การเรียงลำดับข้อมูลเป็นการจัดระเบียบให้แก่ข้อมูลเพื่อความสะดวกในการค้นหา โดยมีลำดับของข้อมูลที่ตายตัว การกำหนดลำดับดังกล่าวทำได้โดยกำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูล ๒ค่าใดๆ เพื่อพิจารณาลำดับก่อนหลัง ความสัมพันธ์ดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติถ่ายทอดได้ (transitive)กล่าวคือ ถ้า a ถูกกำหนดให้มาก่อน b และให้ bมาก่อน c แล้ว จะต้องได้ว่า a มาก่อน c ด้วยในการเรียงลำดับตัวเลขความสัมพันธ์ดังกล่าวแทนได้ด้วยเครื่องหมายน้อยกว่า (<) นั่นเองส่วนการเรียงลำดับสายอักขระนั้น จะต้องสร้างฟังก์ชันสำหรับเปรียบเทียบสายอักขระ เพื่อใช้ในกระบวนวิธีเรียงลำดับต่อไป
การเรียงลำดับสายอักขระในภาษาต่างๆสามารถทำได้หลายแบบ เช่น การเรียงตามการออกเสียง ซึ่งเห็นได้ในภาษาญี่ปุ่น การเรียงตามรูปอักษร ดังตัวอย่างในภาษาอังกฤษ หรือการเรียงตามรูปอักษรผสมกับการออกเสียง ดังที่ปรากฏในพจนานุกรมไทยบางเล่ม
การเรียงลำดับช่วยให้การค้นหาทำได้ง่ายขึ้นไม่ว่าจะเป็นการค้นโดยคอมพิวเตอร์ หรือค้นโดยผู้ใช้ก็ตาม ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ การค้นหาคำในพจนานุกรม หรือการค้นหาฐานข้อมูลชื่อต่างๆ เช่น ชื่อบุคคล ชื่อหน่วยงาน หรือชื่อแฟ้มเอกสาร เป็นต้น ถ้าได้จัดเรียงไว้ตามลำดับแล้ว ก็สามารถประหยัดเวลาในการค้นหาได้ตัวอย่าง ชื่อบุคคล
หลังจากเรียงลำดับแล้ว ทำให้ค้นหาไง่ายขึ้น ดังนี้
๑. สระหน้าซึ่งเขียนก่อนพยัญชนะต้นได้แก่ เ แ โ ใ ไ จะต้องถูกพิจารณาหลังพยัญชนะที่ตามมา เพราะการเรียงลำดับจะต้องเรียงตามหมวดพยัญชนะต้น เช่น เก ต้องมาก่อน ขาซึ่งการเปรียบเทียบจะต้องเริ่มที่ กกับข ไม่ใช่เกับข แต่ถ้าพยัญชนะต้นเหมือนกัน จึงจะพิจารณารูปสระ เช่น เก กับ กา เมื่อพบว่าขึ้นต้นด้วย กเหมือนกัน จึงจะเปรียบเทียบ เ กับ า และพบว่าเกอยู่หลัง กา
๒. วรรณยุกต์ ไม้ไต่คู้ และไม้ทัณฑฆาตจะต้องไม่ถูกนำมาพิจารณาในขั้นแรก แต่ถ้าพบว่า ตัวสะกดส่วนอื่นเหมือนกันทุกประการ จึงจะนำมาพิจารณา เช่น ในการเปรียบเทียบ ไต้ก๋งและไต่ไม้จะต้องละเลยวรรณยุกต์ ราวกับเปรียบเทียบ ไตกง และ ไตไมและได้ผลว่าไต้ก๋งมาก่อนไต่ไม้ ส่วนในกรณีที่ตัวสะกดส่วนอื่นเหมือนกันทุกประการ จึงจะพิจารณาวรรณยุกต์ไม้ไต่คู้ และไม้ทัณฑฆาต เช่น เก่ง มาก่อน เก้งทั้งนี้ โปรดสังเกตว่า ตำแหน่งวรรณยุกต์มีความสำคัญเหนือค่าของตัววรรณยุกต์เอง เช่น แหง่มาก่อน แห่งเพราะจุดที่ต่างกันคือ แห- แห่-