ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การสร้างระบบเตือนภัยและการให้ความรู้แก่ประชาชน, การสร้างระบบเตือนภัยและการให้ความรู้แก่ประชาชน หมายถึง, การสร้างระบบเตือนภัยและการให้ความรู้แก่ประชาชน คือ, การสร้างระบบเตือนภัยและการให้ความรู้แก่ประชาชน ความหมาย, การสร้างระบบเตือนภัยและการให้ความรู้แก่ประชาชน คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การสร้างระบบเตือนภัยและการให้ความรู้แก่ประชาชน

           จากผลของพิบัติภัยคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นอย่างร้ายแรงและรวดเร็ว เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นสิ่งบ่งบอกให้ทราบว่าประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ที่มีชายฝั่งติดต่อกับทะเลอันดามัน อยู่ในข่ายที่อาจได้รับพิบัติภัยเช่นนี้อีกเมื่อใดก็ได้ในอนาคตการจะป้องกันมิให้เกิดคลื่นสึนามินั้นคงจะกระทำมิได้ แต่การลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินมีทางเป็นไปได้   ถ้าหากมีการใช้มาตรการที่ดี โดยอาจแยกมาตรการออกเป็น ๒ ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ การสร้างระบบเตือนภัย และการให้ความรู้แก่ประชาชน
            การให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องคลื่นสึนามิ จะช่วยลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินได้มาก เมื่อเกิดปรากฏการณ์คลื่นสึนามิขึ้นในพื้นที่ เนื่องจากประชาชนในท้องถิ่นจะมีการระมัดระวังตน และรู้วิธีการหนีภัยได้ทันการณ์
            ความรู้เรื่องคลื่นสึนามิอาจสรุปได้เป็น ๒ ส่วน คือ ความรู้เกี่ยวกับลักษณะและธรรมชาติของคลื่นสึนามิ และความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนเมื่อมีคลื่นสึนามิเกิดขึ้นในพื้นที่

           ก. ความรู้เกี่ยวกับลักษณะและธรรมชาติของคลื่นสึนามิ  ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคลื่นสึนามิที่ควรทราบ มีดังนี้
             -  คลื่นสึนามิเกือบทั้งหมดเกิดจากแผ่นดินไหวรุนแรงใต้ท้องทะเล หรือใกล้บริเวณชายฝั่งทะเล ดังนั้นหากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในระดับ ๘ ของมาตราริกเตอร์ขึ้นไป อาจก่อให้เกิดคลื่นสึนามิขึ้น ณ บริเวณจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว แล้วแผ่ขยายตัวออกไปโดยรอบในทะเลและมหาสมุทรที่มีอาณาเขตต่อเนื่องกัน
            -  คลื่นสึนามิบางลูกมีขนาดใหญ่มากเมื่อเคลื่อนที่เข้ามาถึงบริเวณน้ำตื้นใกล้ชายฝั่งโดยอาจมีความสูงตั้งแต่ ๕ - ๖  เมตร จนถึงกว่า ๓๐ เมตร และสามารถไหลท่วมเข้าไปภายในบริเวณชายฝั่งได้ไกลถึงหลายร้อยเมตร
            -  คลื่นสึนามิประกอบด้วยคลื่นจำนวนหลายลูกซัดเข้าสู่ฝั่งทุกๆ ๑๐ - ๖๐ นาที โดยคลื่นลูกแรกอาจไม่ใช่คลื่นลูกใหญ่ที่สุด และภัยที่เกิดจากคลื่นสึนามิอาจกินเวลายาวต่อเนื่องกันหลายชั่วโมง นับจากคลื่นลูกแรกซัดเข้าสู่ฝั่งแล้ว
            -  คลื่นสึนามิยังคงเคลื่อนตัวได้รวดเร็วมาก ถึงแม้จะซัดขึ้นบนฝั่งแล้ว ดังนั้นคนที่เผชิญหน้ากับคลื่นสึนามิซึ่งโถมขึ้นบนฝั่งจะมีโอกาสรอดชีวิตได้ยาก
            - ในบางครั้งก่อนที่คลื่นสึนามิลูกแรกจะมาถึงบริเวณใกล้ชายฝั่ง น้ำที่บริเวณชายฝั่งหรือหาดทรายจะลดระดับลงอย่างผิดปกติ จนมองเห็นพื้นทะเลได้ เป็นปรากฏการณ์เตือนให้ทราบล่วงหน้าว่า คลื่นสึนามิกำลังเคลื่อนตัวมาใกล้จะถึงชายฝั่งแล้ว
            -  คลื่นสึนามิมีพลังมากเพราะเป็นการเคลื่อนที่ของมวลน้ำขนาดใหญ่ สามารถพัดพาก้อนหินขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักหลายตัน รวมทั้งเรือ รถยนต์ และซากปรักหักพังอื่นๆ ขึ้นมาบนฝั่งในระยะทางไกลหลายร้อยเมตร ทำลายอาคารบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ให้พังทลายลงได้ และเมื่อคลื่นถอยกลับไปก็พัดพาเอาสิ่งต่างๆ บนบกลงไปในทะเล กลายเป็นขยะอยู่ที่ใต้ทะเลใกล้ชายฝั่ง
           -  คลื่นสึนามิสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่เลือกเวลา ทั้งกลางวันและกลางคืนโดยไม่เกี่ยวข้องกับสภาพลมฟ้าอากาศ  ดังนั้นแม้ในขณะที่ท้องฟ้าแจ่มใสก็อาจเกิดคลื่นสึนามิขึ้นได้
          -  คลื่นสึนามิสามารถเคลื่อนที่ลึกเข้าไปจากบริเวณปากแม่น้ำหรือลำน้ำที่อยู่ติดต่อกับทะเลได้ ภัยจากคลื่นสึนามิจึงมิได้จำกัดอยู่เฉพาะบริเวณชายฝั่งเท่านั้น

          ข. ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนเมื่อมีคลื่นสึนามิเกิดขึ้นในพื้นที่  
          ในกรณีที่อยู่บนฝั่ง  ให้ปฏิบัติตนดังนี้
 
            - หากอยู่ในโรงเรียน และได้ยินเสียงเรียกเตือน ให้ฟังคำสั่งและคำแนะนำจากครูและผู้บริหารโรงเรียน
            - หากได้รับสัญญาณเตือนภัยการเกิดคลื่นสึนามิ  ควรเคลื่อนย้ายครอบครัวและตนเองออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยโดยเร็ว  และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่โดยรีบด่วน
            - หากอยู่ที่บริเวณชายหาด และรู้สึกได้ถึงแผ่นดินไหวตรงเท้า (เท้าสั่นสะเทือน) ให้รีบหนีไปอยู่บริเวณที่สูง และให้อยู่ห่างบริเวณชายฝั่ง และปากแม่น้ำหรือคลองที่อยู่ติดต่อกับทะเล
            - หากเกิดคลื่นสึนามิในบริเวณที่อยู่ห่างไกลออกไป  อาจมีเวลาเหลือพอที่จะหาบริเวณที่สูงเพื่อหลบภัย หรือจุดที่ทางการจัดเตรียมไว้ให้ แต่ถ้าคลื่นสึนามิเกิดขึ้นในบริเวณใกล้เคียง เมื่อรู้สึกถึงแผ่นดินไหวจะมีเวลาเพียงแค่ไม่กี่นาทีที่จะหาที่หลบภัย ดังนั้นจึงต้องปฏิบัติการโดยรวดเร็วและฉับพลัน
            - หากอยู่บนอาคารสูงหลายชั้นที่มีโครงสร้างที่มั่นคงแข็งแรง ชั้นบนของอาคารก็สามารถใช้เป็นที่หลบภัยคลื่นสึนามิได้ หากไม่มีเวลาพอในการหาที่สูงอื่นๆ เป็นที่หลบภัย
        ในกรณีที่อยู่ในเรือ ให้ปฏิบัติตนดังนี้ 
           - ให้นำเรือออกจากฝั่งไปยังบริเวณน้ำลึกนอกชายฝั่งทันที เพราะในบริเวณนั้นความสูงของคลื่นและพลังทำลายยังมีไม่มาก
           -  ติดต่อท่าเรือ โดยเฉพาะที่อยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยราชการชายฝั่งอย่างรวดเร็ว เพื่อรับฟังสถานการณ์และคำแนะนำต่างๆ รวมทั้งแจ้งจุดที่เรือลอยลำอยู่ เพื่อขอความช่วยเหลือในกรณีที่ต้องการ
          -  อาจเกิดคลื่นสึนามิหลายลูกต่อเนื่องกันเป็นระลอก ดังนั้นก่อนกลับเข้าฝั่ง ให้ติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ชายฝั่ง เพื่อทราบสถานการณ์ และปฏิบัติตามคำแนะนำของท่าเรือหรือเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด

          ดูเพิ่มเติมเรื่อง แผ่นดินไหว เล่ม ๒๘

การสร้างระบบเตือนภัยและการให้ความรู้แก่ประชาชน, การสร้างระบบเตือนภัยและการให้ความรู้แก่ประชาชน หมายถึง, การสร้างระบบเตือนภัยและการให้ความรู้แก่ประชาชน คือ, การสร้างระบบเตือนภัยและการให้ความรู้แก่ประชาชน ความหมาย, การสร้างระบบเตือนภัยและการให้ความรู้แก่ประชาชน คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 30

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu