สุริยุปราคาหมดดวง
สุริยุปราคาหมดดวง, สุริยุปราคาหมดดวง หมายถึง, สุริยุปราคาหมดดวง คือ, สุริยุปราคาหมดดวง ความหมาย, สุริยุปราคาหมดดวง คืออะไร
ผู้ที่ได้เห็นปรากฏการณ์ธรรมชาติสุริยุปราคาหมดดวงครั้งหนึ่งแล้ว มักกล่าวว่ายากที่จะ พรรณนาให้สมกับความตรึงใจตามที่ได้เห็นของจริงได้
เมื่อเริ่มสัมผัสแรกจะเห็นขอบตะวันออกของดวงจันทร์อันมัวมืดดำอยู่บนขอบตะวันตกของดวงอาทิตย์ มองได้โดยกระจกรมดำหรือฟิล์มถ่ายรูปที่ถ่ายไว้หนาๆ เมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ไปทางตะวันออก พื้นที่อันมัวมืดดำนั้นก็ใหญ่ขึ้น ต่อมาสิ่งที่เกิดขึ้นบนผิวโลกก็มีแต่เงาของดวงอาทิตย์ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากรูปกลมธรรมดาเป็นรูปเสี้ยวแคบๆ ไป เมื่อได้ผ่านช่องเล็กๆ เช่น ช่องระหว่างใบไม้ ผลของการเปลี่ยนรูปของเงาเช่นนี้ เห็นได้เวลามีสุริยุปราคาบางส่วนด้วยเหมือนกันประมาณครึ่งชั่วโมงก่อนหมดดวง ทิวทัศน์มืดมัวขึ้นจนสังเกตเห็นได้ง่าย ทั้งโลกและท้องฟ้ามีสีแปลกประหลาด เกิดจากแสงที่มาจากใกล้ๆ ขอบดวงอาทิตย์ แสงนี้มีคุณภาพแตกต่างจากแสงอันแจ่มใสสว่างกว่าที่ศูนย์กลางของพื้นดวง เมื่อแสงสลัวลง สีแปลกประหลาดจะเกิดมากขึ้น ไม่แต่มนุษย์เท่านั้นที่สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศก่อนเวลาหมดดวงได้ สัตว์เช่น นก จะบินอย่างตื่นเต้น ไก่พากันเข้ารัง และสุนัขเห่าหอน ก่อนเริ่มหมดดวง ดอกไม้หลายชนิดหุบกลีบ บางแห่งมีน้ำค้างเกิดขึ้น
ก่อนสัมผัสที่สองหลายนาที จะเห็นแถบเงาผ่านไปตามพื้นดิน เงานี้เป็นเงาของคลื่นในบรรยากาศของโลก เห็นได้ชัดขึ้นโดยที่ผิวพื้นดวงอาทิตย์คงเหลือเสี้ยวแคบลงไป
สิ่งต่างๆ ที่ได้พรรณนามาแล้วเป็นภาพเบื้องต้นของสุริยุปราคาหมดดวง ก่อนสัมผัสที่สองเล็กน้อย ผู้สังเกตการณ์ซึ่งอยู่ในสภาพที่เหมาะ อาจเห็นเงาของดวงจันทร์ในอากาศคล้ายก้อนเมฆใหญ่แต่ไม่มีเขตจำกัดชัดเจนนัก กำลังเคลื่อนจากตะวันตกด้วยความเร็วสูงยิ่งกว่าพายุ อาจเร็วถึงนาทีละ ๓๐ กิโลเมตร หรือมากกว่านั้น ผิวพื้นเสี้ยวบางของขอบตะวันออกของดวงอาทิตย์แยกกระจายเป็นแสงสว่างกลมๆ คล้ายลูกปัด เรียกกันว่า ลูกปัดเบลีย์ (Bailey's bead) ซึ่งเกิดจากแสงอาทิตย์ส่องโดนขอบของดวงจันทร์ที่ไม่เรียบสม่ำเสมอ ขณะเดียวกันที่ขอบตะวันตกของดวงอาทิตย์จะปรากฏแสงคอโรนา ชั้นในซึ่งเป็นแสงที่ห้อมล้อมดวงอาทิตย์ แสงคอโรนานี้จะเห็นได้เมื่อดวงจันทร์ปิดบังดวงอาทิตย์มิดหมดดวงเท่านั้น
"ลูกปัด" จะเห็นอยู่นานเพียงชั่วขณะเดียว แล้วแสงคอโรนาจะปรากฏให้เห็นอีก ลักษณะของแสงคอโรนาแตกต่างกันไปทุกครั้งที่มีสุริยุปราคาหมดดวง แต่ในทุกครั้งจะมีแสงสว่างเป็นวงแหวนรอบดวงอาทิตย์ (และดวงจันทร์) และมีแสงขาวนวลยาวออกไปจากเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์หลายเท่า ที่ขอบในของคอโรนาสว่างมากเมื่อเทียบกับดวงจันทร์ที่มืดดำ ส่วนสายแสงตอนนอกค่อยๆ จางหายไปในท้องฟ้า ซึ่งถ้าอากาศแจ่มใสจะมีสีน้ำเงินแก่กว่าปกติ และจะเห็นดาวฤกษ์ที่สุกใสและดาวเคราะห์ในท้องฟ้าเวลาสุริยุปราคามืดหมดดวง มีอยู่บ่อยๆ ที่จะเห็นพวยก๊าซยื่นออกไปจากโครโมสเฟียร์ ที่ขอบดวงอาทิตย์ซึ่งกำลังจะถูกปิดมืดหรือกำลังจะโผล่ออกมาพวยก๊าซนี้อาจเห็นได้ด้วยตาเปล่าโดยไม่ต้องอาศัยกล้องโทรทรรศน์ แต่ตามปกติต้องอาศัยดูด้วยกล้องโทรทรรศน์ประกอบกับอุปกรณ์พิเศษจึงจะเห็นได้ การเปลี่ยนแปลงที่ควรสังเกตระหว่างสุริยุปราคามืดหมดดวงก็มีที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ เมื่อดวงจันทร์ปิดบังคอโรนาตอนในกับพวยก๊าซที่ขอบตะวันออกของดวงอาทิตย์ และเมื่อดวงจันทร์เปิดคลายให้เห็นขอบตะวันตกของดวงอาทิตย์ จากสัมผัสที่สามไปจนถึงสัมผัสที่สี่ซึ่งเป็นภาคสุดท้ายของสภาพมืดหมดดวง เมื่อดวงจันทร์ออกจากตัวดวงอาทิตย์ สภาพสุริยุปราคาก็เป็นไปตามลำดับกลับกันกับที่เป็นมาแล้ว
ในขณะที่เกิดสุริยุปราคามืดหมดดวงนั้น ถ้าท้องฟ้ามีเมฆอยู่บ้างก็จะช่วยทำให้สุริยุปราคามีลักษณะอันน่าดูยิ่งขึ้น และถึงแม้ว่าท้องฟ้าจะมัวมืดลงทันทีในเวลากลางวัน ความมืดนี้ก็ไม่ใช่ว่าจะมืดสนิท เพราะคอโรนายังส่องแสงสว่างอยู่ ความสว่างจากคอโรนาเทียบได้ประมาณครึ่งหนึ่ง
ของดวงจันทร์วันเพ็ญ และยังคงเห็นเมฆที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ ๗๐-๘๐ กิโลเมตร ในขณะที่ดวงอาทิตย์ยังเป็นสุริยุปราคาบางส่วนได้อย่างชัดเจน
สุริยุปราคามืดหมดดวง ให้โอกาสสำหรับทำการศึกษาค้นคว้าที่สำคัญๆ ดังต่อไปนี้
๑. การศึกษาคอโรนา ตามที่เห็นด้วยกล้องถ่ายรูปโฟกัสยาว และด้วยสเปกโทรมิเตอร์และโพลาริสโคป
๒. การถ่ายรูปสเปกตราของโครโมสเฟียร์ พวยก๊าซ และ แฟลชสเปกตรัม (flash spectrum)
๓. การค้นหาดาวเคราะห์ดวงใหม่ และดาวที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์
๔. การพิจารณากำหนดตำแหน่งสัมผัสที่แม่นตรงของดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์ โดยการวัดเวลาสัมผัส
๕. ถ่ายรูปบริเวณดาวรอบๆ ดวงอาทิตย์ เพื่อการตรวจการปรากฏเลื่อนตำแหน่งของดาวฤกษ์ เนื่องจากการที่แรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์กระทำต่อแสงสว่าง
สุริยุปราคาหมดดวง, สุริยุปราคาหมดดวง หมายถึง, สุริยุปราคาหมดดวง คือ, สุริยุปราคาหมดดวง ความหมาย, สุริยุปราคาหมดดวง คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!