พฤติกรรมการบริโภคแอลกอฮอล์ของคนไทย
พฤติกรรมการบริโภคแอลกอฮอล์ของคนไทย, พฤติกรรมการบริโภคแอลกอฮอล์ของคนไทย หมายถึง, พฤติกรรมการบริโภคแอลกอฮอล์ของคนไทย คือ, พฤติกรรมการบริโภคแอลกอฮอล์ของคนไทย ความหมาย, พฤติกรรมการบริโภคแอลกอฮอล์ของคนไทย คืออะไร
คนไทยมีการบริโภคแอลกอฮอล์มาช้านานแล้ว โดยมักดื่มในเทศกาลและวาระต่างๆ และมีความเชื่อเรื่องการดื่มเพื่อสุขภาพ เช่น ยาดอง โดยเอายามาผสมหรือดองกับสุรา เชื่อว่าช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต รักษาอาการปวดเมื่อย ทำให้เจริญอาหาร ความจริงแล้วส่วนผสมของแอลกอฮอล์ในยาดองนั้นมีค่อนข้างสูง ดังนั้น การดื่มยาดองก็คือ การดื่มสุรานั่นเอง นอกจากนี้ ในบางครั้งจะพบทัศนคติของคนไทยที่มีต่อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในลักษณะที่ส่งเสริมการดื่ม โดยไม่รู้ตัว เช่น การวางขวดสุราไว้ในห้องรับแขกตามบ้าน ในงานเลี้ยงสังสรรค์หรืองานฉลองตามประเพณีต่างๆ มักจะพบเห็น การดื่มสุรากันเป็นเรื่องปกติ
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติที่สำรวจใน พ.ศ. ๒๕๓๔ พบว่า ร้อยละ ๓๑.๔ ของประชากรไทยที่มีอายุตั้งแต่ ๑๔ ปีขึ้นไป มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอีก ๕ ปีต่อมาคือ ใน พ.ศ. ๒๕๓๙ ประชากรไทยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยถึงปีละ ๒๖๐,๐๐๐ คน จากสถิติของกรมสรรพสามิต เกี่ยวกับการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า ปริมาณการบริโภคนั้น เพิ่มขึ้นจาก ๑๐.๔ ลิตรต่อคนต่อปี ใน พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็น ๑๖.๖ ลิตรต่อคนต่อปี ใน พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยเครื่องดื่มประเภทเบียร์และเหล้าองุ่น มีปริมาณการบริโภคเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าชนิดอื่น ภาคที่มีการบริโภคแอลกอฮอล์มากที่สุดคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ โดยผู้ชายจะบริโภคมากกว่าผู้หญิง ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็เช่นกัน ที่คนในชนบทจะบริโภคมากกว่าคนในเมือง โดยคนในชนบทจะเริ่มบริโภคแอลกอฮอล์ตั้งแต่อายุยังน้อย คือ เฉลี่ยประมาณ ๑๕ -๑๙ ปี ส่วนข้อมูลของการดื่มแอลกอฮอล์ของคนในกรุงเทพมหานคร ซึ่งสำรวจโดยกรมสุขภาพจิต ใน พ.ศ. ๒๕๔๐ พบว่า ร้อยละ ๓๗.๙ เคยดื่มแอลกอฮอล์ โดย ร้อยละ ๘.๒ ของคนกลุ่มนี้อยู่ในสถานภาพที่เรียกว่า "ติดเหล้า" และร้อยละ ๑๐.๒ อยู่ในสถานภาพที่ใกล้เคียงกับการติดเหล้า
เหตุผลของการดื่มแอลกอฮอล์พบว่า มีความแตกต่างกันระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง โดยผู้ชายให้เหตุผลในการตัดสินใจดื่มครั้ง แรกว่า อยากทดลอง รองลงมาคือเพื่อนชวน สำหรับเหตุผลของผู้หญิงคือ อยากทดลอง รองลงมาคือเพื่อเข้าสังคม และดื่มเพื่อสุขภาพ โดยผู้ชายจะเริ่มดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงอายุที่น้อยกว่าผู้หญิง และมีแนวโน้มว่า ผู้ดื่มทั้งผู้ชายและผู้หญิงจะมีอายุลดน้อยลง เรื่อยๆ โดยสุราไทยและเบียร์เป็นเครื่องดื่มของคนในเขตเมือง ส่วนสุราขาวและยาดองเป็นเครื่องดื่มของคนในเขตชนบท เหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้ดื่มไม่คิดจะเลิกดื่มก็คือ เพราะต้องเข้าสังคม สังสรรค์ และดื่มเพื่อสุขภาพ ร่างกาย โดยคิดว่า ดื่มเพียงเล็กน้อยไม่เป็นไร ส่วนเหตุผลเกี่ยวกับสุขภาพจิตคือ เพื่อความสนุกสนาน คลายเครียด จากเหตุผลเหล่านี้ ทำให้ได้ข้อสังเกตว่า ผู้ที่ดื่มสุราโดยไม่คิด จะเลิกดื่มนั้น อาจไม่รู้ตัวว่าตนเองกำลังตกอยู่ในสถานะ "ติดสุรา" ไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจก็ตาม
โดยสรุปแล้ว ผู้บริโภคแอลกอฮอล์ ในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี และมีแนวโน้มว่า จะเริ่มดื่มตั้งแต่อายุยังน้อย ปัญหาของการดื่มแอลกอฮอล์ไม่จำกัดอยู่เฉพาะในผู้ชายเท่านั้น การดื่ม แอลกอฮอล์ในผู้หญิงเริ่มมีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น และเหตุผลของการดื่มที่มีอิทธิพลสำคัญคือ อยากทดลอง เพื่อนชักชวน และค่านิยมทาง สังคม ทั้งนี้ไม่ใช่ว่า ทุกคนที่ดื่มแอลกอฮอล์ จะต้องติดแอลกอฮอล์เสมอไป มีเพียงคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้นที่จัดว่าเป็นกลุ่มที่มีปัจจัย เสี่ยงสูงที่จะกลายเป็นคนที่ติดแอลกอฮอล์ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคแอลกอฮอล์โดยรวมแล้ว ยังมีปัจจัยที่ควรคำนึงถึง ๓ ประการ คือ ปัจจัยที่ส่งเสริมให้มีการเริ่มบริโภคแอลกอฮอล์ ปัจจัยที่เสี่ยงต่อการติดแอลกอฮอล์ และปัจจัยที่ส่งเสริมให้มีการบริโภคแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง
พฤติกรรมการบริโภคแอลกอฮอล์ของคนไทย, พฤติกรรมการบริโภคแอลกอฮอล์ของคนไทย หมายถึง, พฤติกรรมการบริโภคแอลกอฮอล์ของคนไทย คือ, พฤติกรรมการบริโภคแอลกอฮอล์ของคนไทย ความหมาย, พฤติกรรมการบริโภคแอลกอฮอล์ของคนไทย คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!