ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การละเล่นของหลวง, การละเล่นของหลวง หมายถึง, การละเล่นของหลวง คือ, การละเล่นของหลวง ความหมาย, การละเล่นของหลวง คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การละเล่นของหลวง

          การละเล่นของหลวงที่มีมาแต่กรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์หมายถึง การละเล่นที่แสดงในพระราชพิธีต่างๆ ไม่ได้หมายความว่า แสดงหน้าที่นั่งในเขตพระราชฐาน ข้างนอกก็แสดงได้ เท่าที่ปรากฏในหนังสือต่างๆ และภาพจิตรกรรมฝาผนัง มีอยู่ ๕ อย่าง คือ ระเบ็ง โมงครุ่ม กุลาตีไม้แทงวิสัย และกระอั้วแทงควาย ผู้เล่นเป็นชายล้วน มีครั้งเดียวในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๕ โปรดเกล้าฯ ให้ผู้หญิง คือ นางเถ้าแก่เล่นระเบ็งแทนชาย ในงานโสกันต์ พระเจ้าน้องยาเธอและพระเจ้าน้องนางเธอ ๕ พระองค์ มีปรากฏในพระราชนิพนธ์โคลงดั้นเรื่องโสกันต์

          ระเบ็งเป็นการละเล่นในชุดพระราชพิธีที่แปลกกว่าอย่างอื่น คือแสดงเป็นเรื่องมาจากเทพนิยาย เนื้อร้องกล่าวถึงเทวดามาบอกให้บรรดากษัตริย์ร้อยเอ็ดเจ็ดพระนครไปเขาไกรลาส ระหว่างเดินทางก็เดินชมนกชมไม้ไปจนพบพระกาลมาขวางทางไว้ กษัตริย์เหล่านั้นไม่รู้จัก ก็ไล่ให้หลีกทางไปเงื้อธนูจะยิง พระกาลกริ้วมากจึงสาปให้สลบ แล้วพระกาลเกิดสงสารจึงถอนคำสาบให้ฟื้นดังเดิม แล้วขอร้องให้กลับเมืองดังเดิม กษัตริย์ก็เชื่อฟังกลับเมือง

         การแต่งกาย ผู้เล่นเป็นกษัตริย์น้อยใหญ่ แต่งกายเหมือนกันทุกคน นุ่งสนับเพลา นุ่งผ้าเกี้ยว สวมเสื้อคอตั้งแขนยาว ปล่อยชายไว้นอกผ้านุ่ง มีผ้าคาดพุง ศีรษะสวมเทริด มือถือธนู

         ผู้เล่นเป็นพระกาลแต่งกายได้ ๒ แบบ คือ เครื่องแต่งตัวเหมือนผู้เล่นเป็นกษัตริย์น้อยใหญ่ สวมเสื้อครุยทับ ศีรษะสวมลอมพอก (ชฎาเทวดาตลก สีขาว ยอดแหลมสูง) หรือแต่งตัวยืนเครื่อง ทรงเครื่องเหมือนกษัตริย์ในละครรำ แต่ไม่สวมเสื้อ

         การเล่นในสมัยก่อนใช้ฆ้อง ๓ ใบเถา เรียกว่า "ฆ้องระเบง" ตีรับท้ายคำร้องทุกๆ วรรค โดยตีลูกเสียงสูงมาหาต่ำ จากต่ำมาหาสูง ปรากฏในพระราชนิพนธ์โคลงดั้น เรื่อง "โสกันต์" ต่อมาใช้ปี่พาทย์บรรเลง เริ่มต้นจะบรรเลงเพลง "แทงวิสัย" ซึ่งเป็นจังหวะที่เหมาะกับการเต้นของผู้เล่นเป็นกษัตริย์น้อยใหญ่ ซึ่งจะมีจำนวนเท่าไรก็ได้ให้พอกับเวทีหรือสนามที่เล่น เมื่อเต้นไปสุดเวที ผู้เล่นที่อยู่หัวแถวจะร้องต้นบทว่า "โอละพ่อถวายบังคม" ผู้เล่นทั้งหมดจะร้องรับพร้อมๆ กันว่า "โอละพ่อถวายบังคม" ผู้เล่นทำท่าถวายบังคมไปด้วย เป็นการรำถวายบังคมพระเจ้าแผ่นดิน

         ต่อจากรำถวายบังคมแล้ว ผู้เล่นจะแปรแถวอย่างเป็นระเบียบ แล้วผู้เล่นก็ร้องบทต่อไปลุกขึ้นเต้น ปากก็ร้องบทไปเรื่อยๆ เมื่อยกขาขวาจะทำท่าเอาลูกธนูตีลงไปบนคันธนู วางขาขวา ยกขาซ้าย เหยียดมือขวาออกไปข้างตัวจนสุดแขนเป็นท่าง้างธนู จนกระทั่งมาพบพระกาล  ตัวอย่างบทถวายบังคมตอนหนึ่งมีว่า
          โอละพ่อขอถวายบังคม
โอละพ่อประนมกรทั้งปวง
โอละพ่อบัวตูมทั้งปวง
โอละพ่อบัวบานทั้งปวง ฯลฯ

         มีบทเดินดง ชมนก ชมไม้ บทปะทะ พบพระกาล บทพระกาลสาป และบทคืนเมือง

การละเล่นของหลวง, การละเล่นของหลวง หมายถึง, การละเล่นของหลวง คือ, การละเล่นของหลวง ความหมาย, การละเล่นของหลวง คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 13

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu