ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การแปลความหมายภาพในรูปถ่ายทางอากาศ, การแปลความหมายภาพในรูปถ่ายทางอากาศ หมายถึง, การแปลความหมายภาพในรูปถ่ายทางอากาศ คือ, การแปลความหมายภาพในรูปถ่ายทางอากาศ ความหมาย, การแปลความหมายภาพในรูปถ่ายทางอากาศ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การแปลความหมายภาพในรูปถ่ายทางอากาศ

          การแปลความหมายภาพในรูปถ่ายทางอากาศ เป็นการแสดงลักษณะของวัตถุที่ปรากฏในรูปถ่ายทางอากาศ และหาความหมายหรือ ความสำคัญของวัตถุเหล่านั้น มีผู้นำวิธีการนี้ ไปใช้ในกิจการต่างๆ อย่างกว้างขวาง ศิลปะของการแปลความหมายภาพรายละเอียดนี้เริ่มเป็นที่รู้จักกันใน พ.ศ. ๒๔๘๑ (ค.ศ. ๑๙๓๘) ซึ่งยังไม่แพร่หลายนัก แม้กระทั่งสงครามโลกครั้งที่ ๒ เกิดขึ้นแล้วก็ตาม ก็ยังไม่มีผู้สนใจใช้ศิลปะแขนงนี้เท่าใดนัก จนเมื่ออังกฤษซึ่งประเทศแรก ที่ได้นำเอาเทคนิคการแปลความหมายนี้ไปใช้ในกิจการข่าวกรอง  โดยใช้รูปถ่ายทางอากาศหที่ตั้งฐานยิงจรวด วี ๒ ของเยอรมัน ซึ่งเป็นฝ่ายศัตรูได้บนชายฝั่งทะเลของประเทศฝรั่งเศส จึงได้มีผู้สนใจเริ่มนำไปใช้กันทั่วไป และได้มีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน 
          นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๕ (ค.ศ.๑๙๔๒) เป็นต้นมา จึงได้มีการนำการแปลความหมายภาพไปใช้ในกิจการอื่น นอกเหนือไปจากกิจการทางทหาร  เนื่องจากเทคนิคทางโฟโตแกรมเมตรีได้เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปและได้นำมาใช้กันมากที่สุด เพราะรูปถ่ายทางอากาศสามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการต่างๆ หลายโครงการ เช่น การกำหนดเขตที่ดิน เส้นทาง  การสำรวจแหล่งแร่ และการขุดค้นทางโบราณคดี เป็นต้น ทั้งนี้เพราะได้มีการพัฒนาทางเทคโนโลยีของเครื่องบิน กล้องถ่ายรูปทางอากาศ  และอุปกรณ์แสง (ทัศนศาสตร์) 
          รูปถ่ายทางอากาศสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมายหลายกิจการ  เช่น ในงานวิศวกรรม งานพัฒนาที่ดิน งานด้านโบราณคดี ดาราศาสตร์ ชีววิทยา การทำแผนที่บกแผนที่ทะเล การสำรวจทางพื้นดิน การแบ่งชนิดที่ดิน การสำรวจและการทำแผนที่ สมุทรศาสตร์ และอื่นๆ อีกมาก แม้แต่สิ่งที่เรา ไม่คาดคิดว่าจะทำได้ เช่น การควบคุมการจราจร และการเก็บภาษีที่ดิน เป็นต้น สำหรับกิจการทางทหารนั้น ได้มีการใช้รูปถ่ายเพื่อประเมินค่าข้อมูลจากข่าวกรอง เช่น การใช้เครื่องบินยู ๒ (U2) บินเหนือสหภาพโซเวียตเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ (ค.ศ.๑๙๖๐) หรือการค้นพบฐานยิงจรวดในคิวบาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ (ค.ศ. ๑๙๖๒) ความสนใจของมนุษย์ที่คิดส่งคนไปยังดวงจันทร์ การค้นหาความเร้นลับในจักรวาลเหล่านี้ล้วนใช้รูปถ่ายทางอากาศหรือภาพจากดาวเทียมในการสำรวจทั้งสิ้น นับได้ว่าท้องฟ้าอันไพศาลและโลกอันกว้างใหญ่นี้ไม่เป็นเขตจำกัดของมนุษย์อีกต่อไปแล้ว
          การแปลความหมายรายละเอียดภาพในรูปถ่ายทางอากาศนั้น ต้องอาศัยหลักการพิจารณาทั้งนี้เพราะคนเราสามารถเข้าใจลักษณะภูมิประเทศจากรูปถ่ายทางเฉียงได้ดี แต่ถ้าเป็นรูปถ่ายทางดิ่งแล้ว อาจจะเกิดความลังเลไม่แน่ใจขึ้นได้ เพราะการมองภาพจากรูปถ่ายแนวดิ่งก็เหมือนกับการมองลงมาจากเครื่องบินนั่นเอง ผู้แปลความหมายภาพได้จะต้องศึกษา ฝึกฝนและต้องฝึกหัดทาง ความคิดเช่นเดียวกับการฝึกหัดทางการมองภาพทรวดทรง หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณารายละเอียดในรูปถ่ายทางอากาศมีอยู่ด้วยกัน ๗ ประการคือ
          ๑. รูปร่าง รูปร่างของรายละเอียดในภูมิประเทศที่ปรากฏบนรูปถ่ายจะมีลักษณะเป็นภาพ แบนราบ รายละเอียดของวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นจะมีรูปร่างสม่ำเสมอเป็นระเบียบเป็นแนวตรง มีโค้งเรียบ ส่วนลักษณะรายละเอียดที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ จะมีรูปร่างไม่สม่ำเสมอ ไม่เป็นระเบียบ การที่รูปร่างของธรรมชาติแปลกแตกต่างกันนี้จะเป็นส่วนช่วยให้สามารถแปลความหมายรายละเอียดในรูปถ่ายได้
          ๒. ขนาด การพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับขนาดนี้ ต้องมีความรู้เรื่องความสัมพันธ์และสัมบูรณ์ของขนาด หากเราพิจารณาภาพ ของรายละเอียดในรูปถ่าย และรู้ขนาดที่แน่นอนของรายละเอียดที่ปรากฏจริงในภูมิประเทศแล้วเราก็สามารถหาขนาดของรายละเอียดอื่นๆ ได้โดยเปรียบเทียบกับขนาดของรายละเอียดที่ทราบแล้ว
          ๓. สี วัตถุที่มีสีต่างๆ กันจะมีคุณสมบัติการสะท้อนของแสงต่างกันด้วย  จึงทำให้การเห็นเงาหรือสีของวัตถุเปลี่ยนแปลงไปในรูปถ่ายเนื่องจากฟิล์มรูปถ่ายทางอากาศที่ใช้ส่วนมากเป็นฟิล์มชนิดธรรมดา ไม่ใช้ฟิล์มสี ดังนั้นสีของวัตถุต่างๆ จึงปรากฏเป็นสีเทาชนิดต่างๆ กัน โดยมีระดับของสีจากชนิดเกือบดำไปจนถึงสีขาว ลักษณะของสีเทาของรายละเอียดที่ปรากฏบนรูปถ่ายเรียกว่าสีของภาพ ความเข้มหรือความจางของสีของภาพจะขึ้นอยู่กับจำนวนแสงสว่างที่สะท้อนจากรายละเอียดในภูมิประเทศมายังกล้องถ่ายรูป รายละเอียด ใดให้ปริมาณการสะท้อนแสงมากจะมีลักษณะสีของภาพปรากฏค่อนข้างเป็นสีขาว หากรายละเอียดใดไม่มีอาการสะท้อนแสงก็จะมีสีของภาพเป็นสีดำ  ปริมาณการสะท้อนแสงนี้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างและชนิดของรายละเอียดที่ปรากฏในภูมิประเทศ และมุมสะท้อนของลำแสงที่พุ่งมายังกล้องถ่ายรูป
          ๔. รูปแบบ ลักษณะรายละเอียดในรูปถ่ายจะมีรูปแบบแตกต่างกัน  ระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติกับสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น การจัดต้นไม้ในสวน เมื่อเปรียบเทียบกับต้นไม้ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติแล้วจะเห็นความแตกต่างได้ชัดเจน
          ๕. เงา การพิจารณาเรื่องเงา นับว่าเป็นหลักเกณฑ์ที่สำคัญมากในการแปลความหมายรายละเอียดบนรูปถ่ายทางอากาศ การพิจารณารูปร่างของรายละเอียดให้ได้ผลดีจะพิจารณาจากเงาได้มากกว่าการพิจารณาจากสีหรือลวดลายทั้งนี้เนื่องจากว่าขนาดทางดิ่งที่แสดงด้วยเงานั้น  จะปรากฏให้เห็นเด่นชัดกว่าขนาดในทางราบที่แสดงด้วยภาพของรายละเอียด สีของภาพ รายละเอียดจะเปลี่ยนไปตามสภาพสิ่งแวดล้อม แต่เงาจะแสดงให้เห็นได้ชัดเจน
          ๖. ตำแหน่งในภูมิประเทศ การพิจารณารายละเอียดในภูมิประเทศ  บางครั้งอาจต้องพิจารณาจากความสูงสัมพันธ์ ลักษณะทางน้ำ เป็นตัวสำคัญอย่างหนึ่งที่ใช้พิจารณาลักษณะสภาพดิน หรือการเกิดพืชและพันธุ์ไม่ได้
          ๗. ความหยาบละเอียด ระดับความหยาบหรือความละเอียดของภาพในรูปถ่าย อาจใช้ ประโยชน์ได้ในการแปลความหมายภาพ ลักษณะความหยาบละเอียดนี้เมื่อคิดเท่ากับขนาดวัตถุให้พอดีแล้ว จะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับมาตราส่วนรูปถ่าย
          การแปลความหมายภาพนี้ แต่เดิมจะใช้หลักเกณฑ์ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเป็นข้อพิจารณาแต่ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีได้เจริญก้าวหน้าไปมาก มีการกวาดตรวจ (scanning) รายละเอียดบนรูปถ่ายหรือทำข้อมูลเป็นตัวเลข ทำให้เกิดระบบอัตโนมัติขึ้นในการใช้รูปถ่ายเพื่อกิจการต่างๆ เช่น การทำแผนที่ เป็นต้น จากระบบการทำข้อมูลตัวเลขจากรูปถ่ายนี่เอง ที่ทำให้มีการทดลองแปลความหมายภาพโดยอัตโนมัติขึ้น (automatic image interpretation) มีการทดลองกวาดตรวจอัตโนมัติและใช้เครื่องมือประกอบ ซึ่งมีชื่อว่าเครื่องมือ แพตเทิร์น  รีคอกนิชัน (pattern recognition equipment) พบว่ามีความเชื่อถือได้ถึง ๘๐% ถ้านำมาใช้ในการแปลลักษณะภูมิประเทศ ๔ ชนิดคือทางน้ำ พื้นที่เพาะปลูก  พืชพรรณไม้ และบริเวณ ชุมชนในเมือง หากได้มีการพัฒนาทางด้านออปติกอิเล็กทรอนิกส์ (optic electronics) ให้มากขึ้นแล้ว จะทำให้ผู้แปลความหมายภาพได้ใช้เครื่องมือบันทึกการกวาดตรวจแบบวิเคราะห์ที่ทำคำสั่งไว้ มาใช้ในงานจำแนกรายละเอียดได้ และเมื่อได้วิเคราะห์งานแปลความหมายจากพื้นที่เป้าหมายที่ครอบคลุมพื้นที่ซ้ำกันแล้ว จะเห็นว่าสามารถใช้ระบบอัตโนมัติได้ชัดเจนขึ้น
          ประะโยชน์ของการแปลความหมายภาพภูมิประเทศ คือการนำไปใช้ในกิจการต่างๆ มาก มายหลายประการ  เช่น  การศึกษาด้านธรณีวิทยารูปร่างของที่ดิน การเกษตรและการใช้ประโยชน์ที่ดิน กิจการด้านป่าไม้  ด้านวิศวกรรม อุตสาหกรรม การวิเคราะห์เป้าหมายทางการทหารและการข่าว เป็นต้น นับได้ว่าวิธีการนี้มีประโยชน์นานัปการ เหมาะแก่การนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศในทุกด้าน

การแปลความหมายภาพในรูปถ่ายทางอากาศ, การแปลความหมายภาพในรูปถ่ายทางอากาศ หมายถึง, การแปลความหมายภาพในรูปถ่ายทางอากาศ คือ, การแปลความหมายภาพในรูปถ่ายทางอากาศ ความหมาย, การแปลความหมายภาพในรูปถ่ายทางอากาศ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 12

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu