ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ลักษณะบังคับของร้อยกรองที่ควรสังเกต, ลักษณะบังคับของร้อยกรองที่ควรสังเกต หมายถึง, ลักษณะบังคับของร้อยกรองที่ควรสังเกต คือ, ลักษณะบังคับของร้อยกรองที่ควรสังเกต ความหมาย, ลักษณะบังคับของร้อยกรองที่ควรสังเกต คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 2
ลักษณะบังคับของร้อยกรองที่ควรสังเกต

          ลักษณะบังคับของร้อยกรองที่ควรสังเกตมี ๙ ประการ ดังที่จะเขียนเป็นกลอนให้จำง่ายดังต่อไปนี้

          ลักษณะบังคับของร้อยกรองนั้น      นับเป็นสิ่งสำคัญควรศึกษา
    หนึ่งคณะสองพยางค์วางแบบมา       สามสัมผัสไพเราะพาให้เพลินใจ
    สี่ครุ ลหุใช้เมื่อแต่งฉันท์                     ยามประพันธ์ความคิดจิตแจ่มใส
    ห้าเอกโทโคลงทุกบทกำหนดใช้        หกคำเป็น คำตายให้ถูกแบบบรรพ์
    เจ็ดเสียงวรรรณยุกต์นั้นผันถูกต้อง    แปดคำนำไม่บกพร่องมีพร้อมสรรพ์
    เก้าคำสร้อยจำไว้ให้ครบครัน              คนขยันแต่งดีมีคนชม
                                                                                                 ฐ.น.

          ต่อไปนี้จะชี้แจงว่า แต่ละคำหรือแต่ละลักษณะมีความหมายอย่างไร          ในการแต่งร้อยกรองเราถือว่าพยางค์ ก็คือคำนั่นเอง ร้อยกรองแต่ละชนิดจะมีการกำหนดไว้แน่นอนว่า วรรคหนึ่งมีกี่พยางค์ ในร้อยกรองประเภทฉันท์ มีการกำหนดพยางค์เคร่งครัดกว่าร้อยกรองประเภทอื่น ๆ กล่าวคือ  พยางค์  หมายถึงเสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ บางทีก็มีความหมายต่าง ๆ เช่น มี  น้ำ  ใน  นา แต่บางทีบางพยางค์ก็ไม่มีความหมาย เช่นคำว่า กุสุมา ถือว่ามี ๓ พยางค์ อ่าน กุ-สุ-มา  สรณ - อ่าน สะ-ระ-นะในที่ที่ต้องการลหุ ก็ถือว่ามี ๓ พยางค์ ฉะนั้นผู้แต่งต้องใช้ความสังเกตให้ดีเมื่อจะนับพยางค์ในฉันท์

ลักษณะบังคับของร้อยกรองที่ควรสังเกต, ลักษณะบังคับของร้อยกรองที่ควรสังเกต หมายถึง, ลักษณะบังคับของร้อยกรองที่ควรสังเกต คือ, ลักษณะบังคับของร้อยกรองที่ควรสังเกต ความหมาย, ลักษณะบังคับของร้อยกรองที่ควรสังเกต คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 17

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu