ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

โครงสร้างของภาษาไทยกับการแสดงผลด้วยคอมพิวเตอร์, โครงสร้างของภาษาไทยกับการแสดงผลด้วยคอมพิวเตอร์ หมายถึง, โครงสร้างของภาษาไทยกับการแสดงผลด้วยคอมพิวเตอร์ คือ, โครงสร้างของภาษาไทยกับการแสดงผลด้วยคอมพิวเตอร์ ความหมาย, โครงสร้างของภาษาไทยกับการแสดงผลด้วยคอมพิวเตอร์ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
โครงสร้างของภาษาไทยกับการแสดงผลด้วยคอมพิวเตอร์

          ในการประมวลผลข้อมูลที่เป็นภาษาไทย หลักพื้ฐานของตัวอักษรไทยแตกต่างกับภาษาอังกฤษเดิมที่ใช้คอพิวเตอร์ คือ โครงสร้างภาษาไทยมีถึง ๔ ระดับ และไม่มการเว้นวรรคระหว่างคำ
          โครงสร้างตัวอักษรภาษาไทย มีการแบ่งตามระดับการจัดเรียงพิมพ์ ดังต่อไปนี้
          ระดับที่ ๑ ได้แก่  ่   ้   ๊   ๋   ์      ตัวอักษรเหล่านี้จะเลื่อนไปอยู่ในระดับที่ ๒  ถ้าตำแหน่งนั้นไม่มีตัวอักษรอื่นอยู่
          ระดับที่ ๒ ได้แก่   ั    ิ    ี    ึ    ื    ็   และ   ํ  (นิคหิต)
          ระดับที่ ๓ ได้แก่ ก ข............ฮ   ำ  เ   แ   โ   ใ   ไ  ะ  า  ๆ  และ  ฯ
          ระดับที่ ๔ ได้แก่    ุ    ู . (พินทุ)
          ตัวอักษรเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนจอเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวอักษรจะแสดงในลักษณะรูปโมเสกเป็นช่องๆ ดังนั้นระดับที่ ๑ อาจห่างจากระดับที่ ๒ ทำให้ดูไม่สวยงาม จึงใช้วิธีการสร้างตัวอักษร โดยแสดงด้วยการรวมตัวอักษรระดับที่ ๑ และระดับที่ ๒ เข้าด้วยกัน ซึ่งจะได้เป็นระดับรวม (combine) ซึ่งได้แก่
         ั่    ั้    ั๊   ั๋    ิ่    ิ้    ิ๊    ิ๋   ................
         เมื่อเป็นเช่นนี้  ระดับการแสดงผลจะเหลือเพียง ๓ บรรทัด ซึ่งในที่นี้จะใช้ดังนี้
         ระดับบน  ได้แก่ สระตัวบนทั้งหมดทั้งที่แยกตัวและรวมกับวรรณยุกต์
         ระดับปกติ ได้แก่ พยัญชนะและสระที่อยู่บนบรรทัดกลาง
         ระดับล่าง  ได้แก่  บรรทัดล่างซึ่งมีสระ    ุ    ู     และ . (พินทุ)
         ในการประมวลผลตัวอักษรนั้น  จำเป็นต้องเปลี่ยนรูปแบบของตัวอักษรให้เป็นรหัส  เพื่อให้อุปกรณ์เครื่องจักรต่างๆ เข้าใจ รหัสเพื่อแทนความหมายสำหรับใช้ในการสื่อสารมีมานานแล้ว มนุษย์สมัยโบราณใช้ควันไฟเป็นรหัส ใช้สัญญาณเสียงที่ตะโกนส่งต่อกันเป็นการแสดงความหมายแต่รหัสที่ใช้ให้มนุษย์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องจักรได้ในยุคแรกคือ รหัสโทรเลข ซึ่งได้แก่ รหัสโทรเลขแบบมอร์ส (Morsecode) ซึ่งได้คิดขึ้นโดยมอร์ส (Samuel Morse, ค.ศ. ๑๗๙๑-๑๘๗๒,  ศิลปินและนักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน) เริ่มใช้กันมาครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๓๗๗ และแพร่หลายกันจนเป็นรหัสสากล

โครงสร้างของภาษาไทยกับการแสดงผลด้วยคอมพิวเตอร์, โครงสร้างของภาษาไทยกับการแสดงผลด้วยคอมพิวเตอร์ หมายถึง, โครงสร้างของภาษาไทยกับการแสดงผลด้วยคอมพิวเตอร์ คือ, โครงสร้างของภาษาไทยกับการแสดงผลด้วยคอมพิวเตอร์ ความหมาย, โครงสร้างของภาษาไทยกับการแสดงผลด้วยคอมพิวเตอร์ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 11

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu