ละครที่ได้รับวัฒนธรรมตะวันตก
ละครที่ได้รับวัฒนธรรมตะวันตก, ละครที่ได้รับวัฒนธรรมตะวันตก หมายถึง, ละครที่ได้รับวัฒนธรรมตะวันตก คือ, ละครที่ได้รับวัฒนธรรมตะวันตก ความหมาย, ละครที่ได้รับวัฒนธรรมตะวันตก คืออะไร
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ วัฒนธรรมทางนาฏศิลป์ของตะวันตกได้แพร่หลายเข้ามาในประเทศไทย ทำให้เกิดละครแบบต่างๆ ขึ้น เช่น ละครดึกดำบรรพ์ ที่กล่าวมาแล้ว แต่ละครดึกดำบรรพ์ ยังคงใช้ท่ารำของไทยเป็นหลัก ยังถือได้ว่าเป็นนาฏศิลป์ของไทยอย่างสมบูรณ์ ส่วนละครที่นำแบบของตะวันตกมาใช้จริงๆ ก็คือ ละครที่ไม่ใช้ท่ารำเลย ใช้แต่กิริยาท่าทางของคนธรรมดาสามัญที่เราปฏิบัติกันอยู่เท่านั้น เช่น ละครร้อง ละครพูด ละครพูดสลับลำ และละครสังคีต
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงสำเร็จการศึกษาจากยุโรป เสด็จกลับมาประทับ ณ พระราชวังสราญรมย์ ได้ทรงนำเอาแบบการแสดงละครของยุโรปมาแปลงให้เป็นการแสดงของไทยอย่างหนึ่ง ละครแบบนี้เรียกว่า ละครพูด
ละครพูด เป็นละครที่แสดงบนเวที เปลี่ยนฉากเป็นสถานที่ตามเนื้อเรื่อง
การแต่งตัว แต่งตามสภาพเป็นจริงของเรื่อง
การดำเนินเรื่อง ดำเนินด้วยคำพูด และการปฏิบัติของตัวละคร
การพูด ใช้คำพูดอย่างธรรมดาสามัญชน แต่อาจเน้นในอารมณ์บางอย่างให้เด่นขึ้น เพื่อให้ผู้ชมเข้าใจชัดเจน
กิริยาท่าทาง ใช้กิริยาท่าทางอย่างสามัญชน
เรื่องที่แสดง เป็นเรื่องชีวิตของธรรมดาสามัญชนอย่างนวนิยาย เช่น พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖ เรื่อง หัวใจนักรบ ชิงนาง เห็นแก่ลูก เป็นต้น
ดนตรี ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม บรรเลงเวลาปิดฉากเท่านั้น
ละครที่ได้รับวัฒนธรรมตะวันตก, ละครที่ได้รับวัฒนธรรมตะวันตก หมายถึง, ละครที่ได้รับวัฒนธรรมตะวันตก คือ, ละครที่ได้รับวัฒนธรรมตะวันตก ความหมาย, ละครที่ได้รับวัฒนธรรมตะวันตก คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!