ความสัมพันธ์ของประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ในด้านศิลปกรรม
ความสัมพันธ์ของประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ในด้านศิลปกรรม, ความสัมพันธ์ของประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ในด้านศิลปกรรม หมายถึง, ความสัมพันธ์ของประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ในด้านศิลปกรรม คือ, ความสัมพันธ์ของประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ในด้านศิลปกรรม ความหมาย, ความสัมพันธ์ของประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ในด้านศิลปกรรม คืออะไร
วัดเป็นศูนย์กลางที่มีความสำคัญที่สุดในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ให้เกิดขึ้นและสืบเนื่องมาได้ในสังคมไทย ในทางศิลปกรรมก็เช่นเดียวกัน กล่าวได้ว่าวัดเป็นศูนย์สร้างวัฒนธรรมและงานศิลปะเกือบทุกสาขา ความเจริญของช่างในอดีตขึ้นอยู่กับผู้อุปถัมภ์งาน งานระดับแรกของช่างนั้นมักเกี่ยวกับการศาสนาหรือวัดในท้องถิ่นที่ช่างผู้นั้นอาศัยอยู่การปฏิบัติงานให้กับพระศาสนานั้น นอกจากจะกระทำด้วยความศรัทธาแล้ว การแข่งขันกันระหว่างท้องถิ่นใกล้เคียงก็เป็นเครื่องกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาในวิชาช่างอย่างสำคัญ อาจกล่าวได้ว่าชุมชนใดที่ไม่มีวัดชุมชนนั้นก็จะไม่มีพัฒนาการในด้านศิลปะ
ในทางศิลปะการช่างนั้น วัดได้มีส่วนสร้างสรรค์ศิลปะของชนชาติในขั้นพื้นฐาน ผู้ที่ศึกษาวิชาช่างหรือผู้ที่รักการช่างจะมีโอกาสฝึกงานอย่างจริงจังในความควบคุมของครูช่าง เมื่อต้องทำงานให้แก่วัดในการปลูกสร้างอาคารหรือประดิษฐ์เครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ งานในส่วนที่ต้องทำอยู่เป็นประจำนั้นก็ได้แก่งานนักขัตฤกษ์ประจำปี ซึ่งเป็นบทเรียนอย่างดีที่จะใช้ฝึกหัด ทางหนึ่งที่เร่งเร้าให้เกิดการพัฒนาในทางฝีมือก็คือ การที่ต้องแข่งขันกับช่างในถิ่นอื่นที่มามีส่วนร่วมด้วยเป็นต้นว่า การแข่งเรือประกวด การแข่งบั้งไฟการแต่งขบวนกฐิน การแต่งวัดเพื่อรับงานเทศน์ คาถาพัน และในการอื่นๆ อีกมากมาย การเรียนการสอนในวิชาการแขนงนี้จึงมีวัสดุจริงให้ฝึกหัดกันได้ตลอดเวลา หากชุมชนใดมีครูช่างที่มีฝีมือและชื่อเสียงมากก็ย่อมจะมีคนในท้องถิ่นอื่นมาฝากตัวเป็นลูกศิษย์และก็เป็นหนทางที่จะแพร่ฝีมือหรือ "ทาง" ของช่างผู้นี้ให้กว้างออกไป เป็นธรรมดาที่ศิษย์ของครูผู้ใดก็ย่อมทำตามวิธีการของครูผู้นั้น และนี่เองที่เป็นบ่อเกิดแห่งการที่เรียกกันว่า "สกุลช่าง" การถือครูเป็นผู้นำในทางช่าง และเป็นที่เคารพสูงสุดของศิษย์เป็นข้อประพฤติปฏิบัติกันในสังคมในอดีต เมื่อผู้ใดปรากฏชื่อเสียง และ ฝีมือเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปก็ย่อมเป็นทางให้ได้รับความสนใจจากผู้มีฐานะและผู้มีบรรดาศักดิ์ในเมืองใหญ่ คนเหล่านี้จะเฟ้นหาผู้มีชื่อมีฝีมือมาทำงานให้กับตนเพื่อจะได้อาคารหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่เป็นที่เชิดหน้าชูตาเมื่อเปรียบเทียบกับผู้อื่นช่างในท้องถิ่นจึงอาจได้รับการชุบเลี้ยงในเมืองใหญ่เพื่อผลิตผลงานให้กับผู้มีฐานะและผู้มีบรรดาศักดิ์ มีรายได้รางวัลและมีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น เมื่อมาถึงวาระนี้ผลงานของช่างผู้นั้นก็อาจเข้าไปปรากฏอยู่กับวัดวาอารามที่ผู้อุปถัมภ์มีส่วนสร้าง หรืออยู่กับสิ่งของถวายเจ้านาย และถ้าหากเป็นการบังเอิญที่อาคารที่สร้างขึ้นหรือสิ่งของที่ผลิตขึ้นเป็นที่สะดุดตาต่อบุคคลสำคัญในราชการหรือในราชสำนัก ก็เป็นโอกาสที่ช่างผู้นั้นอาจถูกเรียกหาให้เข้ารับราชการ ได้รับยศฐาบรรดาศักดิ์เป็นช่างหลวงต่อไป ซึ่งปรากฏตัวอย่างเช่นนี้ตลอดมา
ในอดีตนั้น ใครเป็นช่างที่มีฝีมือ มีศิลปะสูงทางราชสำนักหรือทางราชการในเมืองหลวงมักจะพยายามสร้างหรือสนับสนุนให้เป็นช่างหลวง เหตุนี้จะเห็นได้ว่าความแตกต่างของศิลปกรรมที่เป็นของราชสำนักหรือของชาวบ้านนั้น จึงมิได้อยู่ที่ปรัชญาค่านิยมหรือความเชื่อในการสร้างงานศิลปะของประชาชนส่วนใหญ่เลย แต่อยู่ที่ความประณีตความอลังการหรูหราซับซ้อนที่ในส่วนของราชสำนักย่อมมีทุนทรัพย์ และเวลาที่จะปรุงแต่งงานศิลปะให้งดงามละเอียดลออกว่าศิลปะของชาวบ้าน ทั้งนี้เพราะช่างหลวงส่วนใหญ่ก็ล้วนมีพื้นเพและฝึกปรือฝีมือมาจากวัดหรือท้องถิ่นก่อนนั่นเอง ซึ่งผลงานศิลปะของราชสำนักหรือของหลวงก็จะกลายเป็นตัวแบบที่ช่างในท้องถิ่นนิยมเลียนแบบไปอีกต่อหนึ่งเป็นวัฎจักรไปเรื่อย เนื่องจากการสร้างงานศิลปะในอดีต จะถือกันว่าเป็นการสืบต่อพระศาสนาและเพื่อบุญกุศลของผู้สร้างเป็นสำคัญ
อิทธิพลของประเพณีหลวงในด้านศิลปกรรมที่มีต่อประเพณีราษฎร์จึงเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะศิลปกรรมที่เนื่องในความเชื่อทางศาสนา ไม่ว่าจะเป็นทางสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม เช่น วัดวาอาราม โบสถ์ วิหาร เจดีย์พระพุทธรูป ภาพเขียนในโบสถ์ วิหาร ล้วนแต่ถูกกำกับด้วยคติความเชื่อที่มีลักษณะเดียวกับศิลปกรรมของชนชั้นสูงที่สืบทอดกันตามประเพณีตัวอย่างเช่น งานจิตรกรรมพื้นบ้านก็ได้รับอิทธิพลจากของหลวงที่เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น นิยมวาดภาพพุทธประวัติ ชาดกจากเรื่องทศชาติ ชาดกพื้นบ้านของท้องถิ่นภาคเหนือจะวาดเรื่องคันธนะกุมาร ส่วนภาคอีสานนิยมวาดเรื่องสังข์ศิลป์ไชย เป็นต้น ช่างมักจะสะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบของวัฒนธรรมประเพณี สิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นนั้นๆ ตัวอย่างที่ชัดเจนจะเห็นได้จากที่วัดหนองบัว อำเภอท่าวังผา วัดภูมินทร์ อำเภอเมือง ในจังหวัดน่าน หรือวัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี วัดสทิงพระจังหวัดสงขลา เป็นต้น ส่วนความแตกต่างระหว่างงานของช่างหลวงและช่างพื้นเมืองอาจจะอยู่ที่เทคนิคและฝีมือของช่างท้องถิ่นที่มักนิยมใช้สีสดใสตัดกัน ช่างจะใช้สีตามความรู้สึกและทัศนะของตนเอง เช่น ท้องฟ้าจะใช้สีครามสดต้นไม้ใช้สีเขียว เครื่องบนของปราสาทราชวังมักใช้สีเหลืองซึ่งเป็นสีที่แทนสีทอง เป็นต้น ในขณะที่ช่างฝีมือหลวงจะอยู่ในกรอบเกณฑ์ทางศิลปะและความประณีตสวยงามมากกว่าการแสดงความรู้สึกส่วนตัวจะเห็นได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเพณี ราษฎร์ในสังคม ไทยที่มีพัฒนาการสืบเนื่องมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ได้ก่อให้เกิดบูรณาการทางสังคมและวัฒนธรรมขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะพระพุทธศาสนาได้มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่สร้างบูรณาการให้เกิดขึ้น ทำให้ประเพณีพิธีกรรมของคนพื้นเมืองที่มีความหลากหลายในเรื่องเผ่าพันธุ์ในประเทศไทยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ โดยที่มิได้ทำลายเอกลักษณ์ของท้องถิ่นโดยสิ้นเชิง ซึ่งผิดกับการรับอิทธิพลตะวันตกในทุกวันนี้ เพราะยังคงความหลากหลายทางประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ ไว้ได้ และความหลากหลายของท้องถิ่นนี้เองที่เป็นพลังในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้แก่สังคม
ดูเพิ่มเติมจากเรื่อง สังคมและวัฒนธรรมไทย เล่ม ๑๖
ความสัมพันธ์ของประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ในด้านศิลปกรรม, ความสัมพันธ์ของประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ในด้านศิลปกรรม หมายถึง, ความสัมพันธ์ของประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ในด้านศิลปกรรม คือ, ความสัมพันธ์ของประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ในด้านศิลปกรรม ความหมาย, ความสัมพันธ์ของประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ในด้านศิลปกรรม คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!