พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานช่าง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานช่าง, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานช่าง หมายถึง, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานช่าง คือ, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานช่าง ความหมาย, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานช่าง คืออะไร
พระราชจริยวัตรในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับงานช่างมีความสมบูรณ์ ในบทพระราชทานสัมภาษณ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในรายการ “พูดจาประสาช่าง” ทางสถานีวิทยุจุฬาฯ ซึ่งรองศาสตราจารย์ ดร.มนู วีระบุรุษ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และรองศาสตราจารย์ดร.วิชา จิวาลัย หัวหน้าภาควิศวกรรมสำรวจคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ขอพระราชทานสัมภาษณ์ มีความในส่วนที่เกี่ยวกับการทรงงานช่างตอนหนึ่งรับสั่งว่า
“เท่าที่สังเกตมาตั้งแต่ยังจำความได้ เห็นท่านทำงานช่างอยู่หลายอย่าง ท่านเคยเล่าให้ฟังว่าเมื่อตอนเด็กๆ นั้น ท่านก็มีความสนพระทัยในงานช่างมาก แล้วก็ตอนท่านเล็กๆ สมเด็จย่าเลี้ยงท่านอย่างค่อนข้างจะเข้มงวด คือ แม้แต่ของเล่นมากมาย สำเร็จรูปอย่างฟุ่มเฟือยเหมือนอย่างเด็กๆ สมัยนี้...อย่างเช่น ท่านอยากได้วิทยุมาฟัง ท่านก็ต้องเข้าหุ้นกับทูลกระหม่อมลุงซื้อชิ้นส่วนของวิทยุทีละชิ้นๆ เอามาแล้วก็มาประกอบเองเป็นวิทยุ ซึ่งต้องฟังกันสองคนที่เข้าหุ้นกัน แล้วก็การที่บางครั้งเงินที่ได้รับเป็นค่าขนมก็ไม่พอที่จะซื้อของที่ท่านอยากได้ ก็ต้องมีการหาเงินพิเศษ วิธีหาเงินพิเศษก็ต้องใช้ความสามารถของท่านเองนี่แหละ เช่น มีพี่เลี้ยงซึ่งก็ไม่กล้าให้ท่านโดยไม่มีเหตุผล เวลาทำอะไรให้แกแกถึงจะให้ได้ เช่น เวลาจักรแกเสีย จักรเย็บผ้าเสีย ท่านตอนนั้นก็สัก ๑๐ ขวบ ท่านก็แก้ได้แก้ได้ก็ได้สตางค์เป็นค่าจ้างแก้จักร...” นอกจากงานช่างไม้และช่างต่อเรือแล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงสนพระราชหฤทัยในวิชาการช่างไฟฟ้า และช่างวิทยุที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร ด้วยทรงตระหนักในประโยชน์และความสำคัญทางด้านการสื่อสารตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ได้ทรงศึกษาเพิ่มเติมจากการอ่านตำราและทดลองทำ เมื่อเสด็จครองสิริราชสมบัติแล้ว มีพระราชประสงค์จะทรงทราบข่าวคราวความทุกข์สุขของราษฎรที่อยู่ตามที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ให้รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ สามารถพระราชทานคำแนะนำ และความช่วยเหลือได้แม้จะอยู่ห่างไกล ได้ทรงศึกษาหาความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในการสื่อสารทางวิทยุและโทรศัพท์ทรงสามารถตรวจซ่อมปรับแต่งเครื่องวิทยุด้วยพระองค์เองได้ ดังที่พลตำรวจตรี สุชาติเผือกสกนธ์ อดีตอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขผู้เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองการสื่อสารกรมตำรวจ และได้เข้าปฏิบัติหน้าที่นายตำรวจสำนักเวรเมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๑ ปัจจุบัน เป็นผู้อำนวยการโครงการพระดาบสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เขียนเล่าไว้ในเรื่อง “พระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระกูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในด้านการสื่อสารในวารสารสุโขทัยธรรมาธิราช ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๓ เดือนกันยายน - ธันวาคม ๒๕๓๙ หน้า ๑๑ - ๒๗ ว่า “...พระองค์ท่านทรงห่วงใย และมีพระราชประสงค์จะทรงทราบข่าวคราวทุกข์สุขของพสกนิกรอย่าง ราดเร็วและตรงกับความเป็นจริงเพื่อจะได้ทรงช่วยเหลือบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ได้ทันการณ์ และทรงตระหนักดีว่า การสื่อสารทางวิทยุเป็นสื่ออย่างดีที่จะช่วยให้บรรลุพระราชประสงค์ในเรื่องนี้...” ได้ทรงใช้เครื่องวิทยุติดต่อในข่ายวิทยุตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีศูนย์ควบคุมข่ายใช้สัญญาณเรียกว่า “ปทุมวัน”
ในการใช้เครื่องวิทยุเพื่อสื่อสารนั้น ได้ทรงทดลองและตรวจสอบสายอากาศทุกชนิดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรับส่งสัญญาณจากที่ห่างไกล โดยปราศจากเสียงรบกวน ไม่ว่าจะเสด็จพระราชดำเนิน ณ ที่ใด โปรดเกล้าฯ ให้ผู้มีความรู้ และสนใจในเรื่องสายอากาศเป็นพิเศษเข้าเฝ้าฯ ถวายคำอธิบาย และพระราชทานกระแสพระราชดำริให้ไปทดลองค้นคว้าพัฒนาสายอากาศชนิดที่มีทิศทาง และอัตราขยายกำลังสัญญาณสูงเป็นพิเศษ แล้วโปรดเกล้าฯ พระราชทานแบบให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจนำไปผลิตใช้งาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ระบบการสื่อสารของหน่วยงานหนึ่งๆ ด้วย ในพุทธศักราช ๒๕๑๒ สมัยที่ยังไม่มีตำราเกี่ยวกับการพัฒนาสายอากาศใช้ในการติดต่อทางวิทยุระบบ VHF/FM ทางไกลได้พระราชทานพระราชกระแสให้พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์ ศึกษาหาความรู้และพัฒนาสายอากาศเพื่อการนี้ ได้ทรงทดลองการติดต่อด้วยพระองค์เอง... อาจกล่าวได้ว่าในปัจจุบันนี้ ข่ายการสื่อสารระหว่างเครื่องบินพระที่นั่งกับผู้เกี่ยวข้อง ทั้งบนอากาศและภาคพื้นดินที่เกิดจากแนวกระแสพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีประสิทธิภาพสูงมากเมื่อเครื่องบิน Take - off จะทรงติดต่อได้ทันทีและสามารถติดต่อกับผู้เกี่ยวข้องได้ตลอดเส้นทางเสด็จ ไม่เกิดช่องว่างขาดการติดต่อเลย...”
นอกจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงสนพระราชหฤทัยในด้านปฏิบัติการสื่อสารแล้วยังทรงสนพระราชหฤทัยด้านงานช่าง เนื่องจากเครื่องรับ-ส่งวิทยุที่ทรงใช้งานเกิดขัดข้องเป็นบางครั้ง เช่น ส่งไม่ออกบ้าง รับฟังได้ไม่ดีบ้าง มีเสียงรบกวนบ้าง ได้ทรงศึกษาสาเหตุของปัญหาขัดข้อง อุปกรณ์และเครื่องมือในการแก้ไข้ จนทรงสามารถตรวจซ่อมปรับแต่งเครื่องวิทยุให้ใช้การได้ดี ทรงปฏิบัติงานนี้ในตอนกลางคืน หลังเสร็จสิ้นพระราชภารกิจประจำวันแล้ว “... บางครั้งผลเกิดขึ้นไม่เป็นไปตามตำราคู่มือ หรือเป็นสิ่งใหม่ที่ตำรามิได้กล่าวไว้ พระองค์ท่านก็มิได้ย่อท้อยังคงทรงปฏิบัติการต่อไป จนกว่าจะประสบความสำเร็จ ซึ่งมีบางครั้งได้ทรงพบตัวปัญหาเอาเมื่อตอนใกล้สว่าง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานช่าง, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานช่าง หมายถึง, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานช่าง คือ, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานช่าง ความหมาย, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานช่าง คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!