นอกจากน้ำตาลกลูโคสแล้ว กรดอะมิโนซึ่งได้จากการย่อยอาหารประเภทโปรตีนก็จะถูกดูดสู่เส้นเลือดที่ผนังลำไส้แล้วเข้าสู่ตับทางเส้นเลือดเฮปาติค พาร์ตัลตามลำดับ เมื่อเลือดผ่านตับตับจะสกัดกรดอะมิโนจากเลือดโดยสะสมไว้ชั่วคราวก่อนแล้วจึงค่อยๆ ปล่อยออกไปทางเส้นเลือดดำเฮปาติคที่ละน้อยๆ เพื่อนำไปให้เซลล์ต่างๆ ของร่างกายเอาไปใช้สังเคราะห์เอนไซม์ ฮอร์โมน หรือสร้างโพรโทพลาซึมขึ้นมาใหม่ ส่วนกรดอะมิโนที่เหลือจะถูกตับเปลี่ยนไปเป็นน้ำตาลกลูโคส ไกลโคเจน และไขมัน เพราะร่างกายของสัตว์ไม่สามารถเก็บกรดอะมิโนหรือโปรตีนสะสมเอาไว้ได้เป็นเวลานานๆ เหมือนกับพืชจำเป็นจะต้องถูกเปลี่ยนเป็นไขมันหรือแป้งก่อนเสมอ
ในการเปลี่ยนกรดอะมิโนเป็นสารอื่นนั้น จะมีการกำจัดอนุมูล อะมิโน (NH2 ออกไปจากโมเลกุลของกรดอะมิโน ขบวนการนี้เรียกว่า ดีอะมิเนชั่น (deamination) ซึ่งจะมีการปล่อยแอมโมเนีย (NH3) ออกมา แอมโมเนียเป็นของเสียที่เป็นพิษ ตับของคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสามารถทำให้แอมโมเนียไปรวมตัวกับคาร์บอนไดออกไซด์กลายเป็นยูเรียซึ่งเป็นสารที่มีพิษน้อยกว่าได้ นักวิทยาศาสตร์พบว่าแต่ละโมเลกุลของยูเรียที่เกิดขึ้นต้องใช้ อะดิโนซีน ไทรฟอสเฟต (adenosine triphosphate หรือ ATP) ซึ่งเป็นสารที่พบอยู่ภายในเซลล์ที่มีชีวิตทั่วไป สารนี้เมื่อสลายอนุมูลฟอสเฟตออกมาแล้วจะได้เป็นอะดิโนซีน ไดฟอสเฟต หรือ ADP และพลังงานซึ่งจำเป็นสำหรับเริ่มต้นของขบวนการต่างๆ ภายในเซลล์
ยูเรียเป็นสารที่ละลายน้ำได้ดี เมื่อตับสกัดออกมาก็จะถูกเส้นเลือดดำเฮปาติค ลำเลียงไปสู่ไตเพื่อให้ไตกำจัดออกนอกร่างกาย
ตับของสัตว์พวกนกและสัตว์เลื้อยคลานที่อาศัยอยู่บนบก ซึ่งเป็นสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่ มีเอนไซม์ในร่างกายที่สามารถเปลี่ยนแอมโมเนียให้เป็นกรดยูริค ซึ่งเป็นสารประกอบที่สลับซับซ้อนกว่ายูเรียมาก แต่ก็เป็นสารที่ไม่มีพิษมากเหมือนแอมโมเนีย
ถ้าตับไม่ทำงาน หรือถูกตัดออกจากร่างกายจะไม่มีขบวนการดีอะมิเนชันและมียูเรียและกรดยูริคเกิดขึ้น จากการทดลองพบว่ากระต่ายและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนมากเมื่อมีแอมโมเนียเกินกว่า ๕ มิลลิกรัมต่อเลือด ๑๐๐ ลูกบาศก์เซนติเมตรจะตาย สำหรับสัตว์ชั้นต่ำ เช่น ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอาจทนได้มากกว่านี้ สัตว์ซึ่งขับถ่ายกรดยูริคออกมา เช่น นก และสัตว์เลื้อยคลานที่อาศัยอยู่บนบก เมื่อปัสสาวะออกมาแล้วกรดยูริคจะตกผลึกแข็งตัวในทันที เพราะกรดยูริคไม่ละลายน้ำ คนบางคนมีเมตาโบลิซึมของโปรตีนผิดปกติ ทำให้มีกรดยูริคในเลือดได้มากกว่าปกติเกิดเป็นโรคเก๊าท์ (gout) เพราะเมื่อมีกรดยูริคเกิดขึ้นมาก กรดยูริคจะเริ่มตกตะกอนตามข้อเท้า และข้อมือทำให้มีอาการบวมขึ้นตรงบริเวณข้อต่อของอวัยวะเหล่านี้ และเกิดเจ็บปวดมากถึงขนาดเดินหรือจับของอะไรไม่ได้เลย โรคชนิดนี้ไม่ค่อยพบในคนไทย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะคนไทยรับประทานอาหารประเภทโปรตีนน้อยกว่าฝรั่ง อาหารที่แสลงที่สุดของผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์ก็คือ เครื่องในสัตว์เพราะถ้ารับประทานเข้าไปจะไปเพิ่มปริมาณของกรดยูริคให้สูงมากขึ้น
ของเสียดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นแอมโมเนีย ยูเรีย หรือกรดยูริค เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วจะถูกเลือดนำไปให้อวัยวะขับถ่ายกำจัดออกไปจากร่างกายโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้เพื่อทำให้ของเหลวภายในร่างกายสัตว์อยู่ในสภาวะสมดุล และไม่เป็นพิษต่อร่างกาย
สมดุลของของเหลวในร่างกายสัตว์
สมดุลของของเหลวในร่างกายสัตว์, สมดุลของของเหลวในร่างกายสัตว์ หมายถึง, สมดุลของของเหลวในร่างกายสัตว์ คือ, สมดุลของของเหลวในร่างกายสัตว์ ความหมาย, สมดุลของของเหลวในร่างกายสัตว์ คืออะไร
สมดุลของของเหลวในร่างกายสัตว์, สมดุลของของเหลวในร่างกายสัตว์ หมายถึง, สมดุลของของเหลวในร่างกายสัตว์ คือ, สมดุลของของเหลวในร่างกายสัตว์ ความหมาย, สมดุลของของเหลวในร่างกายสัตว์ คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!