ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ปัจจัยที่มีผลต่อระบบการตลาดสินค้าเกษตร, ปัจจัยที่มีผลต่อระบบการตลาดสินค้าเกษตร หมายถึง, ปัจจัยที่มีผลต่อระบบการตลาดสินค้าเกษตร คือ, ปัจจัยที่มีผลต่อระบบการตลาดสินค้าเกษตร ความหมาย, ปัจจัยที่มีผลต่อระบบการตลาดสินค้าเกษตร คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ปัจจัยที่มีผลต่อระบบการตลาดสินค้าเกษตร

          ระบบการตลาดสินค้าเกษตรเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เหตุผลสำคัญก็คือความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ทำให้การผลิตเปลี่ยนไปด้วยนอกจากนี้สินค้าบางชนิดต้องการรูปแบบการตลาดเฉพาะ เช่น สินค้าที่เน่าเสียง่าย การพัฒนาระบบการผลิตและการตลาดจึงเปลี่ยนไป คือแทนที่จะปลูกแล้วขายให้ใครก็ได้ แต่เพื่อสร้างความมั่นใจกับผู้ผลิตว่า ผลิตแล้วขายได้ และทางฝ่ายผู้ซื้อแน่ใจว่าจะมีสินค้าพอกับความต้องการ จึงมีการตลาดแบบใหม่เกิดขึ้นที่เรียกว่า ตลาดแบบมีข้อตกลงซึ่งจะอธิบายในแต่ละข้อดังนี้

          สินค้าเกษตรนอกจากจะมีลักษณะพิเศษต่างจากสินค้าอื่นแล้ว เช่น เน่าเสียง่าย เป็นสินค้าวัตถุดิบ คือ ต้องนำไปแปรรูป ปริมาณการผลิตและคุณภาพไม่สม่ำเสมอ ยังมีลักษณะพิเศษอีกหลายประการที่ทำให้ระบบตลาดสินค้าเกษตรต่างจากสินค้าอื่น และสินค้าแต่ละชนิดก็ต่างกันลักษณะพิเศษที่สำคัญมีดังนี้
          ๑. สินค้าเกษตรผลิตโดยเกษตรกรรายย่อยและกระจัดกระจาย นั่นก็คือ ปริมาณการผลิตและปริมาณสินค้าที่เหลือขายมีไม่มาก และกระจัดกระจาย พืชหรือสินค้าแต่ละชนิดมีปลูกและมีขายเกือบทั่วทุกจังหวัด จากครัวเรือนเกษตรกรประมาณ ๕.๒ ล้านครัวเรือน แต่ละครัวเรือนอาจจะขายพืชผลบางชนิด แต่ละชนิดคุณภาพก็ต่างกัน มีทั้งข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวเจ้าเองก็มีหลายพันธุ์ แต่ละพันธุ์ก็ต่างกันทั้งความยาวของเมล็ด คุณภาพในการสีคุณภาพในการหุงต่างกัน
          ตัวอย่างเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ทำนาเป็นอาชีพหลัก มีข้าวเหลือขาย ครัวเรือนละประมาณ ๔ เกวียน หรือ ๔ ตัน (ประมาณ ๔,๐๐๐ กิโลกรัม) ทำให้การตลาดในระดับไร่นากระจัดกระจายกันเกือบทั้งประเทศ มีผู้รับซื้อในทุกหมู่บ้าน ปริมาณขายของเกษตรกรแต่ละคนมีไม่มากพอที่จะขนส่งไปขายให้กับโรงสีได้
          ๒. เกษตรกรขายพืชผลทันทีหลังเก็บเกี่ยว  เหตุผลเนื่องจากต้องการเงินสดสำหรับค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และจ่ายค่าปัจจัยการผลิต ประกอบกับขาดที่เก็บรักษา ทำให้ต้องรีบขายทันที เช่น ข้าวนาปี ประมาณครึ่งหนึ่งของยอดขายจะขายในเดือนมกราคม-มีนาคม ประมาณร้อยละ ๖๐ ของข้าวนาปรังจะขายในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมประมาณร้อยละ ๗๓ ของกระเทียมที่ปลูกในภาคเหนือ จะขายในช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน การที่สินค้าออกสู่ตลาดมาก ทำให้การกระจายสินค้าของพ่อค้าทำได้ไม่ทัน เพราะพ่อค้าคนกลางต้องมียุ้งฉางเก็บ บางทีก็รับซื้อได้ไม่หมด ทำให้ราคาต่ำในฤดูเก็บเกี่ยว เกษตรกรส่วนใหญ่จะขายพืชผลในไร่นา หรือถ้าขายข้าวเรียกว่า ขาย "หน้าลาน" คือเก็บเกี่ยวเสร็จนวดและขายโดยไม่มีการขนเข้าเก็บในยุ้ง มีจำนวนน้อยที่นำไปขายยังตลาดหรือโรงสี และมีเป็นจำนวนไม่น้อยที่ขายไปล่วงหน้าหรือเรียกว่า "ขายเขียว" ซึ่งมีปฏิบัติกันมากในเรื่องของผลไม้ เช่น เงาะ ลำไย ทุเรียน โดยพ่อค้าจะไปติดต่อขอซื้อเหมาหลังจากทราบคร่าวๆว่า ผลิตผลมีเท่าใด ตกลงซื้อขายกันแล้วชำระเงินให้ส่วนหนึ่ง แล้วให้เกษตรกรเป็นผู้ดูแลผลิตผลจนกว่าจะถึงเวลาเก็บเกี่ยว
          ลักษณะการผลิตและการเก็บเกี่ยวข้างต้นมีผลทำให้การตลาดสินค้าแต่ละชนิดแตกต่างกันออกไป และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้มีผู้ซื้อมากในระดับไร่นา สินค้าที่ขายอาจยังมีคุณภาพไม่ดี   เพราะเพิ่งเก็บเกี่ยวเสร็จแต่ต้องรีบขายทำให้พ่อค้าต้องเสียค่าใช้จ่ายและเสี่ยงในเรื่องคุณภาพสินค้า จะลดความเสี่ยงก็โดยรับซื้อในราคาต่ำไม่ซื้อตามคุณภาพ และอาจหาทางเอารัดเอาเปรียบในเรื่องชั่ง ตวง วัด

ปัจจัยที่มีผลต่อระบบการตลาดสินค้าเกษตร, ปัจจัยที่มีผลต่อระบบการตลาดสินค้าเกษตร หมายถึง, ปัจจัยที่มีผลต่อระบบการตลาดสินค้าเกษตร คือ, ปัจจัยที่มีผลต่อระบบการตลาดสินค้าเกษตร ความหมาย, ปัจจัยที่มีผลต่อระบบการตลาดสินค้าเกษตร คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 18

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu