เพลงหน้าพาทย์ของละครชาตรี
เพลงหน้าพาทย์ของละครชาตรี, เพลงหน้าพาทย์ของละครชาตรี หมายถึง, เพลงหน้าพาทย์ของละครชาตรี คือ, เพลงหน้าพาทย์ของละครชาตรี ความหมาย, เพลงหน้าพาทย์ของละครชาตรี คืออะไร
หน้าพาทย์ของละครชาตรีมีเพียง ๙ เพลง คือ
๑. เพลงโทน ละครรำซัด (ตรงกับเพลงช้า)
๒. เพลง (เร้ว)
๓. เสมอ
๔. เชิด
๕. โอด
๖. ลงสรง
๗. โลม
๘. เชิดฉิ่ง
๙. เพลงฉิ่ง
เพลงทั้ง ๙ เพลงที่กล่าวมานี้ ตรงกับที่มี ในแบบละครนอกละครในทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่าเป็นเพลงตำราละครแบบเดิม ส่วนหน้าพาทย์ของโขนนั้น มีตำราของเก่า ดังนี้
โหมโรงเย็น ๕ เพลง ได้แก่
๑. ตระสารนิบาต แล้วรัว ๒.เข้าม่าน ทำ ๖ เที่ยว (แล้ว) ลงลา ๓. กราวใน ๔. เชิด ๕. กราวรำ
โหมโรง ๙ เพลง ได้แก่
๑. ตระสารนิบาต แล้วรัว ๒. เข้าม่าน ทำ ๖ เที่ยว (แล้ว) ลงลา ๓. เสมอแล้วรัว ๔. เชิด ๕. กลม ๖. ชำนัน ๒ ท่อน ๗. กราวใน ๘. ชุบ ๙. กราวรำ
โหมโรงกลางวัน ๑๔ เพลง ได้แก่
๑. กราวใน ๒. เสมอข้ามสมุทร แล้วรัว ๓. เชิด ๔. ชุบ แล้วลงลา ๕. กระบองตัน แล้วรัว ๖. ตะคุกรุกร้น ๗. ใช้เรือ แล้วรัว ๘. ปลูกต้นไม้ แล้วรัว ๙. คุกพาทย์ แล้วรัว ๑๐. พันพิราพ ๑๑. ตระสารนิบาต ๑๒. เสียน ๒ เที่ยว ๑๓. เชิดประถม แล้วรัว ๑๔. บาทสกุณี ปลายลงกราวรำ
นอกเรื่องโหมโรง
ไหว้ครู ๒ เพลง ได้แก่ ๑. โปรยข้าวตอก ๒. ตระประคนธรรพ
เรื่องเตร็ด ๒๑ เพลง ได้แก่
๑. ตระตะหริ่ง ๒. ตระเชิงกะแชง ๓. ตระท้าวน้อย ๔. ตระเชิงเทียน ๕. ตระเสือขับ ๖. ตระหญ้าปากคอก ๗. ตระปลายพระลักษณ์ ๘. ตระมารละม่อม ๙. ตระแรมไพร ๑๐. ตระเชินเหนือ ๑๑. ตระเชินใต้ ๑๒. แผละ ๑๓. เหาะ ๑๔. โคมเวียน ๑๕. เชิน ๑๖. พระยาเดิน ๑๗. สยาเดิน ๑๘. สยาครัว ๑๙. เชิดฉาน ๒๐. เชิดนอก ๒๑. กราวนอก
จากตำรานี้ก็จะเห็นได้ว่า เพลงหน้าพาทย์โขนเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก มากกว่าหน้าพาทย์ละครหลายเท่า ที่เหมือนกับหน้าพาทย์ละครชาตรีมีแต่เพลงเสมอกับเชิด ๒ เพลงเท่านั้น
ในการบรรเลงปี่พาทย์และขับร้องการแสดงละคร กล่าวคือ มีเพลงร้องสองชั้น ชั้นเดียวและเพลงร่าย และเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้บรรเลงประกอบกิริยาอาการและบทบาทต่างๆ ของตัวละคร ดังกล่าวไว้ข้างต้น ตัวอย่างเช่น
เพลงเสมอ ประกอบกิริยาการไปมาในระยะใกล้ๆ
เพลงเชิด ประกอบการไปมาในระยะไกลๆและใช้ในการต่อสู้
เพลงเข้าม่าน ประกอบการเดินเข้าฉากในระยะใกล้ๆ ของตัวเอก
เพลงตระนิมิต ประกอบการแปลงกายของตัวละครตัวเอก
เพลงโอด ประกอบการเศร้าโศกเสียใจ
เพลงชุบ ประกอบการเดินของนางกำนัล เช่นเมื่อนางยี่สุ่นใช้นางกำนัลให้ไปตามพราหมณ์ ปี่พาทย์ก็จะทำเพลงชุบ
เพลงโลม ประกอบการเล้าโลมเกี้ยวพาราสีระหว่างตัวละครเอก มักต่อด้วย
เพลงตระนอน ใช้สำหรับตัวละครเอกเมื่อจะเข้านอน โดยมาบรรเลงต่อจากเพลงโลม
เพลงโล้ ประกอบการเดินทางทางน้ำ เช่นพระอภัยมณี โดยสารเรือสำเภาหรือเกาะหลังเงือกว่ายน้ำหนีนาง
ผีเสื้อสมุทร
เพลงเชิดฉิ่ง ประกอบการเดินทาง การเหาะ เช่น เบญจกายเหาะมายังเขาเหมตีรันเพื่อแปลงกายเป็นสีดา
ลอยน้ำไปลวงพระราม หรือการติดตาม เช่น รามสูรตามนางเมขลา
เพลงเชิดกลอง บรรเลงต่อจากเพลงเชิดฉิ่ง
เพลงรัวต่างๆ ประกอบการแผลงฤทธิ์ หรือ แปลงตัวอย่างรวบรัด
เพลงกราวนอก ประกอบการยกทัพตรวจพลของกระบวนทัพฝ่ายมนุษย์
เพลงกราวใน ประกอบการยกทัพตรวจพลของกระบวนทัพฝ่ายยักษ์
เพลงที่มีลักษณะเป็นเพลงละครอย่างชัดเจน เช่น (ภาพ เพลงเชิดฉิ่ง)
บัดนั้น เบญจกายรับราชบรรหาร ออกจากปราสาทรัตน์ชัชวาลย์ เหาะข้ามชลธารผ่านมา ครั้นถึงเหมตีรันบรรพต เลื่อนลดลงจากเวหา หยุดยืนอยู่ฝั่งคงคา กัลยาจำแลงแปลงอินทรีย์ฯ
๒. เพลงฉุยฉาย ใช้แสดงท่าทีเดินเยื้องย่างกรีดกรายด้วยความโอ้อวดของตัวละคร เมื่อแปลงกายหรือแต่งกายได้สวยงาม เช่น เมื่อนางเบญจกายแปลงเป็นสีดาจะไปเฝ้าทศกัณฐ์
ฉุยฉายเอย จะไปไหนนิดเจ้าก็กรีดกราย เยื้องย่างเจ้าช้างแปลงกาย ให้ละเมียดละม้ายสีดานงลักษณ์ ถึงพระรามเห็นทรามวัย จะฉงนพระทัยให้อะเหลื่ออะหลักฯ
๓. เพลงโอ้โลม เพลงโอ้ชาตรี เพลงโอ้เพลงฉิ่งสิงโตตัด เพลงโลมนอก เพลงฉิ่ง เพลงเหล่านี้ใช้แสดงอาการเล้าโลมเกี้ยวพาราสีของตัวละครเอก เช่น เมื่อเจ้าเงาะเกี้ยวนางรจนา ในเพลงโอ้ชาตรี ว่า
น้องเอยน้องรัก ผิวพักตร์เพียงจันทร์อันทรงกลด โฉมนางแน่งน้อยช้อยชล อย่ากำสรดเศร้าหมองไม่ต้องการฯ
เพลงหน้าพาทย์ของละครชาตรี, เพลงหน้าพาทย์ของละครชาตรี หมายถึง, เพลงหน้าพาทย์ของละครชาตรี คือ, เพลงหน้าพาทย์ของละครชาตรี ความหมาย, เพลงหน้าพาทย์ของละครชาตรี คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!