ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ประวัติของการดมยาสลบ, ประวัติของการดมยาสลบ หมายถึง, ประวัติของการดมยาสลบ คือ, ประวัติของการดมยาสลบ ความหมาย, ประวัติของการดมยาสลบ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 2
ประวัติของการดมยาสลบ

           การดมยาสลบที่กล่าวได้ว่าเป็นรากฐานของการให้ยาดมสลบในปัจจุบันนี้ เริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ เมื่อก๊าซไนทรัสออกไซด์ ถูกค้นพบโดยพริสต์เลย์ (Joseph Priestley, ค.ศ.๑๗๓๓-๑๘๐๔) ในปี พ.ศ. ๒๓๑๕ แต่ในเวลานั้นยังไม่ทราบว่าก๊าซตัวนี้มีคุณสมบัติระงับความเจ็บปวดได้ จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๓๔๓ เดวี จึงค้นพบฤทธิ์ระงับความเจ็บปวด และเรียกก๊าซนี้ว่าก๊าซหัวเราะ (laughing gas) ต่อจากนั้นมาก็มีการค้นคว้าและนำเอาอีเทอร์ คลอโรฟอร์ม และ เอทิลคลอไรด์ มาใช้เป็นยาดมสลบ ในระยะแรก ๆ ก็ใช้ในการถอนฟัน โดยให้แบบหยด (open drop)ต่อมาเมื่อ ฮอเรซ เวลส์ สร้างเครื่องดมยาด้ายก๊าซไนทรัสออกไซด์ได้ (พ.ศ. ๒๓๘๗) จึงเป็นความคิดริเริ่มของนักวิทยาศาสตร์ที่จะประดิษฐ์เครื่องดมยาขึ้นมา  ซึ่ง เซอร์ เฟรเดริก เฮวิตต์ (Sir Frederic Hewitt, ค.ศ. ๑๘๘๗) ได้ประดิษฐ์เครื่องดมยาเครื่องแรกขึ้น แต่ในเวลานั้นก็ไม่เป็นที่นิยมใช้ เพราะแพทย์ส่วนมากยังนิยมใช้แบบหยดกันอยู่
          นอกจากการทำให้ผู้ป่วยหลับ และไม่รู้สึกเจ็บปวดระหว่างถอนฟัน ผ่าตัด หรือขณะคลอดบุตรแล้ว ก็ยังมีผู้พยายามคิดหาวิธีอื่นที่ผู้ป่วยไม่ต้องหลับแต่ไม่เจ็บปวดขณะทำการผ่าตัด ซึ่งคาร์ล ลุดวิก ชไลค์ (Karl Ludwig Schleich) ทำสำเร็จโดยการฉีดยาชาเฉพาะที่ในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๑  ไบเออร์ (Bier) ก็เป็นคนแรกที่ฉีดยาเข้าช่องไขสันหลังทำให้เกิดการชาครึ่งล่างของร่างกายสำเร็จ ต่อจากนั้นมาการใช้ยาชาโปรเคน (procaine) และโคเคน (cocaine) ก็ทำกันเรื่อยมา ปัจจุบันมียาชาตัวใหม่ๆ ที่มีคุณสมบัติที่ดีและเหมาะสมที่จะใช้กับผู้ป่วยหลายตัว เช่น ไลโดเคน บิวปิวาเคน คลอโรโปรเคน เททระเคนเมปิวาเคน และเอติโดเคน(lidocaine,bupivacaine, chloroprocaine,tetracaine, mepivacaine และ etidocaine) เป็นต้น
          การให้ยาฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำนั้นเริ่มต้นจากปี พ.ศ.๒๔๔๖ โดย เอมิล ฟิสเชอร์ (Emil Fischer, ค.ศ. ๑๘๕๒ - ๑๙๑๙  ชาวเยอรมัน) ได้สังเคราะห์ยานอนหลับ บาร์บิทูเรท (barbiturate)ตัวแรกขึ้นมาคือ บาร์บิโทน หรือ เวอโรนัล (barbitone or veronal)ต่อมา เปอร์นอกตอน (Pernocton) ก็ได้แนะนำให้ใช้ยานอนหลับนี้เป็นยานำให้หลับก่อน (Induction of anesthesia) ซึ่งปัจจุบันนี้ เราก็ใช้ไทโอบาร์บิทูเรท (thiobarbiturate) ซึ่งมีการออกฤทธิ์ที่เร็วมากเป็น
ตัวยานำสลบก่อน
          จากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงมีการค้นพบยาดมสลบตัวใหม่ๆ ซึ่งมีคุณสมบัติและคุณภาพดีกว่าและปลอดภัยกว่ายาตัวเก่า ยาที่กล่าวนี้ได้แก่ เมทอกไซฟลูเรน (methoxyflurane) ผลิตขึ้นโดยลาร์เซน (Larsen) ในปี พ.ศ. ๒๕๐๑  ฟลูรอกเซน (fluroxene) สังเคราะห์ได้โดย แกรนทซ์ (Krantz)พ.ศ. ๒๔๙๗ ฮาโลเทน (halothane) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ถูกสังเคราะห์ขึ้นโดยซักคลิง (Suckling) ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๔๙๙  ต่อมาปี  พ.ศ. ๒๕๐๓ เทอร์เรลล์ (Terrell)ก็สังเคราะห์ เอนฟลูเรน (enflurane) ขึ้นมาเป็นที่นิยมใช้พอๆ กับฮาโลเทน และหลังสุดคือปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ยาดมสลบ ไอโซฟลูเรน (isoflurane) ก็ถูกสังเคราะห์ขึ้นมา
           ในประเทศไทย การดมยาในสมัยแรกเราใช้อีเทอร์ และคลอโรฟอร์ม ต่อมาเมื่อมียาตัวใหม่ที่ออกฤทธิ์เร็วกว่า ดีกว่ามีผลแทรกซ้อนเกิดขึ้นน้อยกว่าก็ได้นำมาใช้แทน ยาเหล่านั้น มีทั้งยาให้ดมสลบ เช่น ฮาโลเทน ใช้ร่วมกับ ไนทรัสออกไซด์ ยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เช่น ไทโอเพนโทน วาเลียม มอร์ฟีน เฟนตานีล (thiopentone, valium, morphine, fentanyl) ใช้ร่วมกับยาหย่อนกล้ามเนื้อ และในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการให้ยาชาเฉพาะที่ก็ใช้ยาชาไลโดเคน และ บิวปิวาเคน ซึ่งได้ผลดี

มีอยู่ ๒ วิธี คือ

          ๑. แบบหยด จะใช้อีเทอร์ เป็นยาดมสลบ อุปกรณ์ที่ต้องมีคือ หน้ากาก (mask) ซึ่งมีผ้ากอซ (gauze) หุ้มไว้ประมาณ ๔-๕ ชั้น และขวดยาอีเทอร์ สำหรับหยดลงบนหน้ากากให้ผู้ป่วย สำหรับใช้กับเด็กซึ่งทำผ่าตัดสั้นๆ ไม่เหมาะที่จะใช้กับผู้ใหญ่ เพราะจะต้องใช้เวลานานที่จะทำให้หลับ

          ข้อเสียของวิธีนี้คือ 
          (๑) ทำให้ยาสลบกระจายฟุ้งทั่วห้อง บุคคลที่อยู่ในห้องจะต้องสูดเอายาสลบเข้าไปด้วย
          (๒) ผู้ถูกดมยาสลบโดยวิธีนี้จะสูญเสียความร้อนออกจากร่างกายมากถึง ๓๐๐ แคลอรีต่อเวลา ๑ นาที
          (๓) ทำให้มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในตัวผู้ป่วยได้ ดังนั้นวิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบันนี้

          ๒. แบบใช้เครื่องดมยาสลบ จากเครื่องดมยาสลบ เราสามารถควบคุมจำนวนออกซิเจน ก๊าซไนทรัสออกไซด์ และไอระเหย (vapor) ของยาดมสลบตัวอื่นๆ ได้ ในระดับที่จะทำให้ผู้ป่วยหลับตามที่เราต้องการ มีท่อยางต่อออกจากเครื่องดมยาสลบนำออกซิเจนและยาดมสลบที่เป็นก๊าซหรือไอระเหยไปสู่คนไข้ลักษณะท่อยางที่ใช้แตกต่างกันในเด็กและผู้ใหญ่ คือ ในเด็กเล็กจะมีแค่ ๑ ท่อ เรียกระบบนี้ว่า นอนรีบรีทิง (non-rebreathing) ส่วนในผู้ใหญ่จะมีท่อต่อจากเครื่องดมยานำเอายาสลบและออกซิเจนไปสู่ผู้ป่วยตอนหายใจเข้า และลมหายใจออกก็จะกลับออกทางท่อหายใจออกเข้าไปสู่ภาชนะที่มีโซดาไลม์ (sodalime) สำหรับดูดเอาคาร์บอนไดออกไซด์ ออกจากลมหายใจออก อากาศดีและยาดมสลบจะกลับเข้าผู้ป่วยทางท่อหายใจเข้าอีก ก๊าซที่ผู้ป่วยหายใจเข้าและออกนี้จะไม่มาผสมกันเพราะมีลิ้นปิดเปิด (valve) ซึ่งยอมให้ก๊าซผ่านไปได้ทางเดียว (one way)
 
          การใช้เครื่องดมยานี้มีข้อดีคือ

          (๑) สะดวก
          (๒) สามารถควบคุมระดับการดมยาสลบให้ตื้นหรือลึกได้ตามความต้องการ โดยการเปิดก๊าซให้ออกได้ตามความเข้มข้นที่ต้องการ
          (๓) สามารถควบคุมการหายใจของผู้ป่วยระหว่างดมยาสลบไม่ให้มีคาร์บอนไดออกไซด์คั่ง และ 
          (๔) อากาศเสียหรือก๊าซ ที่ออกมาทางลมหายใจออกของผู้ป่วยก็สามารถต่อท่อออกไปทิ้งข้างนอกได้ ข้อเสียของวิธีนี้ก็คือเครื่องดมยาราคาแพงมาก

ประวัติของการดมยาสลบ, ประวัติของการดมยาสลบ หมายถึง, ประวัติของการดมยาสลบ คือ, ประวัติของการดมยาสลบ ความหมาย, ประวัติของการดมยาสลบ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 8

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu