อิทธิพลศิลปะตะวันตกในจิตรกรรมไทยแบบประเพณี
อิทธิพลศิลปะตะวันตกในจิตรกรรมไทยแบบประเพณี, อิทธิพลศิลปะตะวันตกในจิตรกรรมไทยแบบประเพณี หมายถึง, อิทธิพลศิลปะตะวันตกในจิตรกรรมไทยแบบประเพณี คือ, อิทธิพลศิลปะตะวันตกในจิตรกรรมไทยแบบประเพณี ความหมาย, อิทธิพลศิลปะตะวันตกในจิตรกรรมไทยแบบประเพณี คืออะไร
จิตรกรรมไทยแบบประเพณี มีหลักฐานเห็นได้ตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่ที่มีปรากฏเป็นงานชิ้นสำคัญนั้นเป็นจิตรกรรมตั้งแต่สมัยอยุธยา หลักฐานของจิตรกรรมฝาผนังที่คงอยู่และศึกษาได้ในปัจจุบันหาชมได้จากจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัตนโกสินทร์ตามโบสถ์วิหารต่างๆ ซึ่งมีวิวัฒนาการตามลำดับ มีความแตกต่างกันบ้างในลักษณะสีและองค์ประกอบ ตลอดจนรายละเอียดในภาพ
การเขียนภาพจิตรกรรมแบบประเพณีของไทย เริ่มมีการนำเทคนิคของการเขียนภาพแบบตะวันตกเข้ามาใช้ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ผู้ที่เริ่มนำเทคนิคของการเขียนภาพแบบตะวันตกมาใช้เป็นท่านแรกคือ พระอาจารย์อินโข่ง หรือที่เรียกติดปากกันทั่วไปว่า ขรัวอินโข่ง ท่านเป็นจิตรกรที่บวชเป็นพระ จำพรรษาอยู่ที่วัดราชบูรณะ ขรัวอินโข่งเป็นผู้ริเริ่มพัฒนาแนวทางการเขียนภาพจิตรกรรมไทยแบบประเพณี โดยนำเอากฎเกณฑ์ทางทัศนียวิทยาเข้ามาใช้แสดงระยะใกล้-ไกล และแสดงบรรยากาศในภาพจิตรกรรมด้วยการใช้แสงเงาและสี ทั้งยังนำเอาลักษณะของการจัดองค์ประกอบและลักษณะตึกรามบ้านช่องแบบตะวันตกเข้ามาใช้ในภาพเขียนนอกจากนั้นลักษณะภาพเขียนของขรัวอินโข่ง ยังแสดงถึงบรรยากาศบางลักษณะของสภาพภูมิอากาศของตะวันตกอีกด้วย
การเขียนภาพจิตรกรรมบนกระดาษหรือผ้าใบ ในลักษณะริเริ่มเท่าที่ปรากฏมีหลักฐานนั้นเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยจะศึกษาตัวอย่างงานได้จากจิตรกรรมสีน้ำของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (เริ่มมีผลงานปรากฏในสมัยรัชกาลที่ ๖) ภาพเขียนสีน้ำมันของพระสรลักษณ์ลิขิต (เริ่มมีผลงานปรากฏในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๖) ซึ่งเขียนภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ของรัชกาลที่ ๒ และภาพเขียนของพระยาอนุศาสน์จิตรกร (เริ่มมีผลงานปรากฏในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๗)
อิทธิพลศิลปะตะวันตกในจิตรกรรมไทยแบบประเพณี, อิทธิพลศิลปะตะวันตกในจิตรกรรมไทยแบบประเพณี หมายถึง, อิทธิพลศิลปะตะวันตกในจิตรกรรมไทยแบบประเพณี คือ, อิทธิพลศิลปะตะวันตกในจิตรกรรมไทยแบบประเพณี ความหมาย, อิทธิพลศิลปะตะวันตกในจิตรกรรมไทยแบบประเพณี คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!