เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ ขึ้นในยุโรปใน พ.ศ. ๒๔๕๗ นั้น ประเทศไทยยังคงยึดมั่นอยู่ในความเป็นกลาง แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสังเกตความเคลื่อนไหวของคู่สงครามอย่างใกล้ชิด การสงครามได้รุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ทรงเห็นว่าฝ่ายเยอรมนีเป็นฝ่ายรุกราน จึงทรงตัดสินพระทัยประกาศสงครามกับเยอรมนี และออสเตรีย-ฮังการี เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ แล้วประกาศเรียกพลทหารอาสาสำหรับกองบิน และกองยานยนต์ทหารบกเพื่อส่งไปช่วยสงครามในยุโรป การส่งทหารไปรบครั้งนี้นับว่าเป็นประโยชน์เพราะเท่ากับได้ไปเรียนรู้วิชาการทางเทคนิคการรบและการช่างในสมรภูมิจริงๆ เมื่อเสร็จสงครามสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะ ประเทศไทยได้ส่งผู้แทนเข้าประชุม ณ พระราชวังแวร์ซายส์ด้วย ผลพลอยได้จากการเข้าสงครามนี้ก็คือสัญญาต่างๆ ที่ไทยทำกับเยอรมนี และออสเตรีย-ฮังการีย่อมสิ้นสุดลงตั้งแต่ไทยประกาศสงครามกับประเทศนั้น และไทยก็ได้พยายามขอเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาฉบับเก่าซึ่งทำไว้กับอังกฤษ ฝรั่งเศส และชาติอื่นๆ แต่ก็ประสบความยากลำบากอย่างมาก อาศัยที่ไทยได้ความช่วยเหลือจาก ดร. ฟรานซิส บี แซยร์ (Dr. Francis B. Sayre) ชาวอเมริกันซึ่งเคยเป็นที่ปรึกษาต่างประเทศ จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยากัลยาณไมตรีในที่สุดประเทศต่างๆ ๑๓ ประเทศรวมทั้งอังกฤษตามสนธิสัญญา พ.ศ. ๒๔๖๘ และฝรั่งเศสตามสนธสัญญา พ.ศ. ๒๔๖๗ ตกลงยอมแก้ไขสัญญาโดยมีเงื่อนไขบางประการเช่น จะยอมยกเลิกอำนาจศาลกงสุลเมื่อไทยมีประมวลกฎหมายครบถ้วน และยอมให้อิสรภาพในการเก็บภาษีอากรยกเว้นบางอย่างที่อังกฤษขอลดหย่อนต่อไปอีก ๑๐ ปี เช่นภาษีสินค้าฝ้าย และเหล็ก
ไทยพยายามเร่งชำระประมวลกฎหมายต่างๆ ต่อมาจนแล้วเสร็จ และเปิดการเจรจาอีกครั้งหนึ่ง ในที่สุดประเทศต่างๆ ก็ยอมทำสัญญาใหม่กับไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ไทยได้อิสรภาพทางอำนาจศาลและภาษีอากรคืนมาโดยสมบูรณ์
ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ ๑
ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ ๑, ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ ๑ หมายถึง, ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ ๑ คือ, ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ ๑ ความหมาย, ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ ๑ คืออะไร
ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ ๑, ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ ๑ หมายถึง, ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ ๑ คือ, ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ ๑ ความหมาย, ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ ๑ คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!