ปฏิกิริยาการเรืองแสงในสิ่งมีชิวิต
ปฏิกิริยาการเรืองแสงในสิ่งมีชิวิต, ปฏิกิริยาการเรืองแสงในสิ่งมีชิวิต หมายถึง, ปฏิกิริยาการเรืองแสงในสิ่งมีชิวิต คือ, ปฏิกิริยาการเรืองแสงในสิ่งมีชิวิต ความหมาย, ปฏิกิริยาการเรืองแสงในสิ่งมีชิวิต คืออะไร
ในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่เรืองแสงชนิดต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น สิ่งที่มีผู้พยายามศึกษา ปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์เป็นชนิดแรกคือหอยสองกาบ โฟลาส แดคติลุส (Pholas dactylus)ผู้ทดลองนำมาสกัดในน้ำเย็น สารละลายที่ได้จากการสกัดจะเรืองแสงอยู่ชั่วครู่แล้วก็หยุดแต่สารละลายที่ได้จากการสกัดด้วยน้ำร้อนจะไม่เรืองแสง แต่เมื่อตั้งทิ้งไว้ให้เย็นและนำไปผสมกับสารละลายแรกที่ดับแล้ว จะกลับมีการเรืองแสงขึ้นมาใหม่
ผู้ทำการวิจัยเรื่องนี้ คือ ดูบัวส์ (Dubois) ได้สรุปผลของเขาว่าในสารละลายที่สกัด ด้วยน้ำร้อนนั้น ความร้อนได้ทำลายสารชนิดหนึ่งไป (ก) ส่วนสารอีกชนิดหนึ่ง (ข) ไม่ถูกทำลายโดยความร้อน ดังนั้น ในสารละลายที่สกัดด้วยน้ำเย็นซึ่งมีการผลิตแสงเป็นผลจากปฏิกิริยาระหว่าง (ก) และ (ข) ซึ่ง (ข) จะค่อยๆ หมดไป เมื่อนำสารละลายที่สกัดด้วยน้ำร้อนมาผสมด้วยภายหลัง (ก) ซึ่งยังคงอยู่โดยไม่หมดไปขณะทำปฏิกิริยา ก็จะเข้าทำปฏิกิริยากับ (ข) ที่เติมมาใหม่ เกิดการผลิตแสงได้ใหม่
ก + ข ในเซลล์ → เย็น ก + ข (แสง) → ก (ไม่มีแสง)
ก + ข ในเซลล์ → ร้อน ก + ข (ไม่มีแสง) → ก (แสง)
ดูบัวส์เรียก (ข) ว่า ลูซิเฟอริน (luciferin) และ (ก) ว่า ลูซิเฟอรัส (luciferous)ตามชื่อเทพบุตรแห่งแสง คือ ลูซิเฟอร์ (Lucifer) ลูซิเฟอริน คือ สารที่ทำหน้าที่เป็นวัตถุดิบ ส่วนลูซิเฟอรัสเป็นสารเอนไซม์ (enzyme) ซึ่งถูกทำลายง่ายด้วยความร้อน สารเอ็น-ไซม์นี้ทำปฏิกิริยากับวัตถุดิบ (ลูซิเฟอริน) ทำให้เกิดแสง
ลูซิเฟอริน (ข) + ลูซิเฟอรัส (ก) → แสง
ปฏิกิริยาการเรืองแสงในสิ่งมีชิวิต, ปฏิกิริยาการเรืองแสงในสิ่งมีชิวิต หมายถึง, ปฏิกิริยาการเรืองแสงในสิ่งมีชิวิต คือ, ปฏิกิริยาการเรืองแสงในสิ่งมีชิวิต ความหมาย, ปฏิกิริยาการเรืองแสงในสิ่งมีชิวิต คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!