คือ ยางพาราจะทำให้อ่อน ให้นุ่ม ยืดหยุ่น หรือแข็งถึงขนาดใช้แทนโลหะบางชนิดก็ได้ เก็บน้ำได้ อัดลมไว้ได้ ไม่รั่ว และยังเป็นฉนวนไฟฟ้าอีกด้วย เนื่องจากยางพาราใช้ทำประโยชน์ได้มากมายหลายอย่าง ความต้องการที่ใช้ยางเมื่อเกือบหนึ่งร้อยปีมาแล้วจึงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยมา แต่จำนวนยางพารารวมทั้งยางอื่น ๆ ที่จะกรีดเก็บเอามาจากป่าในครั้งนั้น มีทีท่าว่าจะเพิ่มขึ้นได้ยาก เกรงกันว่าต่อไปจะขาดแคลนลง และประเทศต่าง ๆ ที่มียางก็คงจะไม่จำหน่ายให้หรือไม่ก็คงจำหน่ายในราคาแพง ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๙๐-๒๔๒๐ หรือประมาณ ๑๐๐ ปีมานี้ จึงได้มีการพยายามที่จะหาทางปลูกต้นยางให้มากขึ้น ในที่สุดได้มีการนำเมล็ดต้นยางพาราจากลุ่มน้ำอะเมซอนมาปลูกในทวีปเอเชีย ในแหล่งที่มีดิน ฝน และความชื้นใกล้เคียงกับถิ่นเดิมของต้นยางพารา คือ แผ่นดินที่อยู่ในระหว่างเส้นขนานที่ ๒๘ องศาเหนือ และ ๒๘ องศาใต้ ผู้ที่ได้รับเกียรติในการนำเมล็ดพันธุ์ยางพารามาจากลุ่มน้ำอะเมซอนอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๙ เป็นจำนวนถึง ๗๐,๐๐๐ เมล็ด คือ มร. เฮนรี วิคแฮม ซึ่งต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์ "เซอร์" (Sir Henry A. Wickham) เมล็ดยางจำนวนนี้ได้ส่งไปเพาะที่อุทยานคิว (Royal Botanic Gardens, Kew) ในกรุงลอนดอน ได้เมล็ดงอกและชำไว้ ประมาณ ๒,๐๐๐ ต้น ได้ส่งมายังประเทศศรีลังกาในปี พ.ศ. ๒๔๑๙ ส่วนมากตายหมด ในปี พ.ศ. ๒๔๒๐ ได้ส่งมาที่สิงคโปร์อีก ๒๒ ต้น จากจำนวน ๒๒ ต้นนี้ ได้แพร่พันธุ์เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ปรากฏว่า ในเอเชียมีการปลูกต้นยางพาราขึ้นเป็นจำนวนถึง ๑๐,๐๐๐ กว่าไร่ และในราวปี พ.ศ. ๒๔๔๔-๒๔๔๕ ประเทศไทยก็ได้เริ่มปลูกสร้างสวนยางขึ้นด้วยเช่นกัน ในปัจจุบันกล่าวได้ว่า แหล่งปลูกยางที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ เอเชีย ส่วนที่ประเทศบราซิลมีการปลูกสร้างเป็นส่วนน้อยมาก ในปัจจุบันประมาณว่า มีเนื้อที่สวนยางพาราอยู่ในประเทศต่าง ๆ ดังนี้ ประเทศในทวีปเอเชีย ไร่ มาเลเซีย ๑๒,๖๒๓,๔๕๐ รวม ๓๗,๐๗๕,๐๐๐ ประเทศในทวีปแอฟริกา ไร่ ไนจีเรีย ๑,๕๐๐,๐๐๐ รวม ๓,๐๖๓,๕๐๐ ประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ไร่ บราซิล ๑๒๕,๐๐๐ รวม ๑๕๙,๓๗๙ รวมเนื้อที่ปลูกยางทั้งสิ้น ๔๐,๒๙๖,๘๗๕
เนื้อที่ปลูกยางในประเทศต่างๆ
อินโดนีเซีย
ไทย
ศรีลังกา
อินเดีย
เวียดนาม
เขมร
อื่น ๆ
๑๒,๔๑๘,๗๕๐
๗,๗๐๐,๐๐๐
๑,๔๓๗,๕๐๐
๑,๒๖๘,๗๕๐
๖๒๕,๐๐๐
๓๐๐,๐๐๐
๗๐๑,๕๕๐
ไลบีเรีย
คองโก
แคมเมอรูน
ไอวอรีโคสท์
อื่น ๆ
๖๖๘,๗๕๐
๕๘๗,๕๐๐
๑๓๑,๘๗๕
๗๕,๐๐๐
๙๙,๓๗๕
อื่น ๆ
๓๔,๓๗๕
จากสวนยางทั้งหมดในประเทศต่าง ๆ ดังกล่าว ข้างต้นนั้น ในระยะนี้สามารถผลิตยางได้เพียงปีละประมาณ ๔ ล้านเมตริกตันเท่านั้น แต่โลกต้องการประมาณ ๗ ล้านตัน ในปัจจุบันนี้ จึงต้องใช้ยางเทียมซึ่งผลิตจากน้ำมันปิโตรเลียมเข้าช่วย ในจำนวนยางที่โลกใช้อยู่ปีละ ๑๑ ล้านตัน ในจำนวนนี้ประมาณร้อยละ ๖๐ ใช้ในการทำยางรถยนต์ ยางรถอื่น ๆ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการขนส่ง ถ้าไม่มียาง การขนส่งโดยเครื่องบินและรถยนต์จะไปได้อย่างไร เครื่องทุ่นแรง อีกหลายอย่างจะช่วยแรงมนุษย์ได้อย่างไร ในปัจจุบันนี้ ยางได้ขยายตัวเข้าไปช่วยในการไถนา ปลูกพืช และเก็บเกี่ยวในท้องไร่ท้องนา เข้าไปบุกเบิกเปิดป่า ช่วยทำถนนหนทางเชื่อมการคมนาคม เป็นการช่วยผลิตอาหารและช่วยขนส่งให้ด้วย สิ่งเหล่านี้ทุกประเทศในโลก รวมทั้งประเทศไทยยังต้องการอีกมาก เพราะ ทุกประเทศยังต้องพัฒนาต่อไปอีกเป็นร้อย ๆ ปี ในอนาคตโลกจะต้องใช้ยางเทียมมากยิ่งขึ้น เพราะยางธรรมชาติซึ่งจะได้จากต้นยางพารานั้นเพิ่มปริมาณได้ช้า ไม่ทันกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น ๑ อัตราการใช้ยางของโลกได้เพิ่มมากขึ้น ๑ เท่าตัวทุก ๆ ระยะ ๑๐ ปี ฉะนั้น ยางธรรมชาติจากต้นยางพาราไม่ว่าจะผลิตออกมาเท่าใดก็ต้องขายได้หมดทุกปี ดังปรากฏตามสถิติการใช้ยางของโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๓ (ค.ศ. ๑๙๐๐) มีดังต่อไปนี้
ขาดตาราง
๑ พ.ศ. ๒๕๒๗-๒๘ โลกต้องการใช้ยางปีละประมาณ ๑๒-๑๓ ล้านเมตริกตัน แต่ประเทศผู้ปลูกยางผลิตยางธรรมชาติได้เพียงปีละประมาณ ๔ ล้านเมตริกตัน นอกจากนี้ต้องใช้ยางเทียม
ยางพารามีคุณสมบัติพิเศษกว่าวัตถุธรรมชาติ
ยางพารามีคุณสมบัติพิเศษกว่าวัตถุธรรมชาติ, ยางพารามีคุณสมบัติพิเศษกว่าวัตถุธรรมชาติ หมายถึง, ยางพารามีคุณสมบัติพิเศษกว่าวัตถุธรรมชาติ คือ, ยางพารามีคุณสมบัติพิเศษกว่าวัตถุธรรมชาติ ความหมาย, ยางพารามีคุณสมบัติพิเศษกว่าวัตถุธรรมชาติ คืออะไร
ยางพารามีคุณสมบัติพิเศษกว่าวัตถุธรรมชาติ, ยางพารามีคุณสมบัติพิเศษกว่าวัตถุธรรมชาติ หมายถึง, ยางพารามีคุณสมบัติพิเศษกว่าวัตถุธรรมชาติ คือ, ยางพารามีคุณสมบัติพิเศษกว่าวัตถุธรรมชาติ ความหมาย, ยางพารามีคุณสมบัติพิเศษกว่าวัตถุธรรมชาติ คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!