ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

พันธุ์ไม้ป่าที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ, พันธุ์ไม้ป่าที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ หมายถึง, พันธุ์ไม้ป่าที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ คือ, พันธุ์ไม้ป่าที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ความหมาย, พันธุ์ไม้ป่าที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
พันธุ์ไม้ป่าที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ

          เนื่องจากพันธุ์ไม้ป่าต่างๆ นั้นมีคุณค่าทางเศรษฐกิจเป็นอันมาก คนเราได้นำเนื้อไม้มาใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน และเครื่องใช้ต่างๆ นอกจากนั้นยังมีไม้บางชนิดให้ประโยชน์อย่างอื่นที่สูงกว่าเนื้อไม้  เช่น น้ำมัน  ชัน หรือให้ผลที่เป็นสมุนไพรใช้แก้โรคติดต่อร้ายแรงบางโรคได้  ดังนั้นทางการจึงต้องป้องกันมิให้สูญพันธุ์โดยกำหนดไม้บางชนิดให้เป็นไม้หวงห้ามไม้หวงห้ามที่ทางการกำหนดไว้ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
          ๑. ไม้หวงห้ามประเภท ก.  
          ๒. ไม้หวงห้ามประเภท  ข.           ๒. ไม้หวงห้ามประเภท  ข.  ได้แก่พันธุ์ไม้บางชนิดที่ทางการ ได้พิจารณาเห็นว่าเป็นไม้ชนิดดีมีค่าหายาก หรือ มีคุณค่าพิเศษอย่างอื่น  เช่นเปลือกหรือเนื้อไม้มีกลิ่นหอม เป็นสมุนไพรที่หายาก หรือเนื้อไม้มีน้ำมัน หรือ ชัน  ซึ่งใช้ประโยชน์ในการอุตสาหกรรมที่จะหาของอื่นมา ใช้แทนไม่ได้ หรือ มีผลที่เป็นสมุนไพร ใช้แก้โรคติดต่อร้ายแรงบางโรคได้ ทางการจะห้ามมิให้ตัดฟัน โค่น ล้ม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษ 

          พันธุ์ไม้ที่ใช้ยางนำมากลั่นเป็นน้ำมันและชันก็คือ 
          สนเขา  เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ อยู่ใน สกุลไพนัส (Pinus) ต้นสูง ๒๕-๓๐ เมตร ใบรูปเข็ม มีอยู่ด้วยกัน ๒ ชนิด คือ  
                    สนสองใบ (Pinus merkusii)
                    สนสามใบ (Pinus khasya) 

          ที่มีบริมาณน้อยและหายากได้แก่ 
          พญาไม้ ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ อยู่ในสกุลพอ โดคาร์ปัส (Podocarpus) ขึ้นตามป่าดิบเขา มีอยู่ ๓  ชนิด คือ 
                    พญามะขามป้อมดง (Podocarpus imbricatus) ใบเล็กละเอียด บางทีเป็นเกล็ดแหลม 
                    ขุนไม้  (Podocarpus wallichii) ใบกว้าง สอบเรียวทางปลายและโคน
                    พญาไม้หรือซางจิง (Podocarpus neriifolia) ใบแคบขอบขนาน
          แปกลม (Colocedrus macrolepis) ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบสูง ๒๐-๒๕ เมตร  ใบเล็กอยู่ชิดติดกัน
เป็นแผงคล้ายใบสนแผง  ด้านล่างสีขาว ขึ้นตามป่าดิบเขา
          มะขามป้อมดง (Cephalotaxus griffithii)ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบสูง ๒๐-๒๕ เมตร ใบเล็กเรียวปลายแหลมเรียงกันอยู่สองข้าง ด้านล่างสีขาว ขึ้นตามป่าดิบ
          สามพันปี  (Dacrydium elatum) ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูง ๒๐-๒๕ เมตร ใบเรียวเล็ก ปลายใบแหลมเป็นเกล็ดเล็กๆ ขึ้นตามป่าดิบเขา ริมลำธาร
          กฤษณาหรือกระลำพัก เป็นไม้สกุลอะควิลาเรีย (Aquilaria) ซึ่งขึ้นตามป่าดิบ เรียกกันทั่วๆไปว่า กฤษณา มีอยู่ด้วยกันสองชนิด คือ Aquilaria crassna และ Aquilaria intergra พันธุ์ไม้สองชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกันมาก  ยากที่จะจำแนกออกจากกันได้ แต่พอจะสังเกตรู้ได้ว่าเป็นไม้ในสกุลนี้ คือ มีใบบาง เนื้อแน่น มีเส้นใบถี่ เปลือกสีเทา ลอก ออกได้ง่ายตามยาวของลำต้นและมีใยเหนียวมาก 
          หอม  หรือ สบ หรือ กะตุก (Altingia siamensis)ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูง ๒๐-๓๐ เมตร ขึ้นตามป่าดิบ ใบมีกลิ่นฉุนเหมือนการบูร เนื้อไม้มีกลิ่น
          หอมกระเบาใหญ่   (Hydnocarpus anthelminticus และ H.kurzii)  ไม้ยืนต้นสูง ๑๕-๒๐ เมตรไม่ผลัดใบ ขึ้นตามป่าดิบ ผลให้เมล็ดใช้สกัดน้ำมันทำยารักษาโรคเรื้อนได้ผลดี
          มะพอก หรือทะลอก หรือ มะมื่อ (Parinari annamense) ไม้ยืนต้นสูง ๑๕-๒๐ เมตร ไม่ผลัดใบ ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ผลให้เมล็ดใช้น้ำมันในอุตสาหกรรมเครื่องเขิน และกระดาษ
          รักใหญ่ (Melanorrhoea usitata และ M. laccifera) ไม้ยืนต้น  ผลัดใบ สูง ๑๕-๒๐ เมตร ขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้ง เปลือกให้ยางสีดำใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องเขิน
          นอกจากไม้หวงห้ามทั้งสองประเภทที่ยกตัวอย่างมาพอเป็นสังเขปนั้น ยังมีไม้อยู่อีก ๒ ชนิดที่กำหนดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ให้เป็นไม้หวงห้าม ชนิดพิเศษ คือ ไม้สัก และไม้ยางทุกชนิด ไม้ทั้งสองชนิดนี้ ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดก็ตามให้ถือว่าเป็นไม้หวงห้ามทั้งสิ้น การตัดฟันใช้สอยจะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เว้นแต่ในกรณีที่ได้มอบหมายให้เป็นอำนาจของอธิบดีกรมป่าไม้ หรือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
          ไม้สัก (Tectona  grandis) ไม้ยืนต้นผลัดใบสูง ๒๐-๓๐ เมตร ดอกสีขาว ออกเป็นช่อใหญ่ที่ปลายกิ่ง ผลกลมมีขนนุ่มปกคลุม และมีเปลือกบางๆ  หุ้มโดยรอบภายนอกอีกชั้นหนึ่ง เนื้อไม้สีน้ำตาลอมเหลือง ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ
          ไม้ยาง (Dipterocarpus spp.) ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูง ๓๐-๔๐ เมตร ดอกสีชมพูผลกลมปลายแหลม มีปีก ๒ ปีกใหญ่และปีกรูปหูนู ๓ ปีกเนื้อไม้สีน้ำตาล ขึ้นตามป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น  ไม้    ยางมีอยู่ด้วยกันมากชนิด ชนิดที่พบทั่วๆ ไป คือ
          ยางนา  (Dipterocarpus alatus)
          ยางพาย  (Dipterocarpus costatus)
          ยางแดง  (Dipterocarpus turbinatus)
          ยางมันหมู  (Dipterocarpus kerrii)
          ยางเสียน (Dipterocarpus gracilis)

พันธุ์ไม้ป่าที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ, พันธุ์ไม้ป่าที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ หมายถึง, พันธุ์ไม้ป่าที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ คือ, พันธุ์ไม้ป่าที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ความหมาย, พันธุ์ไม้ป่าที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 5

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu