ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีดินและความชุ่มชื้นที่เหมาะแก่การปลูกยางพารา ได้เริ่มปลูกสร้างสวนยางพาราตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๔๔-๒๔๔๕ และได้ปลูกเพิ่มขึ้น ๆ เกือบทุกปี จนบัดนี้ประเทศไทยมีเนื้อที่ปลูกยางเป็นจำนวนประมาณ ๗.๗-๘ ล้านไร่ สามารถผลิตยางออกจำหน่ายได้มากเป็นอันดับ ๓ ของโลก ในปัจจุบันมีปลูกอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ต่อไปนี้
เนื้อที่ปลูกยางในจังหวัดต่างๆ
จังหวัด
ไร่
๑. ระยอง๒. จันทบุรี
๓. ตราด
๒๙๖,๗๒๒
๒๙๒,๔๔๓
๑๗๖,๒๕๒
รวมด้านตะวันออก
๗๖๕,๔๒๒
๔. ชุมพร๕. ระนอง
๖. พังงา
๗. ภูเก็ต
๘. สุราษฎร์ธานี
๙. นครศรีธรรมราช
๑๐. กระบี่
๑๑. ตรัง
๑๒. พัทลุง
๑๓. สงขลา
๑๔. สตูล
๑๕. ปัตตานี
๑๖. ยะลา
๑๗. นราธิวาส
๕๓,๓๑๔
๙,๕๘๓
๓๖๘,๓๙๗
๑๑๑,๒๙๙
๖๓๓,๓๒๗
๑,๑๕๕,๘๕๒
๔๘๘,๙๐๗
๘๒๗,๗๗๙
๔๐๐,๖๒๕
๑,๒๑๓,๒๓๑
๙๔,๕๐๕
๒๕๓,๙๐๓
๗๕๖,๑๔๕
๖๒๓,๘๗๒
รวมภาคใต้
๖,๙๙๐,๗๔๑
รวมทั้งสิ้น
๗,๗๕๖,๑๖๓
(จากกองการยาง กรมวิชาการเกษตร เป็นเนื้อที่ที่คำนวณจากภาพถ่ายทางอากาศ กองการยาง คำนวณเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔)
สวนยางพาราของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นยางพันธุ์เลว ปลูกด้วยเมล็ด เก็บเมล็ดจากใต้ต้นเอาไปปลูกกันต่อ ๆ ไป โดยไม่มีการคัดเลือก เนื้อที่๑ ปลูกมากแต่ได้ผลิตผลน้อยมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่เขาพยายามปรับปรุงคัดเลือกปลูกแต่ต้นยางที่ให้น้ำยางมาก ๆ เท่านั้น จำนวนยางพาราที่ประเทศไทยผลิตออกจำหน่ายไปต่างประเทศ มีดังนี้จำนวนส่งออกจำหน่ายต่างประเทศ (เมตริกตัน)๒
ปี พ.ศ. ๒๔๕๓
ปี พ.ศ. ๒๔๖๓
ปี พ.ศ. ๒๔๗๓
ปี พ.ศ. ๒๔๘๓
ปี พ.ศ. ๒๔๙๓
ปี พ.ศ. ๒๕๐๓
ปี พ.ศ. ๒๕๑๓
ปี พ.ศ. ๒๕๑๔
ปี พ.ศ. ๒๕๑๕
ปี พ.ศ. ๒๕๑๖
ปี พ.ศ. ๒๕๑๗
๑๓.๑๖
๓๒๑.๒๖
๔,๔๓๐,๓๑
๔๕,๒๒๒.๖๖
๑๑๔,๐๓๔.๙๔
๑๖๙,๘๔๘.๓๔
๒๗๙,๑๖๓.๑๑
๓๐๗,๓๒๓.๕๒
๓๒๔,๔๔๓.๑๙
๓๖๘,๒๐๓.๗๓
๓๖๕,๑๘๘.๐๐
๑ พ.ศ. ๒๕๒๖-๒๗ ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกยางประมาณ ๑๐ ล้านไร่ ผลิตยางได้ ปีละประมาณ ๕๖๐,๐๐๐ เมตริกตัน หรือ ๕๖๐ ล้านกิโลกรัม ส่งออกจำหน่ายยังต่างประเทศได้เงินปีละประมาณ ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท
๒ พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๖ ส่งยางออกจำหน่ายได้ ๕๔๖,๖๘๙ และ ๕๕๒,๔๘๕ เมตริกตันตามลำดับ