ประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม ประชาชนประมาณร้อยละ ๘๐ ประกอบอาชีพทางการทำไร่ทำนา การเลี้ยงวัวควายเป็นส่วนประกอบของการกสิกรรม เพราะได้ใช้แรงงานจากวัวควายช่วยในการทำงานต่าง ๆ นับตั้งแต่ไถ พรวน ฉุดระหัดน้ำ นวดข้าว สีข้าว ลากเข็น ตลอดไปจนถึงการขนส่งผลิตผลจากท้องถิ่นห่างไกล ไปสู่ถนนหลวงหรือตลาด เนื่องจากชาวนาไทยมีที่ดินน้อย เฉลี่ยเพียงครอบครัวละ ๑๐-๒๐ ไร่หรือน้อยกว่านั้น ในบางภาค การใช้วัวควายทำงานในไร่นาจึงเหมาะสม เพราะสะดวกที่จะทำเมื่อใดก็ได้ และแล้วเสร็จได้ในเวลาไม่นาน วัวหรือควายคู่หนึ่งไถนาได้วันละไม่ต่ำกว่าหนึ่งไร่ ทั้งยังประหยัดเงินกว่าการจ้างรถไถนาทำงาน ซึ่งต้องเสียค่าจ้างในอัตราสูง การใช้วัวควายไถนาทำให้ได้ใช้แรงงานในครอบครัวให้เป็นประโยชน์ ช่วยให้มีชีวิตชีวา และเสริมสร้างวิญญาณแห่งความรักความผูกพัน ในงานอาชีพของกสิกร ให้แก่สมาชิกของครอบครัว
การเลี้ยงวัวควายเพื่อช่วยในการทำไร่ทำนาในประเทศไทยนั้น โดยทั่วไป นิยมเลี้ยงกันเพียงครอบครัวละสามตัวบ้าง ห้าตัวบ้าง แต่เมื่อรวมกันเข้าก็เป็นจำนวนสิบล้านตัว เป็นวัวและควายอย่างละประมาณครึ่งต่อครึ่ง อาหารของวัวควายเหล่านี้ ได้แก่ หญ้าที่ขึ้นอยู่ตามคันนา ริมถนน และท้องทุ่งที่ว่างจากการทำไร่ทำนา วัวควายจะถูกต้อนออกไปหากินในยามเช้า และกลับเข้าคอกเมื่อยามพลบ คอกวัวคอกควายมักอยู่ใกล้บ้านหรือใต้ถุนบ้าน เมื่อถึงหน้าเพาะปลูก น้ำหลาก ท้องทุ่งท้องนาเต็มไปด้วยกล้าข้าวและพืชผล ยามนี้วัวควายต้องอาศัยฟาง และหญ้าแห้งที่เจ้าของเก็บกองไว้ให้ ตั้งแต่ปลายฤดูเพาะปลูกปีที่ผ่านมา เป็นอาหารเสริมไปจนกว่าจะเก็บเกี่ยวพืชผลเสร็จ วัวควายจึงเป็นอิสระในท้องทุ่งอีกวาระหนึ่ง ซึ่งในระยะนั้นอาหารวัวควายจะมีบริบูรณ์ วัวควายจึงสืบพันธุ์กันในระยะนี้เป็นส่วนมาก
ตารางที่ ๑ แสดงจำนวนคนไทยและวัวควายในประเทศไทยในบางปี นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นต้นมา จะเห็นได้ว่าพลเมืองไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากประมาณ ๑๗ ล้านคนใน พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นประมาณสองเท่า คือ ๓๔ ล้านคน ใน พ.ศ. ๒๕๑๓ ในช่วงเวลา ๒๓ ปี ตลอดระยะเวลานี้ จำนวนวัวควายในแต่ละปีค่อนข้างคงที่ และลดลงเล็กน้อยใน พ.ศ. ๒๕๑๓ หากคำนึงถึงจำนวนผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ในขณะที่แหล่งผลิตมีเท่าเดิม ย่อมชี้ให้เห็นถึงความขาดแคลนวัวควายของประเทศในอนาคต ตัวเลขนี้แสดงให้เห็นเด่นชัดถึง ความจำเป็นในการเพิ่มจำนวนวัวควาย เพื่อรับความต้องการใช้เนื้อวัวควาย และใช้แรงงานวัวควาย ที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนพลเมืองในประเทศ มีผู้ประมาณว่า ใน พ.ศ. ๒๕๔๓ พลเมืองไทยจะมีจำนวนเป็นร้อยล้านคน เมื่อถึงเวลานั้นสัดส่วนจำนวนวัวควายต่อคนไทยหนึ่งคนก็จะลดลงไปอีก ดังจะเห็นได้ว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐ มีวัวควายอยู่ ๖ ตัว/๑๐ คน ถึง พ.ศ. ๒๕๑๓ มีวัว ควายเพียง ๓ ตัว/๑๐ คน และเมื่อถึง พ.ศ. ๒๕๒๓ อาจเหลือวัวควายเพียง ๒ ตัว/๑๐ คน
ตารางที่ ๑ พลเมืองและจำนวนวัวควายในประเทศไทย๑
๑ สถิติที่สำคัญของประเทศไทย ๒๕๑๑–๒๕๑๒ สำนักงานสถิติแห่งชาติ
ตารางที่ ๒ แสดงให้เห็นจำนวนพลเมืองและจำนวนวัวควาย ในประเทศที่มีวัวควายมากที่สุดในโลกห้าประเทศ เมื่อเทียบกับประเทศไทย ประเทศอินเดียมีวัวควายมากที่สุดในโลก รวมทั้งสิ้นประมาณ ๒๔๔ ล้านตัว ในขณะที่ประเทศบราซิลมีจำนวนวัวควายต่อประชากรหนึ่งคนมากที่สุด คือมีวัวควายประมาณ ๗๓ ตัว/พลเมือง ๑๐๐ คน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมีวัวควายประมาณ ๗๓ ล้านตัว เป็นที่ห้าในโลก แต่มีวัวควายเพียง ๗ ตัว/พลเมือง ๑๐๐ คน ในขณะที่ประเทศไทยมีวัวควายประมาณ ๒๔ ตัว/พลเมือง ๑๐๐ คนในปีเดียวกัน
ตารางที่ ๒ จำนวนพลเมืองและวัวควายในประเทศที่มีวัวควายมากที่สุดในโลกห้าประเทศเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕
๑ FAO Production Year Book 1982 ๒ มีวัวอย่างเดียว ๓ Unofficial figure
ตารางที่ ๓ พลเมืองและวัวควายของประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศใน พ.ศ. ๒๕๒๕
๑ FAO Production Year Book 1982
ตัวเลขในตารางที่ ๓ แสดงจำนวนพลเมืองและวัวควายในประเทศเพื่อนบ้านของไทยบางประเทศ ใน พ.ศ. ๒๕๒๕ อันแสดงให้เห็นภาวะที่คล้ายคลึงกัน ยกเว้นประเทศเวียดนามและมาเลเซีย ซึ่งมีวัวควายจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนพลเมือง
วัวควาย
วัวควาย, วัวควาย หมายถึง, วัวควาย คือ, วัวควาย ความหมาย, วัวควาย คืออะไร
วัวควาย, วัวควาย หมายถึง, วัวควาย คือ, วัวควาย ความหมาย, วัวควาย คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!