ปัจจุบันนี้นักอุตุนิยมวิทยาสามารถศึกษาและทราบถึงเรื่องการเกิดฝนได้ดีขึ้นกว่าก่อนๆ มาก เราทราบว่าอุนภาคของไอน้ำขนาดต่างๆ กันในก้อนเมฆ เมื่อมีขนาดใหญ่จนไม่สามารถลอยตัวอยู่ในก้อนเมฆได้ ก็จะตกมาเป็นฝน และบางครั้งฝนตกแผ่เป็นบริเวณกว้างถึงร้อยๆ กิโลเมตรก็มี อย่างไรก็ตามในขณะนี้ ยังไม่มีนักอุตุนิยมวิทยาคนใดเข้าใจการเกิดของฝนได้อย่างสมบูรณ์
ฝนที่ตกลงมายังพื้นดินได้นั้นจะต้องมีเมฆเกิดในท้องฟ้าก่อน เมฆมีอยู่หลายชนิด(ดูเรื่องเมฆ) และมีบางชนิดเท่านั้นที่มีฝนตก เราได้กล่าวไว้ในเรื่องการเกิดของเมฆว่าไอน้ำจะกลั่นตัวเป็นเมฆ ก็ต่อเมื่อมีอนุภาคกลั่นตัวเล็กๆ (condensation nuclei) อยู่เป็นจำนวนมากเพียงพอ และไอน้ำจะเกาะตัวบนอนุภาคเหล่านั้นรวมกันทำให้เห็นเป็นเมฆเมฆจะกลั้นตัวเป็น น้ำฝนได้ก็ต้องมีอนุภาคแข็งตัว (freezing nuclei) หรือเม็ดน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งจะดึงเม็ดน้ำ ขนาดเล็กมารวมตัวกันจนเกิดเป็นเม็ดฝน
สภาวะของน้ำที่ตกลงมาจากท้องฟ้านั้น อาจจะเป็นลักษณะของฝนหิมะ ฝน ละอองหรือลูกเห็บ ซึ่งเราเรียกสิ่งเหล่านี้รวมว่าเป็น น้ำฟ้า (precipitation) การที่น้ำฟ้าจะตกลงมาเป็นฝนหรือหิมะนั้นขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศว่า ร้อนเย็นแค่ไหน ลักษณะของหิมะหรือผลึกน้ำแข็งเล็กๆ แต่ละอันจะมีรูปร่างต่างๆ กัน แต่มีลักษณะที่คล้ายกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ หิมะ หรือผลึกน้ำแข็งส่วนมากจะเป็นรูป ๖ เหลี่ยมทั้งสิ้น
น้ำฟ้าต้องเกิดจากเมฆ ถ้าไม่มีเมฆจะไม่มีน้ำฟ้า แต่เมื่อมีเมฆก็ไม่จำเป็นจะต้องมีน้ำฟ้าเสมอไป เพราะมีเมฆหลายชนิดที่ลอยอยู่ในท้องฟ้าเฉยๆ ไม่ตกลงมา และมีบางชนิดเท่านั้นที่ทำให้เกิดน้ำฟ้าได้
เราได้เคยกล่าวไว้ก่อนแล้วว่าเมื่ออากาศเย็นลง ไอน้ำในบรรยากาศจะเกิดการกลั่นตัว (condensation) เป็นเมฆหรือหมอก เมฆหรือหมอก คือ เม็ดน้ำเล็กๆ ซึ่งมีไอน้ำรวมตัวกันเกาะอยู่บนอนุภาคดูดน้ำ (hygroscopic particles) เช่น อนุภาคเกลือ เป็นต้นเราเรียกว่าอนุภาคชนิดนี้ว่า อนุภาคกลั่นตัว อนุภาคกลั่นตัวนี้ มีในธรรมชาติ และมีความสำคัญในการช่วยให้ไอน้ำกลั่นตัวเป็นเมฆหรือหมอกง่ายขึ้น ถ้าไม่มีอนุภาคกลั่นตัว ไอน้ำจะเปลี่ยนเป็นหมอกหรือเมฆได้ยากมาก
เราได้กล่าวแล้วว่า เมฆประกอบด้วยเม็ดน้ำและเม็ดน้ำแข็งขนาดเล็กมาก เมื่อขนาดยังไม่โตพอ เม็ดน้ำและเม็ดน้ำแข็งจะลอยอยู่ในบรรยากาศเนื่องจากมีกระแสลมพัดขึ้นตามแนวตั้ง คอยต้านปะทะไม่ให้ตกลงมาตามธรรมดาเส้นผ่าศูนย์กลางของเม็ดเมฆจะมีค่าประมาณ ๐.๐๑ ถึง ๐.๐๒ มิลลิเมตร หรือเท่ากับ ๑๐ ถึง ๒๐ ไมครอน (๑,๐๐๐ไมครอน = ๑ มิลลิเมตร) เม็ดเมฆขนาด ๑๐ ไมครอนนี้จะไม่ตกลงมายังพื้นดิน ต่อเมื่อเม็ดเมฆรวมกันโตจนมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง ๑ มิลลิเมตร หรือ ๑,๐๐๐ ไมครอน หรือใหญ่กว่านี้ มันจะตกลงมาจากเมฆ ตามธรรมดาแล้วเม็ดฝน ๑ เม็ด เกิดมาจากเม็ดเมฆรวมกันมากกว่า ๑ ล้านเม็ด ฉะนั้นจึงมีปัญหาว่า เม็ดเมฆมากกว่า ๑ ล้านเม็ดนั้นรวมกันเป็นฝน ๑ เม็ด ได้อย่างไร ความรู้ในการรวมตัวนี้ยังไม่มีใครทราบอย่างสมบูรณ์ แต่ในขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งทฤษฎีใหญ่ๆ ของการรวมตัว (coalescence) ของเม็ดเมฆจนเกิดเป็นฝนไว้ ๒ กรรมวิธีคือ
การเกิดฝน
การเกิดฝน, การเกิดฝน หมายถึง, การเกิดฝน คือ, การเกิดฝน ความหมาย, การเกิดฝน คืออะไร
การเกิดฝน, การเกิดฝน หมายถึง, การเกิดฝน คือ, การเกิดฝน ความหมาย, การเกิดฝน คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!