ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

โรคจากสัตว์เซลล์เดียว, โรคจากสัตว์เซลล์เดียว หมายถึง, โรคจากสัตว์เซลล์เดียว คือ, โรคจากสัตว์เซลล์เดียว ความหมาย, โรคจากสัตว์เซลล์เดียว คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
โรคจากสัตว์เซลล์เดียว

         สัตว์เซลล์เดียว  (protozoa)  มีขนาดเล็กสามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้นไปได้เรื่อยๆ มีอยู่หลายชนิดที่ก่อให้เกิดโรคในคน ได้แก่
         ๑. อะมีบา (amoeba) เป็นสัตว์เซลล์เดียวที่เคลื่อนไหวโดยการยืดผนังของเซลล์ไปข้างหน้า ชนิดที่พบบ่อยได้แก่ เอ็นตามีบา ฮิสโทไลติกา ซึ่งก่อให้เกิดโรคบิดอะมีบา
         ๒. แฟลเจลเลต (flagellate) เป็นสัตว์เซลล์เดียวที่มีแส้หรือแฟลเจลลัม (flagellum) อยู่ที่ส่วนหัวใช้ช่วยในการเคลื่อนไหว ที่พบบ่อยๆ ได้แก่ จิอาร์เดีย แลมเบลีย (Giardia lamblia) ทริโคโมนัส วาจินาลิส (Trichomonas vaginalis) เป็นต้น
         ๓. ซิลิเอต (ciliate) ชนิดนี้มีขน (cilia) อยู่รอบๆ ตัว เช่น บาแลนทิเดียม โคไล (Balantidium coli)
         ๔. สปอโรซัว  (sporozoa) มีทั้งชนิดที่อยู่ในเลือด เช่น เชื้อไข้จับสั่นหรือเชื้อพลาสโมเดียม (Plasmodium)  และชนิดที่อยู่ในอวัยวะและเนื้อเยื่ออื่นๆ เช่น ท็อกโซพลาสมา (Toxoplasma)
         ๕. ฮีโมแฟลเจลเลต (hemoflagellate) ชนิดมีแส้และอาศัยในเลือด ได้แก่ เชื้อทรีพาโนโซมา (Trypanosoma) ซึ่งก่อให้เกิดโรคไข้หลับแอฟริกัน  (African sleeping  sickness)  โรคชากัส (Chagas'disease)และ เชื้อลิชมาเนีย (Leishmania) เป็นต้น สำหรับโรคจากสัตว์เซลล์เดียวที่พบบ่อยๆในบ้านเราได้แก่ โรคบิดอะมีบา และมาลาเรีย

          เกิดจากเชื้อพลาสโมเดียม ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน ๔  ชนิด  คือ พลาสโมเดียมไวแวกซ์ (Plasmodium vivax) พลาสโมเดียมฟัลซิพารุม (Plasmodium falciparum) พลาสโมเดียมโอวาเล (Plasmodium  ovale)  และพลาสโมเดียมมาลาเรียอี (Plasmodium malariae) ในประเทศไทย พบมากเพียง ๒ ชนิดแรก เท่านั้น 
          เชื้อมาลาเรียเป็นปรสิตเซลล์เดียว  อาศัยอยู่ในต่อมน้ำลายของยุงก้นปล่อง (anopheles) เมื่อยุงกัดคนก็จะปล่อยเชื้อมาลาเรีย ซึ่งอยู่ในระยะที่เรียกว่า สปอโรซอยต์ (sporozoite) เข้าสู่คน สปอโรซอยต์จะหายไป จากเลือดอย่างรวดเร็ว  โดยไปเจริญเติบโตในเซลล์ของตับ ในระยะเวลา ๕-๗  วัน จะแบ่งตัวออกเป็นเมอโรซอยต์ (merozoite) มากมาย เป็นผลให้เซลล์ของตับแตก  ปล่อยเมอโรซอยต์เข้าสู่กระแสเลือด และเข้าไปเจริญเติบโตในเม็ดเลือดแดง ระยะที่เชื้ออาศัยอยู่ในตับ เรียกว่า พีอีฟอร์ม (pre-erythrocytic  form) ส่วนระยะที่อยู่ในเม็ดเลือดแดงเรียกว่า อีฟอร์ม (erythrocytic form)  เมอโรซอยต์จะมีขนาดโตขึ้น  เรียกว่า โทรโฟซอยด์ (trophozoite) แล้วแบ่งตัวเป็นสคิซอนต์ (schizont) ได้หลายตัว  เม็ดเลือดแดงจะแตกปล่อยเชื้อเข้ากระแสเลือดและจู่โจมเม็ดเลือดแดงอื่นๆ ต่อไป 
          โทรโฟซอยต์บางตัวจะเจริญไปเป็นกามีโทไซต์ (gametocyte) ซึ่งมีทั้งเพศผู้และเพศเมีย   เมื่อยุงกัดคนจะได้รับเชื้อกามีต  (gamete)  เข้าไปในกระเพาะอาหารกามีตทั้งสองเพศจะผสมพันธุ์กันแล้วเข้าไปอยู่ในผนังของกระเพาะอาหารของยุง  เจริญเติบโตแบ่งตัวกลายเป็นซีสต์ใหญ่ ซึ่งมีสปอโรซอยต์อยู่เป็นจำนวนมากซีสต์จะแตกออกปล่อยสปอโรซอยต์กระจายไปทั่วตัวยุงซึ่งส่วนใหญ่จะไปอยู่ที่ต่อมน้ำลายเมื่อยุงกัดคน จะปล่อยสปอโรซอยต์เข้าสู่กระแสเลือดของคนต่อไป  วงจรชีวิตของเชื้อในยุงนี้กินเวลาประมาณ ๗-๒๐ วัน 
          เชื้อมาลาเรียชนิดพลาสโมเดียม ไวแวกซ์ เมื่อออกจากเซลล์ของตับแล้ว  บางส่วนจะเข้าสู่เม็ดเลือดแดง และบางส่วนจะวกกลับเข้าสู่เซลล์ของตับอีก  แล้วเจริญเติบโตและแบ่งตัวอยู่  ๑-๒  เดือน เซลล์ของตับก็จะแตกปล่อยเชื้อเข้าสู่เม็ดเลือดแดงได้อีก  ส่วนพลาสโมเดียม  ฟัลซีพารุมนัน เมื่อออกมาจากตับแล้วจะไม่วกกลับเข้าสู่ตับอีก
          ยุงก้นปล่องที่เป็นตัวนำเชื้อมาลาเรียในประเทศไทยนั้นมีอยู่  ๔ ชนิด คือ อะโนฟีลีส มินิมุส (Anopheles minimus) อะโนฟีลีส บาลาบาเซนซิส (Anopheles  balabacensis)  อะโนฟีลิส  มาคูลาทุส  (Anopheles  mculatus) และอะโนฟีลีส ซันไดคุส (Anopheles sundaicus) 
          ผู้ที่ได้รับเชื้อมาลาเรียโดยยุงกันปล่องที่มีเชื้อกัดภายใน ๑๐-๑๔ วัน จะเริ่มมีอาการไม่สบาย  เช่น  ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ซึ่งเป็นอาการเหมือนไข้หวัดใหญ่มาก  ต่อมาจะเริ่มมีอาการไข้จับสั่น ซึ่งมีระยะต่างๆ คือ ระยะหนาว ระยะร้อน และระยะเหงื่อออก ภาวะแทรกซ้อนอาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยมาลาเรียฟัลซิพารุม เช่น มาลาเรียขึ้นสมอง มาลาเรียลงตับมาลาเรียลงไต มาลาเรียลงลำไส้ ไข้น้ำดำ (black water fever) และช็อก  เป็นต้น
          สำหรับการป้องกัน ควรนอนกางมุ้ง และให้ความร่วมมือกับหน่วยควบคุมมาลาเรีย ฉีดดีดีที ตามใต้ถุนบ้านและฝาบ้าน เพราะเป็นวิธีเดียวที่จะกำจัดยุงก้นปล่องได้  นอกจากนี้ก่อนจะเดินทางเข้าไปในเขตที่มีไข้มาลาเรีย ควรกินยาป้องกันมาลาเรียตลอดเวลาที่อยู่ และเมื่อออกมาแล้ว ๘ สัปดาห์

โรคจากสัตว์เซลล์เดียว, โรคจากสัตว์เซลล์เดียว หมายถึง, โรคจากสัตว์เซลล์เดียว คือ, โรคจากสัตว์เซลล์เดียว ความหมาย, โรคจากสัตว์เซลล์เดียว คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 10

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu