ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ฝ้าย, ฝ้าย หมายถึง, ฝ้าย คือ, ฝ้าย ความหมาย, ฝ้าย คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ฝ้าย

          เสื้อผ้าอาภรณ์ที่เราใช้เป็นเครื่องหุ้มห่อร่างกาย  เพื่อให้รอดพ้นจากความร้อนหนาวของธรรมชาติอยู่ในขณะนี้ ส่วนใหญ่ทำขึ้นจากเส้นใยฝ้าย ในสมัยก่อนที่วิทยาศาสตร์ยังไม่เจริญ  มนุษย์ทำเสื้อผ้าขึ้นจากเส้นใยธรรมชาติที่ได้จากพืชและสัตว์  เส้นใยจากพืช  ได้แก่  เส้นใยฝ้าย เส้นใยจากเปลือกต้นไม้  ได้แก่ ป่าน ปอ  ลินิน และเส้นใยจากสัตว์ ได้แก่ ขนสัตว์ เช่น ขนแกะ  และใยไหม ต่อมาเมื่อวิทยาศาสตร์เจริญขึ้น จึงมีผู้คิดทำเส้นใยเทียมหรือเส้นใยประดิษฐ์ เช่น เรยองเทโทรอน  โพลีเอสเทอร์ อย่างไรก็ตาม เสื้อผ้าที่ทำจากฝ้ายก็ยังเป็นที่นิยม  เพราะสวมใส่สบายให้ความอบอุ่น  การซึมซับและการถ่ายเทอากาศดีกว่าเส้นใยประดิษฐ์ แม้การผลิตเส้นใยประดิษฐ์จะเจริญก้าวหน้าไปเพียงใดก็ตาม แต่เสื้อผ้าที่ผลิตจากฝ้ายก็ยังมีปริมาณไม่ต่ำกว่า  ครึ่งหนึ่งของทั้งหมด ฝ้ายจึงเป็นพืชที่มีความสำคัญต่อมนุษย์เสมอมา
          คนไทยรู้จักปลูกฝ้ายเพื่อทอผ้ามาเป็นเวลาหลายร้อยปี ดังปรากฏในสุภาษิต ชาวสุโขทัย  และวรรณคดีสมัยอยุธยา จากหลักฐานที่มีอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์  ปรากฏว่า  ประเทศไทยเริ่มส่งเสริมให้มีการปลูกฝ้ายตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๕๓ ในสมัยนั้นประเทศไทยไม่มีอุตสาหกรรมสิ่งทอเอง จึงส่งเสริมเพียงให้ปลูกเพื่อส่งขายเป็นสินค้าออกและใช้ในครัวเรือน พันธุ์ฝ้ายสมัยนั้นก็เป็นฝ้ายพื้นเมือง  (Gossypium  arboreum) ซึ่งปุยหยาบและสั้น  จนกระทั่งมาถึงปี พ.ศ. ๒๔๗๘ กระทรวงกลาโหมได้ตั้งโรงหีบฝ้ายและโรงงานปั่นด้ายขึ้น จึงได้เริ่มส่งเสริมฝ้ายกันขึ้นอีก  โดยนำพันธุ์ฝ้ายที่มีคุณภาพดี (Gossypium hirsutum)   จากต่างประเทศเข้ามาทดลองปลูก  ฝ้ายพันธุ์ที่ส่งเสริมให้กสิกรปลูกสมัยแรก  ได้แก่ ฝ้ายพันธุ์เขมร แต่ก็ยังปลูกกันไม่มากนัก จนกระทั่งมาถึงระยะหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒   รัฐบาลได้ส่งเสริมอุตสาหกรรมสิ่งทอขึ้นในประเทศ  ซึ่งได้เจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว  ความต้องการฝ้ายก็มีมากขึ้น ในระยะเดียวกันนี้การปลูกฝ้ายได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจังตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ซึ่งในระยะนั้นประเทศไทยผลิตฝ้ายได้ปีละประมาณ  ๓,๐๐๐  ตัน  และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๑-๒๕๑๒  ก็สามารถผลิตฝ้ายที่มีคุณภาพดีได้ถึง ๓๖,๐๐๐ ตัน  ต่อมาผลิตผลฝ้ายเริ่มลดลง  เพราะมีโรคและแมลงศัตรูระบาดมาก จนในปี  พ.ศ.  ๒๕๑๖ ผลิตฝ้ายได้เพียงประมาณ ๘,๐๐๐ ตัน แต่ความต้องการของอุตสาหกรรมในประเทศมีมากถึงปีละกว่า ๖๐,๐๐๐ ตัน  ฉะนั้น ในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ประเทศไทยจึงต้องสั่งฝ้ายจากต่างประเทศเข้ามาป้อนโรงงานประมาณ  ๘๕,๐๒๗ ตันเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า ๑,๓๔๖ ล้านบาท ฉะนั้น ฝ้ายจึงเป็นพืชที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมาก          มนุษย์ได้ใช้ฝ้ายในการทำเสื้อผ้าเป็นเครื่องนุ่งห่มมานานแล้ว  แต่ในสมัยก่อนที่วิทยาศาสตร์ยังไม่เจริญ  มนุษย์ก็ใช้ประโยชน์จากฝ้ายเฉพาะแต่เส้นใยเท่านั้น  ส่วนอื่นของฝ้าย เช่น เมล็ดก็ทิ้งไป ต่อมาเมื่อวิทยาศาสตร์เจริญขึ้น  มนุษย์จึงได้คิดค้นหาประโยชน์จากเมล็ดฝ้ายได้อีกมากมาย
          สมอฝ้ายหรือผลฝ้ายนั้น  เมื่อแก่เปลือกของสมอจะแตกบานออก ปุยฝ้ายซึ่งอยู่ภายในจะพองฟูออกมา  การเก็บเกี่ยวฝ้าย เขาเก็บจากปุยฝ้ายที่โผล่ออกมาจากสมอซึ่งเรียกว่า ฝ้ายทั้งเมล็ดหรือฝ้ายดอก (seed cotton) ต่อไปจึงนำไปแยกเอาเส้นใยฝ้ายหรือปุย (lint หรือ fiber) กับเมล็ด (seed) ออกจากกัน  ซึ่งเรียกว่า  "หีบฝ้าย" โดยทั่วไปเมื่อหีบแล้วจะได้ปุย ๑ ส่วน เมล็ด ๒ ส่วนโดยน้ำหนัก เปอร์เซ็นต์ของปุยอาจมีสูงต่ำกว่านี้บ้าง ฝ้ายอเมริกันอัพแลนด์โดยมากจะมีน้ำหนักของปุยร้อยละ ๓๒-๔๕ ของฝ้ายดอก
          ส่วนฝ้ายซีไอแลนด์หรืออเมริกันอียิปเชียนจะมีน้ำหนักของปุยร้อยละประมาณ ๒๗-๒๘ ของฝ้ายดอก

ฝ้าย, ฝ้าย หมายถึง, ฝ้าย คือ, ฝ้าย ความหมาย, ฝ้าย คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 3

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu