ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

วัฎจักรชีวิตของเฟิร์น, วัฎจักรชีวิตของเฟิร์น หมายถึง, วัฎจักรชีวิตของเฟิร์น คือ, วัฎจักรชีวิตของเฟิร์น ความหมาย, วัฎจักรชีวิตของเฟิร์น คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
วัฎจักรชีวิตของเฟิร์น

          เฟิร์นที่พบเห็นทั่วไปเป็นสปอโรไฟต์ (sporophyte) มีโครงสร้างประกอบด้วยราก ต้น และใบ สปอโรไฟต์สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการสร้างสปอร์ภายในอับสปอร์ โดยทั่วไปอับสปอร์ของเฟิร์นจะเกิดรวมกันเป็นกลุ่มทางด้านล่างของแผ่นใบ เมื่ออับสปอร์แตก สปอร์จะปลิวตามลมไปตกตามที่ต่างๆ เช่น ในน้ำ บนดิน บนก้อนหินหรือบนเปลือกไม้ ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสปอร์จะงอกเป็นแกมีโทไฟต์ (gametophyte) ซึ่งอาจจะเป็นแผ่นบางๆ สีเขียวคล้ายรูปหัวใจ หรือมีลักษณะเป็นเส้น แกมีโทไฟต์เป็นช่วงชีวิตของเฟิร์นที่จะมีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยการสร้างไข่ (egg) และสเปิร์ม (sperm) ภายในอวัยวะสร้างไข่และสเปิร์มตามลำดับ สเปิร์มจะเคลื่อนที่เข้าไปภายในอวัยวะสร้างไข่ และเกิดการปฏิสนธิ (fertilization) เป็นไซโกท (zygote) ไซโกทจะเจริญเป็นเอ็มบริโอ (embryo) และสปอโรไฟต์ หรือต้นเฟิร์นที่พบเห็นกันทั่วไป ตามลำดับ

           จากการสำรวจเฟิร์นและพืชกลุ่มใกล้เคียงกับเฟิร์นในประเทศไทยที่ผ่านมาโดยนักพฤกษอนุกรมวิธานต่างชาติ โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่นพบว่าเฟิร์นหลายชนิดเป็นชนิดใหม่ของโลก จึงได้มีการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์แต่ละชนิด เพื่อให้เป็นเกียรติแก่ประเทศไทย เช่น เฟิร์นก้านดำทุ่งสง (Adiantum siamense) เป็นเฟิร์นก้านดำชนิดใหม่ในสกุล Adiantum ซึ่งศาสตราจารย์ตากาวา และ ศาสตราจารย์อิวัทซูกิ ตั้งชื่อระบุชนิด "siamense" ให้เป็นเกียรติแก่ประเทศไทย ซึ่งเป็นสถานที่เก็บตัวอย่างพันธุ์ไม้ต้นแบบนอกจากนี้ เฟิร์นก้านดำชนิดนี้ยังเป็นพันธุ์ไม้ถิ่นเดียวของประเทศไทย ศาสตราจารย์ตากาวา และศาสตราจารย์อิวัทซูกิ ยังได้ตั้งชื่อเฟิร์น ให้เป็นเกียรติแก่สถานที่เก็บตัวอย่างในประเทศไทย เช่น กูดข้อต่อภูหลวง (Arthromeris phuluangensis) เป็นพันธุ์ไม้ถิ่นเดียวของประเทศไทย ซึ่งพบเฉพาะที่ภูหลวง จังหวัดเลย และ กูดก้างปลาเขาหลวง (Xiphopteriskhaoluangensis) เป็นพันธุ์ไม้ถิ่นเดียวของประเทศไทย ซึ่งพบเฉพะที่เขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช คนไทยที่เก็บตัวอย่าง หรือมีส่วนร่วมในการเก็บตัวอย่างเฟิร์น และได้รับเกียรติให้มีชื่ออยู่ในชื่อวิทยาศาสตร์ เช่น ว่านหางนกยูงแคระ (Antrophyum winitii) เป็นเฟิร์นชนิดใหม่ในสกุล Antrophyum ซึ่งศาสตราจารย์ตากาวา และศาสตราจารย์อิวัทซูกิ ตั้งชื่อระบุชนิด "winitii" ให้เป็นเกียรติแก่พระยาวินิจวนันดรซึ่งเป็นผู้เก็บตัวอย่าง เฟิร์นอีกชนิดหนึ่งที่มีชื่อของคนไทยอยู่ในชื่อวิทยาศาสตร์ของเฟิร์นคือ กูดท้องใบดำ (Elaphoglossum dumrongii)คำระบุชนิด"dumrongii" มาจากชื่อของ นายดำรงอดีตข้าราชการกรมป่าไม้ที่ร่วมในการเก็บตัวอย่างพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ของโลกกับคณะของศาสตราจารย์ตากาวา และศาสตราจารย์อิวัทซูกิ

วัฎจักรชีวิตของเฟิร์น, วัฎจักรชีวิตของเฟิร์น หมายถึง, วัฎจักรชีวิตของเฟิร์น คือ, วัฎจักรชีวิตของเฟิร์น ความหมาย, วัฎจักรชีวิตของเฟิร์น คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 23

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu