งานศิลปะที่เหมือนกับที่พบในประเทศกัมพูชา ซึ่งพบหรืออยู่ในประเทศไทย นักประวัติศาสตร์ศิลปะเรียกรวมกันว่า ศิลปะแบบลพบุรี ซึ่งหมายรวมถึงเครื่องปั้นด้วย ศิลปะลพบุรีแพร่เข้ามาสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแถบลุ่มแม่น้ำมูลมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๓ ต่อมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๘ การแพร่กระจายของศิลปะลพบุรีมีมากยิ่งขึ้น ได้พบหลักฐานในที่ราบภาคกลางหลายแห่งด้วยเช่นกัน
เครื่องปั้นลพบุรีส่วนใหญ่เป็นเครื่องเคลือบแหล่งผลิตที่สำรวจพบโดยกรมศิลปากรในขณะนี้ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ ในเขตอำเภอเมืองอำเภอบ้านกรวด อำเภอประโคนชัย อำเภอละหานทราย อำเภอลำปลายมาศ อำเภอหนองกี่อำเภอกระสัง และอำเภอสตึก กับได้พบที่บ้านสวาย ห่างจากตัวจังหวัดสุรินทร์ไปราว ๑๕ กิโลเมตร แหล่งผลิตเหล่านี้เริ่มผลิตเครื่องปั้นมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ จนถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เครื่องปั้นลพบุรีส่วนใหญ่เป็นเครื่องเคลือบแหล่งผลิตที่สำรวจพบโดยกรมศิลปากรในขณะนี้ ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ ในเขตอำเภอเมืองอำเภอบ้านกรวด อำเภอประโคนชัย อำเภอละหานทราย อำเภอลำปลายมาศ อำเภอหนองกี่อำเภอกระสัง และอำเภอสตึก กับได้พบที่บ้านสวาย ห่างจากตัวจังหวัดสุรินทร์ไปราว ๑๕ กิโลเมตร แหล่งผลิตเหล่านี้เริ่มผลิตเครื่องปั้นมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ จนถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘
การขุดค้นทางโบราณคดีของกรมศิลปากรที่แหล่งผลิตบ้านกรวด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ทำให้อาจแยกประเภทของเครื่องปั้นลพบุรีออกได้เป็น ๓ ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
- เครื่องปั้นเนื้อละเอียด ขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน เมื่อเผาสุกแล้วเป็นสีเทา เป็นเครื่องดินเผาเนื้อแกร่ง มักทำเป็นรูปภาชนะต่างๆ เช่นไหขนาดและแบบต่างๆ อ่าง เครื่องประดับงานสถาปัตยกรรม โถ กระเบื้องมุงหลังคา เป็นต้น การตกแต่งตัวภาชนะมักใช้ขูดด้วยหวีเป็นลายลูกคลื่น และลายจุด
- เครื่องปั้นเคลือบสีเขียวอ่อนใส มีทั้งที่ขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนและขึ้นรูปด้วยมือ ตัวภาชนะเมื่อเผาสุกก่อนเคลือบเป็นสีเหลือง ทำเป็นรูปต่างๆ เช่น จาน กระปุก ตะกรุด กระพรวนกระดิ่ง โถ ตลับมีฝาปิด เป็นต้น
- เครื่องปั้นเคลือบสีเขียวอ่อนใส มีทั้งที่ขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนและขึ้นรูปด้วยมือ ตัวภาชนะเมื่อเผาสุกก่อนเคลือบเป็นสีเหลือง ทำเป็นรูปต่างๆ เช่น จาน กระปุก ตะกรุด กระพรวน กระดิ่ง โถ ตลับมีฝาปิด เป็นต้น