ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

หนอนเจาะสมอสีชมพู, หนอนเจาะสมอสีชมพู หมายถึง, หนอนเจาะสมอสีชมพู คือ, หนอนเจาะสมอสีชมพู ความหมาย, หนอนเจาะสมอสีชมพู คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
หนอนเจาะสมอสีชมพู

          Pink bollworm, Family Gelechidae Order Lepidoptera

          
ถิ่นแพร่ระบาด
          แพร่ระบาดทั่วทุกประเทศที่มีการปลูกฝ้าย

          ลักษณะของแมลง
          ไข่ มีลักษณะยาวรี ยาวประมาณ ๐.๕ มิลลิเมตร  กว้าง ๐.๒๕ มิลลิเมตร ไข่ใหม่ ๆ มีสีขาวแล้วเปลี่ยน  เป็นสีส้มอมแดงก่อนจะฟัก
          หนอน มี ๔ ระยะ หนอนออกใหม่ ๆ สีเหลือง  หัวสีน้ำตาลแก่ แล้วตัวจะเปลี่ยนเป็นสีขาวนวล  และหัวสีน้ำตาลดำ ในระยะที่ ๓ จะเห็นแถบสีชมพูทุกปล้อง  ทั้งส่วนบนและข้าง ๆ  ส่วนหนอนที่กินของเน่า  เช่น ดอกร่วง จะไม่มีสีชมพู หนอนโตเต็มที่ จะยาวประมาณ ๑๐-๑๒ หรือ อาจถึง ๑๕ มิลลิเมตร
          ดักแด้  ยาว  ๗-๑๐ มิลลิเมตร กว้าง ๒.๕-๓ มิลลิเมตร สีน้ำตาล ผิวปกคลุมด้วยขน  เมื่อดูด้วยกล้องขยาย ส่วนท้ายจะมีตะขอยื่นออกมารอบ ๆ  ขนเป็นรูปตะขอ
          ตัวแก่ ผีเสื้อขนาดเล็กยาวประมาณ ๘-๙ มิลลิเมตร  ปีกเมื่อกางกว้าง  ๑๕-๒๐  มิลลิเมตร  สีน้ำตาลปนเทา  มีลายและจุดดำอยู่ทั่วตัว  ปลายปีกคู่หน้าและรอบปีกคู่หลังมีขนขาวเป็นพู่สีเทา

          ชีวประวัติและนิสัย
          แมลงวางไข่ใบเดียว  หรือบางครั้งเป็นกลุ่มเล็ก ๆ  บนส่วนต่างๆ ของพืช  เช่น ก้านใบ ก้านดอก ปลายของตา ใต้ใบระหว่างเส้นใบ ตาดอก และใบเลี้ยงของสมอ
          หนอนที่เพิ่งฟักจะเสาะหาตาดอกหรือสมอที่ใกล้ที่สุด เพื่อจะฝังตัวลงในสมอ  โดยเจาะเข้าที่ฐานของสมอ เกิดเป็นรูเล็กๆ แลเห็นได้ยาก ตลอดชีวิตหนอน  จะอยู่ในปี้หรือสมอเดียว  นอกจากดอกร่วงมันจะไปเจาะดอกอื่น ในดอกมักจะพบหนอนชักใยยึดกลีบดอกไว้ไม่ให้ดอกบาน  เรียกดอกเช่นนี้ว่า โรเซตต์ (rosette)  เมื่อคลี่ออกจะพบหนอนกัดกินเกสรดอกอยู่หรือเจาะลงไปกินรังไข่ ในสมอขนาดโตหนอนจะกินเมล็ดอ่อน
          หนอนตัวโตเต็มที่จะเจาะสมอเป็นรูกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๒ มิลลิเมตร  ผ่านเปลือกสมอและทิ้งตัวลงดิน  เข้าดักแด้ตามเศษพืชแห้ง หรืออาจะเข้าดักแด้ในเส้นใยฝ้าย ถ้าสมอแตกก่อนที่หนอนจะลงดิน  การเข้าดักแด้  หนอนจะทำรังด้วยใยบางๆ หุ้ม   ดักแด้ในบางกรณีหนอนเต็มวัยจะพัก (diapause) ตัว  โดยหนอนจะทำรังแน่นหนาแล้วหนอนจะพักนิ่ง  ไม่กินอาหารและไม่เข้าดักแด้  เป็นเวลา  ๒-๓ สัปดาห์ถึงหลายๆ เดือน อาจกว่า ๖ เดือน จึงเข้าดักแด้ การพักตัวเกิดขึ้นกับหนอนที่กินสมอแก่ คือ ขณะที่หนอนโตเต็มที่และเมล็ดฝ้ายแก่พร้อมกัน ที่ที่หนอนพักตัวธรรมดามักอยู่ในเปลือกเมล็ด  หนอนเจาะเข้าในเมล็ดแล้วมักปิดด้วยเส้นใย หนอนพักตัวนี้จะติดมากับปุยฝ้ายที่เก็บเกี่ยวแล้วจากไร่ เข้าดักแด้ออกเป็นตัวในโกดังเก็บฝ้าย

          ชีพจักร

          ตัวเมียตัวหนึ่งวางไข่ ๑๒๐-๓๖๙ ฟอง เฉลี่ย ๒๕๔  ฟอง 
          ระยะไข่ ๕ วัน  
          ระยะหนอน ๑๒ วัน   
          ระยะก่อนเข้าดักแด้และเข้าดักแด้ ๑๑ วัน   
          ผีเสื้ออาจอยู่ในโกดังฝ้าย ๑๐-๒๐ วัน 

          พืชอาศัย
          กระเจี๊ยบ ปอแก้ว

          ลักษณะการทำลายและความเสียหาย
          ตาดอกและดอก  เมื่อถูกหนอนเจาะกินจะร่วง สมอถูกทำลาย ความเสียหายที่ได้รับจะมากหรือน้อยขึ้น  อยู่กับขนาดของสมอและจำนวนหนอน ซึ่งบางครั้งพบถึง ๘ ตัวในสมอเดียว ถ้าสมอยังเล็กเนื้อข้างในอาจะถูกทำลายหมด แต่ถ้าสมอโตอาจถูกทำลายบางส่วนเท่านั้น  หนอนจะทำทางเดินระหว่างเมล็ดในสมอฝ้าย เมื่อผ่าออกดูจะเห็นได้ชัด
          ในบ้านเราหนอนชนิดนี้พบบ้างเพียงเล็กน้อยในต้นฤดูฝ้าย  แต่จะเพิ่มการระบาดเมื่อหมดฝน หรือตอนที่ฝ้ายเริ่มแตกปุยแล้ว ความเสียหายจึงไม่ค่อยรุนแรงนัก

หนอนเจาะสมอสีชมพู, หนอนเจาะสมอสีชมพู หมายถึง, หนอนเจาะสมอสีชมพู คือ, หนอนเจาะสมอสีชมพู ความหมาย, หนอนเจาะสมอสีชมพู คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 3

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu