ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ความสำคัญของเสียง การฝึกพูด และเครื่องช่วยฟัง, ความสำคัญของเสียง การฝึกพูด และเครื่องช่วยฟัง หมายถึง, ความสำคัญของเสียง การฝึกพูด และเครื่องช่วยฟัง คือ, ความสำคัญของเสียง การฝึกพูด และเครื่องช่วยฟัง ความหมาย, ความสำคัญของเสียง การฝึกพูด และเครื่องช่วยฟัง คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ความสำคัญของเสียง การฝึกพูด และเครื่องช่วยฟัง

          เสียงมีความสำคัญมากอย่างหนึ่งในการกระตุ้นให้คนเรามีการเจริญเติบโตตามปกติ   นับตั้งแต่แรกเกิดเด็กที่หูหนวกแต่กำเนิดจะมีความพิการทั้งทางร่างกายและสมอง จนไม่สามารถอยู่ในสังคมปกติได้ คนที่เกิด มาตาบอดทั้ง ๒ ข้าง แต่หูได้ยินปกติจะมีความเจริญเติบโตทั้งร่างกายและสมอง และอยู่ในสังคมได้ บางคนมีความสามารถเป็นพิเศษมากกว่าคนสายตาปกติ เราคงเคยได้เห็นและได้ฟังวงดนตรีคนตาบอด ซึ่งสามารถเล่นได้ทั้งดนตรีไทยและสากลได้ไพเราะมาก คนตาบอดอ่านหนังสือได้โดยใช้นิ้วมือสัมผัสอักษรพิเศษคือ อักษรเบรลล์ (Braille) คนที่หูหนวกแต่กำเนิดจะไม่สามารถปฏิบัติในสิ่งที่กล่าวได้ โดยเฉพาะคนหูหนวกและเป็นใบ้ บางครั้งแม้แต่ช่วยตัวเองก็ยังไม่ได้
          ได้มีการศึกษาและเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า   การได้ยินเสียงของเด็ก  เป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญอย่างมากต่อการเจริญเติบโตทางสมองของเด็ก รวมทั้งพฤติกรรมทุกๆ ชนิดที่จะพัฒนาตามมา เช่น การนั่งการเดิน การกินอาหาร  รวมทั้งอารมณ์และความ
เฉลียวฉลาด การพูดของเด็กจะพัฒนาขึ้นมาได้ต่อเมื่อเด็กจะต้องได้ยินเสียงพูดก่อนเท่านั้น เด็กหูหนวกฃจึงไม่สามารถพูดได้และเป็นใบ้  ไม่สามารถติดต่อสื่อความหมายกับคนอื่นโดยการพูดได้ มนุษย์เราจัดอยู่ในสัตว์ชั้นสูงสุด แยกจากสัตว์ชั้นอื่นๆ ได้เนื่องจากการที่สามารถพูดติดต่อกันได้นี้เอง  จึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องวินิจฉัยให้ได้โดยเร็วที่สุดนับแต่เด็กแรกเกิด  ว่ามีความพิการทางการได้ยินหรือไม่ คือ หูตึงหรือหูหนวกหรือไม่ ถ้ามีเป็นประเภทไหน และมากน้อยเพียงใด เพื่อจะได้เริ่มให้การช่วยเหลือตามขั้นตอนโดยวิธีการต่างๆ ตามความเหมาะสมเท่าที่ความรู้ทางการแพทย์ในปัจจุบันนี้จะช่วยเหลือได้ โดยมุ่งช่วยเหลือให้เด็กมีการได้ยินและฝึกพูดโดยเร็ว          เด็กที่พูดช้ากว่าปกติ  พูดไม่ชัด  หรือพูดไม่ได้เลยนั้น คนส่วนมากเข้าใจผิดคิดว่าเกิดจากความพิการหรือไม่สมประกอบของอวัยวะที่เกี่ยวกับการพูด ที่จริงแล้วสาเหตุสำคัญนั้นคือ  หูตึง หรือหูหนวก (เด็กไม่ได้ยินเสียงเลย) ในรายที่หูหนวกไม่สามารถพูดได้หรือเป็นใบ้ ถ้าหูตึงมากจะได้ยินเสียงบ้างแต่ไม่มากนักพูดได้ไม่ชัดหรือพูดผิดปกติ    หรือพูดได้ด้วยความยากลำบากและออกเสียงได้ไม่ชัดเจน 
          สาเหตุที่ทำให้เด็กพูดช้าหรือพูดไม่ได้ มีดังนี้
          ๑. หูตึงหรือหูหนวก  มีประมาณร้อยละ๔๕ หูตึงหรือหูหนวก แบ่งเป็นหลายประเภทและมีสาเหตุต่างๆ กันได้มากมาย (ดูในหัวข้อ โรคของหู)
          ๒. ความผิดปกติทางสมอง  มีประมาณร้อยละ ๓๐ มีการเจริญเติบโตทางร่างกายช้าและมีความพิการ เช่น แขนขาลีบ ขาไม่มีแรง หกล้มบ่อยๆ เดินเองได้ยาก ต้องพยุงหรือจูง
          ๓. ความผิดปกติทางจิตใจและอารมณ์ มีประมาณร้อยละ  ๑๕  การเจริญเติบโตทางร่างกายปกติ และการพูดอาจพัฒนาเป็นปกติแต่มีอาการทางโรคจิต เช่น ทำท่าทางแปลกๆ นั่งเหม่อ หรือจ้องมองสิ่งของบางอย่างนาน  ซึม ไม่สนใจเสียงรอบกาย และแยกตัวอยู่ตามลำพัง เป็นต้น
          ๔. เด็กปัญญาอ่อน  มีประมาณร้อยละ ๑๐ การเจริญเติบโตทางร่างกายอาจปกติพอสมควร แต่การพัฒนาทางจิตใจและภาษาช้ากว่าอายุจนเห็นได้ชัด ตัวโตแต่ทำอะไรเป็นเด็กเล็ก ช่วยตัวเองไม่ค่อยได้ ลักษณะรูปร่างหน้าตาจะเห็นได้ชัดว่าเป็นเด็กปัญญาอ่อน
          ความพิการหลายอย่างทำให้การพูดผิดปกติ เช่น  หูตึงหรือหูหนวก  ความผิดปกติของอวัยวะที่เกี่ยวกับการพูด และโรคทางสมองหรือจิตใจ ทำให้การพูดผิดปกติไปได้หลายแบบ    อาจแบ่งตามลักษณะกิริยาอาการที่ผู้พูดแสดงออกได้ ๕ ประเภท คือ
               ๑. พูดไม่ชัด  การออกเสียงสระหรือพยัญชนะไม่ชัด เช่น  ไคว แทน ไฟ   ฟาม แทนความ   เยือ แทน  เรือ   หง่า แทน สง่า   ช้าแทน ช้าง เป็นต้น  สาเหตุที่พูดไม่ชัดเกิดจะปากแหว่ง เพดานโหว่ หูตึง สอนพูดไม่ถูกต้อง อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีคนพูดไม่ชัด เป็นโรคจิต โรคประสาท หรือมีปัญหาทางอารมณ์
               ๒. พูดติดอ่าง  พูดติดตะกุกตะกัก ซ้ำพยางค์ ซ้ำคำ ซ้ำประโยค หรือพูดไม่ออกเลย บางรายมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ขยิบตา เกร็งริมฝีปากหน้าบิดเบี้ยว สะบัดหน้าเวลาพูด สาเหตุเกิดจากทางด้านจิตใจหรืออารมณ์  ความหวาดกลัวว่าจะพูดผิด ไม่กล้าพูด
              ๓. เสียงพูดผิดปกติ  เสียงที่พูดผิดปกติแตกต่างจากที่ควรจะเป็น เช่น เสียงแหบ เสียงขึ้นจมูก สูงไป ต่ำไป ทุ้ม แหลม ดัง หรือออกเสียงค่อยเกินไป สาเหตุเกิดจากโรคของอวัยวะที่เกี่ยวกับการพูด เช่น สายเสียงเป็นเนื้องอก   กล่องเสียงเป็นมะเร็ง  จมูกอักเสบ และโรคหวัด เป็นต้น
              ๔. ความผิดปกติแบบผสม  เกิดจากความพิการหลายๆ อย่างรวมกัน เช่น  เสียงพูดในคนที่ปากแหว่ง  เพดานโหว่ เสียงภาษาต่างชาติ เสียงพูดของคนสมองพิการ  เสียงพูดของคนหูตึงและหูหนวกเหล่านี้จะมีเสียงพูดไม่ชัด  เสียงผิดปกติ จังหวะในการพูดไม่ดี

ความสำคัญของเสียง การฝึกพูด และเครื่องช่วยฟัง, ความสำคัญของเสียง การฝึกพูด และเครื่องช่วยฟัง หมายถึง, ความสำคัญของเสียง การฝึกพูด และเครื่องช่วยฟัง คือ, ความสำคัญของเสียง การฝึกพูด และเครื่องช่วยฟัง ความหมาย, ความสำคัญของเสียง การฝึกพูด และเครื่องช่วยฟัง คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 10

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu