สารกัมมันตรังสี
สารกัมมันตรังสี, สารกัมมันตรังสี หมายถึง, สารกัมมันตรังสี คือ, สารกัมมันตรังสี ความหมาย, สารกัมมันตรังสี คืออะไร
บรรยากาศของโลกทั่วไป จะมีสารกัมมันตรังสีอยู่ตามธรรมชาติบ้างแล้วในปริมาณต่ำ เมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเจริญขึ้นจึงได้นำสารกัมมันตรังสีมาใช้ในอุตสาหกรรมอาวุธ โรงงานไฟฟ้า การถนอมอาหาร และฆ่าเชื้อโรคในอุปกรณ์การแพทย์ การรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีสู่สิ่งแวดล้อมและปนเปื้อนอาหาร อาจเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะการระเบิดของโรงไฟฟ้าที่ใช้สารกัมมันตรังสีเป็นเชื้อเพลิง จะทำให้เกิดการฟุ้งกระจายของสารนี้ไปไกลมาก เช่น กรณีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เชอร์โนบิลล์ สหภาพโซเวียต ระเบิดใน พ.ศ.๒๕๒๙ ตรวจพบฝุ่นกัมมันตรังสีกระจายไปยังประเทศแถบยุโรปและเอเชีย มีสารกัมมันตรังสีหลายชนิดปนเปื้อนน้ำ พืชผัก ทุ่งหญ้าซึ่งเป็นอาหารสัตว์ ทำให้ปนเปื้อนนมด้วย สารกัมมันตรังสีบางชนิด เช่น สารไอโอดีน สลายตัวได้เร็ว บางชนิดเช่น ซีเซียม สลายตัวช้า การหุงต้มไม่ทำให้สารนี้สลายตัว การตั้งโรงไฟฟ้าที่ใช้สารกัมมันตรังสีจึงต้องพิจารณาสถานที่ตั้งอุปกรณ์ระบบความปลอดภัยอย่างถี่ถ้วน ตลอดจนต้องมีเจ้าหน้าที่ซึ่งมีความรู้เป็นอย่างดี เป็นผู้ควบคุมและดำเนินการและต้องมีการตรวจสอบการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีในสิ่งแวดล้อมและในอาหารอย่างต่อเนื่อง
มักมีผู้เข้าใจผิดอยู่เสมอเรื่อง "สารกัมมันตรังสีในอาหาร" กับ "อาหารฉายรังสี" กรณีแรกหมายถึงสภาพที่อาหารนั้นถูกปนเปื้อนด้วยสารกัมมันตรังสี ส่วนกรณีที่ ๒ หมายถึงการนำอาหารไปผ่านรังสี ซึ่งเปล่งจากต้นกำเนิดรังสีบางชนิดเช่น สารกัมมันตรังสีเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเพื่อถนอมอาหาร การฉายรังสีอาหารไม่ทำให้มีสารกัมมันตรังสีปนเปื้อนอาหารนั้น อาหารที่จะนำมาฉายรังสีต้องศึกษาว่าควรใช้รังสีเท่าใดจึงจะเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และชนิดของอาหาร
สารพิษที่ปนเปื้อนอาหารที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด เป็นส่วนหนึ่งของสารพิษที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมสกปรกจึงปนเปื้อนเข้าสู่อาหาร ยังมีสารพิษในอาหารอีกมากซึ่งอาจเกิดตามธรรมชาติของอาหารนั้นเอง เช่น น้ำมันเมล็ดนุ่นและเมล็ดฝ้ายดิบ จะมีสารพิษปนอยู่บ้าง แต่เมื่อนำมาทำให้สะอาดบริสุทธิ์ตามวิธีทางอุตสาหกรรม สารพิษนั้นจะหมดไป แต่บางชนิด เช่น เห็ดพิษ จะไม่ถูกทำลายด้วยความร้อนที่ใช้หุงต้ม จึงไม่ควรเก็บเห็ดที่มีลักษณะแปลก และ ไม่เคยรู้จักมารับประทานและยังมีสารพิษที่เป็นวัตถุเจือปนอาหารและสารพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิตอาหารอีกหลายชนิด
เมื่อร่างกายได้รับสารพิษ จะมีกลไกกำจัดสารพิษ เช่น เปลี่ยนสภาพทางเคมีของสารนั้นให้เป็นสารอื่นซึ่งหมดความเป็นพิษ แล้วขจัดออกทางปัสสาวะ อุจจาระ และเหงื่อ
การป้องกันและลดปัญหาสารพิษจากสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่รัฐและประชาชนจะต้องร่วมมือกัน ในส่วนของรัฐจะต้องควบคุมดูแลให้โรงงานอุตสาหกรรมและชุมชนมีการจัดการขยะของเสียและน้ำเสียที่ถูกวิธีก่อนปล่อยออกสู่ท่อน้ำทิ้งสาธารณะ มีการติดตามตรวจสอบความปลอดภัยของอาหารอย่างสม่ำเสมอ เผยแพร่ข่าวสารให้ความรู้แก่ประชาชน สำหรับประชาชนทั่วไปต้องให้ความร่วมมือปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลชุมชน ให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องสารพิษต่างๆ ให้ทราบสาเหตุแหล่งที่มาเพื่อให้สามารถเลือกซื้ออาหาร และหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีโอกาสเสี่ยงต่อสารพิษได้ถูกต้อง ในกรณีที่เป็นผู้ผลิตหรือจำหน่ายอาหารต้องระมัดระวังการเลือกซื้อวัตถุดิบ ควบคุมการผลิตให้ถูกลักษณะทุกขั้นตอน และให้ข้อมูลที่ตรงความจริงต่อผู้บริโภคตามที่กฎหมายกำหนด
สารกัมมันตรังสี, สารกัมมันตรังสี หมายถึง, สารกัมมันตรังสี คือ, สารกัมมันตรังสี ความหมาย, สารกัมมันตรังสี คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!