นักวิทยาศาสตร์จัดความรู้และเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะ การจำแนกแยกชนิดและชีวประวัติของปลาไว้ในหมวดวิชา มีนวิทยา ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของวิชาสัตววิทยา ในภาษาอังกฤษเรียกวิชานี้ว่า ichthyology (ichthyo + logy) คำว่า ichthyo มาจากภาษากรีก "ichthys" ซึ่งแปลว่าปลาและตรงกับคำว่า มีน ส่วน "logy" แปลว่า วิชาหรือวิทยา
ปลาเป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มของสัตว์จำพวกเลือดเย็น(poikilothermal animals) ซึ่งหมายความว่าอุณหภูมิของเลือดในตัวของมันไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพแวดล้อม โดยทั่วไปอุณหภูมิของตัวปลาแตกต่างจากน้ำรอบตัวของมันเพียง ๐.๕-๑ องศาเซลเซียส แต่อย่างไรก็ตาม ปลาบางจำพวก เช่น ปลาทูนา (Yellow Fin Tuna; Thunnus albacares)ซึ่งว่ายน้ำเร็วและใช้พลังงานมาก อาจมีอุณหภูมิที่แตกต่างจากน้ำที่มันอยู่อาศัยมากกว่า ๑๐ องศาเซลเซียส
ปลาหายใจด้วยเหงือก ส่วนใหญ่มีครีบเพื่อช่วยในการทรงตัวและเคลื่อนไหว ปลาใช้น้ำเป็นแหล่งในการดำรงชีวิต
จากหลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน ปรากฏว่าปลามีจำนวนชนิดมากที่สุดในบรรดาสัตว์ที่มีกระ-ดูกสันหลังด้วยกัน โดยสามารถเปรียบเทียบอย่างประมาณดังต่อไปนี้
ลว่า ปลา และตรงกับคำว่า มีน ส่วน "logy" แปลว่า วิชาหรือวิทยา