ตุ๊กตาตามความเชื่อพื้นบ้าน
ตุ๊กตาตามความเชื่อพื้นบ้าน, ตุ๊กตาตามความเชื่อพื้นบ้าน หมายถึง, ตุ๊กตาตามความเชื่อพื้นบ้าน คือ, ตุ๊กตาตามความเชื่อพื้นบ้าน ความหมาย, ตุ๊กตาตามความเชื่อพื้นบ้าน คืออะไร
ตุ๊กตาประเภทนี้มักประดิษฐ์ง่ายๆ ด้วยฝีมือชาวบ้าน และใช้ในเชิงไสยศาสตร์ เช่น
เป็นตุ๊กตาที่ประดิษฐ์ขึ้นหรือซื้อหามา "แก้บน" หลังจากการบนบานศาลกล่าวขอร้องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยโดยให้คำมั่นสัญญาว่าจะให้สิ่งของตอบแทน ถ้าช่วยให้สิ่งที่ขอร้องนั้นเป็นผลสำเร็จ ซึ่งเมื่อเป็นผลสำเร็จตามที่ขอไว้ ผู้ทีบน บานก็จะมาแก้บนตามสัญญาที่ให้ไว้
ตุ๊กตาแก้บนที่เห็นมากก็คือตุ๊กตาที่ใช้แก้บนเทวดาเจ้าที่หรือพระภูมิเจ้าที่ที่สถิตบนศาลพระภูมิหรือศาลเพียงตาที่สร้างไว้ในบริเวณบ้าน ผู้บนมักจะบนไว้ด้วยละครโดยบ่งจำนวนโรง โรงละครนั้นทำง่ายๆ และวิวัฒนาการไปตามสมัย ในสมัยโบราณมักปั้นตัวละครด้วยดินสอพอง (ประกอบง่ายๆ ในโรงโปร่ง) มีจำนวน ๓ ตัว คือ พระ นาง และตัวรับใช้ชาย ในปัจจุบันมักทำด้วยเครื่องปั้นดินเผา ใช้สีทาบ้านระบายเป็นเสื้อผ้า ละครที่แก้บนนี้ทำแทนละครชาตรี ผู้ที่มีเงินจ้างละครชาตรี จะจ้างให้มาแสดงจริงๆ ไม่ใช้ตุ๊กตา ในการบนตุ๊กตาชุดนี้จะนับจำนวนโรงว่าถ้าสมหวังจะแก้บนด้วยตุ๊กตาละครกี่โรง ส่วนมากจะบนตั้งแต่ ๒ โรงขึ้นไป บางทีใช้ช้างไม้แก้บน ซึ่งส่วนมากจะถวายท้าวมหาพรหม นอกจากแก้บนด้วยตุ๊กตาละครและช้างแล้ว ยังมีม้าดินเผาหรือม้าปูนปั้นแก้บนได้อีกด้วย
ตุ๊กตาตามความเชื่อพื้นบ้าน, ตุ๊กตาตามความเชื่อพื้นบ้าน หมายถึง, ตุ๊กตาตามความเชื่อพื้นบ้าน คือ, ตุ๊กตาตามความเชื่อพื้นบ้าน ความหมาย, ตุ๊กตาตามความเชื่อพื้นบ้าน คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!