ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

กฎหมายตราสามดวง, กฎหมายตราสามดวง หมายถึง, กฎหมายตราสามดวง คือ, กฎหมายตราสามดวง ความหมาย, กฎหมายตราสามดวง คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 3
กฎหมายตราสามดวง

          คือ ชื่อประมวลกฎหมายโบราณของไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตจำนวน ๑๑  คน นำตัวบทกฎหมายต่างๆ ที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มาชำระ และปรับปรุงแก้ไขตัวบทกฎหมายต่างๆ ให้มีความยุติธรรมและเหมาะสมกับยุคสมัยมากขึ้น โดยโปรดเกล้าฯ ให้ชำระขึ้น และได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม  พ.ศ. ๒๓๔๗*  นอกจากจะนำกฎหมายเก่าที่ใช้กันในสมัยอยุธยามาชำระแล้ว ก็ยังได้ตรากฎหมายใหม่เพิ่มเติมอีกด้วย

          ประเทศไทยใช้กฎหมายตราสามดวงเป็นหลักในการปกครองบ้านเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จนกระทั่งไทยต้องเผชิญกับลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษในพ.ศ. ๒๓๙๘  และทำสนธิสัญญาในลักษณะเดียวกันกับชาติตะวันตกอื่นๆ  ชาติตะวันตกเหล่านั้นมีระบบกฎหมายที่แตกต่างไปจากกฎหมายของไทย  และมองว่ากฎหมายไทยป่าเถื่อน จึงเรียกร้องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตจากไทย เพื่อจะได้ไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายไทยและศาลไทย  ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงต้องเร่งรีบปฏิรูปกฎหมาย และการศาลของไทยให้เป็นที่ยอมรับของชาติตะวันตก เพื่อไทยจะได้เอกราชทางกฎหมายและการศาลคืนมา โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคณะกรรมการตรวจชำระกฎหมาย และจัดทำประมวลกฎหมายใหม่ขึ้น การชำระและการร่างกฎหมายใหม่นั้นได้กระทำอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะๆเมื่อกฎหมายลักษณะใดเสร็จ ก็ประกาศใช้ไปพลางๆ ก่อน จนใน พ.ศ. ๒๔๗๘ จึงประกาศใช้กฎหมายใหม่ได้ครบทุกลักษณะ  และกฎหมายตราสามดวงก็ได้ยกเลิกไปในที่สุด

กฎหมายตราสามดวง, กฎหมายตราสามดวง หมายถึง, กฎหมายตราสามดวง คือ, กฎหมายตราสามดวง ความหมาย, กฎหมายตราสามดวง คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 30

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu