข้าวที่เกิดมีขึ้นในท้องที่ต่างๆ ของโลกเรานี้แบ่งออกได้เป็น ๓ พวก คือ ออไรซา ซาไทวา (oryza sativa) มีปลูกกันทั่วไป ออไรซา แกลเบอร์ริมา (oryza glaberrima) มีปลูกเฉพาะในแอฟริกาเท่านั้น และข้าวป่าซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในประเทศต่างๆ ที่ปลูกข้าว มีด้วยกันหลายชนิด (species) แต่ที่สำคัญและควรทราบ ได้แก่ ออไรซา สปอนทาเนีย (oryza spontanea) ออไรซา เพเรนนิส (oryza perennis) ออไรซา ออฟฟิซินาลิส (oryza officinalis) และออไรซา นิวารา (oryza nivara) และเป็นที่ยอมรับกันว่า ข้าวป่าพวก ออไรซา เพเรนนิส ได้เป็นตระกูลของข้าวที่เราปลูกบริโภคกันทุกวันนี้ ซึ่งได้แก่ ออไรซา ซาไทวา และออไรซา แกลเบอร์ริมา ดังนั้น ออไรซา เพเรนนิส จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในธรรมชาติ และได้ผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาติและมนุษย์ จนกลายเป็นข้าวที่ปลูกกันทุกวันนี้ นอกจากนี้ ได้มีการเชื่อกันว่า แหล่งกำเนิดแห่งหนึ่งของข้าวอยู่ในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยด้วย
นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นได้ศึกษาเกี่ยวกับชนิดต่าง ๆ ของข้าว และสรุปว่า ข้าวพวกออไรซา ซาไทวา ซึ่งมีปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศที่ปลูกข้าวต่างๆ นั้น ยังแบ่งออกได้เป็น ๓ พวก คือ จาปอนิคา (japonica) อินดิคา (indica) และจาวานิคา (javanica) โดยยึดถือเอาลักษณะภายนอกของต้น เมล็ด และ เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบของข้าวลูกผสมระหว่างชนิดทั้งสามนี้เป็นหลัก
จาปอนิคา เป็นข้าวที่ปลูกในประเทศจีนตอนเหนือและตะวันออก ญี่ปุ่น เกาหลี และประเทศอื่นๆ ที่อยู่ในเขตอบอุ่น
อินดิคา เป็นข้าวที่ปลูกในประเทศต่างๆ ในเขตร้อน เช่น ศรีลังกา จีนตอนใต้และตอนกลาง อินเดีย อินโดนีเซีย บังกลาเทศ ไทย ฟิลิปปินส์
จาวานิคา เป็นข้าวที่พบในประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น อย่างไรก็ตามแหล่งที่ปลูกข้าวกันมากในโลกเรานี้จะอยู่ในระหว่างเส้นรุ้งที่ ๕๐ องศาเหนือ และ ๓๕ องศาใต้
ลักษณะที่สำคัญของ ข้าวอินดิคา จาปอนิคา และ จาวานิคา พอสรุปได้ดังนี้
ลักษณะที่สำคัญของข้าว
ลักษณะที่สำคัญ
ของข้าว
อินดิคา
จาปอนิคา
จาวานิคา
ใบเมล็ด
กอ
ต้น
หางของเมล็ด
ขนของข้าวเปลือก
การร่วง กว้าง สีเขียวอ่อน
ยาว ค่อนข้างแบน
แตกกอมาก
สูง อ่อน
สั้น
สั้นมาก
เมล็ดร่วงง่าย แคบ สีเขียวแก่
สั้น กลม
แตกกอปานกลาง
เตี้ย แข้ง
สั้นมาก-ยาว
ขนมาก และ ยาว
เมล็ดล่วงยาก กว้าง แข้ง สีเขียวอ่อน
กว้างหนา
แตกกอน้อย
สูง แข็ง
สั้นมาก-ยาว
ขนยาว
เมล็ดร่วงยาก
ดังนั้น พันธุ์ข้าวที่ปลูกในประเทศไทย จึงเป็นพวกอินดิคา ยกเว้นข้าวไร่ทางภาคเหนือ ซึ่งมีลักษณะบางอย่างของข้าวจาปอนิคารวมอยู่ด้วย