ใน พ.ศ. ๒๕๓๑ มหาวิทยาลัยมหิดลได้นำเอาข้อความในพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทยเข้าจานแม่เหล็กชนิดแข็งเพื่อนำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถเรียกคำไหนก็ได้ในเล่มใด หน้าใด บรรทัดที่เท่าไร ให้มาปรากฏในจอภาพได้ทันที นับเป็นครั้งแรกในโลกที่ได้มีการนำข้อความภาษาบาลีเข้าในจานแม่เหล็กชนิดแข็งที่เรียกว่า Hard Disk แต่สามารถเก็บข้อความในหนังสือพระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม รวมหลายสิบล้านตัวอักษรมาเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เป็นผลสำเร็จ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช นับเป็นเกียรติ ประวัติอย่างสูงของประเทศไทย บุคคลผู้เป็นหัวหน้าคณะดำเนินการในเรื่องนี้คือ ผศ.ดร.ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์ ผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์ ผู้ร่วมคณะคือ ผศ.ดำรัส วงศ์สว่าง รองผู้อำนวยการ น.ส. นันทิกา เบญจเทพานันท์ และ น.ส. จิราภร เกียรติไพบูลย์ ภายใต้การสนับสนุนของ ศาสตราจารย์ ณัฐ ภมรประวัติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่องนี้องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ถาวรในประเทศไทย ได้ทำเป็นประกาศแจ้งให้สมาชิกองค์การพุทธศาสนิกชนสัมพันธ์แห่งโลกหลายสิบประเทศซึ่งไปร่วมประชุมใหญ่ ครั้งที่ ๑๖ ในนครลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกาในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ ทราบทั่วกันแล้ว
พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับคอมพิวเตอร์
พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับคอมพิวเตอร์, พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับคอมพิวเตอร์ หมายถึง, พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับคอมพิวเตอร์ คือ, พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับคอมพิวเตอร์ ความหมาย, พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับคอมพิวเตอร์ คืออะไร
พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับคอมพิวเตอร์, พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับคอมพิวเตอร์ หมายถึง, พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับคอมพิวเตอร์ คือ, พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับคอมพิวเตอร์ ความหมาย, พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับคอมพิวเตอร์ คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!