ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

คำ, คำ หมายถึง, คำ คือ, คำ ความหมาย, คำ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำ

          ในระดับคำ นักภาษาศาสตร์ศึกษาถึงธรรมชาติของคำในแง่ของโครงสร้าง ความหมาย และกระบวนการการสร้างคำใหม่ในภาษา สำหรับนักภาษาศาสตร์  คำประกอบขึ้นด้วยส่วนแยกย่อยที่เรียกว่า "หน่วยคำ" (morpheme) คำๆ หนึ่งอาจประกอบขึ้นด้วยหน่วยคำเพียง ๑ หน่วย หรือหลายหน่วยก็ได้ "หน่วยคำ" ต่างจากพยางค์ตรงที่หน่วยคำอาจประกอบขึ้นด้วยเสียงเพียง ๑ เสียงหรือมากกว่าก็ได้ และมักมีความหมายหรือหน้าที่ด้วย เช่น ฝัน จมูก สภาวะ ต่างเป็นคำที่ประกอบขึ้นด้วย ๑ หน่วยคำเท่านั้น เราไม่แยก "จะ" และ "มูก" ออกเป็น ๒ หน่วยคำ หรือแยก"สภาวะ" เป็น ๓ หน่วยคำ เพราะเมื่อแยกแล้วแต่ละหน่วยจะไม่มีหน้าที่หรือความหมายในตัวเองส่วนคำว่า "อคติ" "นักเรียน" "ภาษาศาสตร์"ล้วนประกอบขึ้นด้วย ๒ หน่วยคำ คือ อ + คติ, นัก + เรียน, ภาษา + ศาสตร์ แต่ละหน่วยมีทั้งรูปและความหมาย การวิเคราะห์คำในลักษณะนี้ใช้ได้ไม่ดีนักกับภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาคำโดด แต่ใช้วิเคราะห์ภาษาที่ใช้วิภัตติปัจจัย เช่น ภาษาอังกฤษได้ดีกว่า ดัง "s" ใน He walks home. นับเป็น ๑ หน่วยคำ เพราะ  "s"  มีความหมายว่า  "เป็นเอกพจน์" เป็นบุรุษที่ ๓" "เป็นปัจจุบันกาล" หรือ happiness มี ๒ หน่วยคำ คือ happy และ ness "-ness" มีความหมายแสดงความ "เป็นคำนาม"หน่วยคำประเภทเดียวกันกับ "-ness" เช่น "-ly" "-tion" นี้ เมื่อใช้เติมลงท้ายคำๆ หนึ่งแล้วจะได้คำใหม่ซึ่งต่างประเภทไป ในภาษาอังกฤษยังมีหน่วยคำอีกประเภทหนึ่งที่ใช้เติมลงหน้าคำ และเมื่อเติมแล้วไม่ทำให้คำเปลี่ยนประเภทไป เพียงแต่ทำให้ความหมายเปลี่ยนไป เช่น im- มีความหมายว่า"ไม่" ใช้เติมหน้าคำ ทำให้คำใหม่มีความหมายตรงกันข้ามกับคำเดิม เช่น mature, balance ถ้าเติมหน่วยคำ "im-" แล้วได้คำใหม่เป็น immature, imbalance  
          นักภาษาศาสตร์ได้ใช้ความคิดเกี่ยวกับขอบเขต (รูป) และความหมายของหน่วยคำในทำนองเดียวกับที่กล่าวมาแล้วนี้ จำแนกภาษาในโลกออกเป็น ๔  ประเภทใหญ่ๆ  ตามลักษณะโครงสร้างของคำ คือ ภาษาคำโดด (isolating languages)ภาษาคำติด (agglutinating languages) ภาษาวิภัตติปัจจัย (inflectional languages) และภาษาคำควบมากพยางค์ (polysynthetic languages)
          คำในภาษาคำโดดมักเป็นคำที่มีหน่วยคำเดียวมีโครงสร้างง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ในภาษาประเภทนี้หน่วยคำมักเป็นคำด้วย หน่วยคำและคำจึงไม่ต่างกัน เราสามารถชี้บอกถึงขอบเขตของหน่วยคำหรือคำได้ง่าย เพราะคำในภาษาประเภทนี้มักไม่เปลี่ยนรูปเมื่อนำไปรวมกับคำอื่นๆ เพื่อประสมเป็นคำใหม่หรือเป็นประโยค เช่น คำว่า "ลม" กับ"พัด" เมื่อประสมเป็น "พัดลม" รูปคำก็ยังคงเดิมหรือในประโยค "ลมพัดแรง" คำทั้ง ๒ ดังกล่าวก็ยังคงรูปเดิม แสดงว่าคำข้างเคียงไม่มีอิทธิพลต่อเสียงหรือรูปของกันและกันเลย  อาจกล่าวได้ว่าในแง่ของรูป แต่ละคำ "ต่างคำต่างอยู่" ไม่ปะปนกันภาษาไทยเราจัดว่าเป็นภาษาคำโดด และภาษาจีนต่างๆ ทั้งจีนกลาง จีนกวางตุ้ง จีนแต้จิ๋ว ฯลฯ ก็จัดเป็นภาษาคำโดดด้วย
          ภาษาคำติดนั้นมีโครงสร้างคำที่ซับซ้อนมากขึ้น คือ คำในภาษามักประกอบขึ้นด้วยหลายหน่วยคำ แต่ละหน่วยคำมีความหมายและขอบเขตที่ชัดเจน เราจึงสามารถแยกคำออกเป็นหน่วยคำต่างๆ ได้โดยไม่ยากนัก  แต่รูปของหน่วยคำอาจเปลี่ยนไปได้บ้างตามอิทธิพลของหน่วยคำที่อยู่ติดกัน ดังตัวอย่างจากภาษาเตอร์กิช aldim "ฉันเอาไป"  verdim "ฉันให้"  ถ้าเราแยกเป็นหน่วยคำ ก็จะได้ ๔ หน่วยคือ "al" "เอาไป" dim "ฉัน" ver"ให้" dim "ฉัน" จะเห็นว่า "ฉัน" มี ๒ รูป คือdim และ dim และ aldim นับเป็น ๑ คำ verdimก็นับเป็น ๑ คำ เพราะสระของคำในภาษาเตอร์กิชต้องเป็นสระหน้าเหมือนกัน หรือเป็นสระหลังเหมือนกัน dim และ dim ความจริงเป็นหน่วยคำเดียวกันมีความหมายว่า "ฉัน" แต่เมื่ออยู่ติดกับหน่วยคำอื่นในคำๆ เดียวกัน ก็ต้องเปลี่ยนเสียงสระให้เข้ากัน ในภาษาเตอร์กิช a และ i นับเป็นสระหลัง i และ e นับเป็นสระหน้า  หน่วยคำว่า"ฉัน" จึงมีรูปเป็น "dim" เมื่ออยู่กับหน่วยคำที่ใช้สระหน้า เช่น ใน verdim และ "ฉัน" มีรูปเป็น "dim" เมื่ออยู่กับหน่วยคำที่ใช้สระหลัง เช่น ในaldim
           คำในภาษาวิภัตติปัจจัยนั้น มักประกอบขึ้นหลายหน่วยคำและมีโครงสร้างซับซ้อน แต่ละหน่วยมีขอบเขตที่ไม่ชัดเจน เราไม่สามารถแยกหน่วยคำได้ง่ายๆ เหมือนในภาษา ๒ ประเภทที่กล่าวมาแล้ว ที่สำคัญหน่วยคำแต่ละหน่วยยังมีความหมายได้หลายอย่างด้วย ดังตัวอย่างจากภาษาละติน
๑.        "Amicus              bonus        puellae            beatae          placet
             เพื่อน                ดี               เด็กหญิง           สุขใจ             เอาใจ
            "เพื่อนดี เอาใจเด็กหญิงผู้สุขใจ"

๒.       "Puella               beata          amicis              bonis            placet
           เด็กหญิง             สุขใจ           เพื่อน                ดี                 เอาใจ
           "เด็กหญิงผู้สุขใจ เอาใจเพื่อนที่ดี"
            จากตัวอย่างข้างบนนี้ เห็นได้ว่า แม้เราจะทราบความหมายของแต่ละคำ แต่เราไม่สามารถแยกหน่วยคำแต่ละหน่วยออกมาได้ง่ายๆ เพราะรูปของคำเปลี่ยนไปตามหน้าที่ในประโยค คำว่า"เพื่อน" และ "เด็กหญิง" เมื่อทำหน้าที่เป็น "ประธาน" ของประโยค มีรูปที่ต่างไปจากเมื่อทำหน้าที่เป็น "กรรม" ในทำนองเดียวกัน คำว่า "ดี" "สุขใจ" ก็มีรูปต่างกันไปเมื่อขยายคำที่ทำหน้าที่เป็น"ประธาน" และเป็น "กรรม" ของประโยคและคำกริยา placet "เอาใจ" นอกจากความหมายประจำแล้วยังมีความหมายว่าเป็น "บุรุษที่ ๓" และ "ปัจจุบันกาล" ด้วย ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตก็จัดว่าเป็นภาษาวิภัตติปัจจัยด้วย
            คำในภาษาคำควบมากพยางค์มีโครงสร้างที่ซับซ้อนมาก คือ ๑ คำอาจมีได้หลายหน่วยคำและแต่ละหน่วยคำมีทั้งรูปและความหมายของตัวเองดังนั้นรูปและความหมายของคำในภาษาคำควบมากพยางค์จึงซับซ้อนมาก  แต่เราสามารถแยกขอบเขตของหน่วยคำในภาษานี้ได้ไม่ยากนัก เพราะหน่วยคำบางหน่วยมีความหมายและรูปเหมือนกับคำที่เกิดแยกโดยลำพังได้ เช่น ในภาษา Kwak'walaมีคำกริยา kewkewpsala "ตัดให้เป็นชิ้นเล็กๆ" มีคำนาม kewkewsa'akw "ของที่ถูกตัดเป็นชิ้นเล็กๆ"และมีคำว่า kewpa "ตัด" โดยสรุปก็คือ คำในภาษาคำควบมากพยางค์นี้มีโครงสร้างและความหมายซับซ้อน  แต่เราก็สามารถแยกคำออกเป็นหน่วยคำได้ง่ายกว่าภาษาวิภัตติปัจจัย ภาษาอินเดียนแดงและภาษาเอสกิโม จัดเป็นภาษาคำควบมากพยางค์
           นอกจากศึกษาองค์ประกอบของคำแล้วนักภาษาศาสตร์ยังวิเคราะห์ถึงกระบวนการสร้างคำในภาษาด้วย กระบวนการที่พบมากที่สุดในภาษาต่างๆ ก็คือ การประสมคำ ซึ่งเกิดจากการนำคำหนึ่งไปประสมรวมกับอีกคำหนึ่ง  และได้เป็นคำใหม่ขึ้นมาใช้ในภาษา เมื่อศึกษาถึงคำประสมนักภาษาศาสตร์จะพิจารณาว่า คำประสมประกอบขึ้นด้วยคำประเภทใดบ้าง และเมื่อรวมกันเป็นคำใหม่คำเดียวแล้ว คำประสมเหล่านี้สามารถทำหน้าที่เป็นคำประเภทใดได้บ้าง เช่น

 

  เสื้อนอก

 กินใจ

 คู่รัก

--->

  นาม+บุพบท

  กริยา+นาม

  ลักษณะนาม+กริยา

--->

  นาม

  กิริยา

  นาม






           ในภาษาไทยมีการสร้างคำอีกวิธีหนึ่งเรียกว่าการซ้ำเสียง เกิดจากการนำคำๆ หนึ่งมาออกเสียงซ้ำเป็น ๒ ครั้ง และเกิดเป็นคำใหม่ที่มีความหมายต่างไป เช่น "ขาว" ซ้ำเสียงเป็น "ขาวๆ" "ดี"ซ้ำเสียงเป็น "ดีๆ" "รวม" เป็น "รวมๆ" ซึ่งคำใหม่ที่มี ๒ พยางค์นี้มีความหมายต่างไป การซ้ำเสียงนี้มีทั้งที่ซ้ำเหมือนกันทุกเสียง ดังตัวอย่างที่ยกมาแล้วนี้ และซ้ำเพียงบางเสียง เช่น "ขาว" เป็น "ค้าวขาว" "เหนื่อย" เป็น "เนื้อยเหนื้อย"  ในตัวอย่างหลังนี้ พยางค์ที่เกิดจากการซ้ำเสียงมีเสียงวรรณยุกต์ที่ต่างไปจากคำเดิม และคำใหม่ที่มี ๒ พยางค์ ก็มีความหมายต่างไปจากคำเดิมที่มีพยางค์เดียว การศึกษาถึงโครงสร้างของคำ หน่วยคำและการประกอบคำในทำนองนี้ ในทางภาษาศาสตร์เรียกว่า เป็นการศึกษาระบบคำ (morphology)
          ในระดับคำ นักภาษาศาสตร์แบ่งความหมายออกเป็น ๒ ประเภท คือ ความหมายทางไวยากรณ์และความหมายอ้างอิง ความหมายทางไวยากรณ์เกิดจากความสัมพันธ์เชื่อมโยงในตัวภาษาเอง ไม่เกี่ยวข้องกับโลกภายนอก เช่น ความหมายของคำว่า "อาจ" "แต่" "และ" "หรือ"ไม่เกี่ยวโยงถึงโลกรอบๆ ตัว "อาจ" เป็นความหมายซึ่งแสดงถึงความไม่แน่นอน "แต่" แสดงถึงความขัดแย้ง "และ" แสดงถึงการเพิ่มเติม "หรือ" แสดงถึงการให้เลือก ฯลฯ ส่วนความหมายอ้างอิง เป็นความหมายที่เกี่ยวข้องกับโลกรอบๆ ตัว เช่น คำว่า "น้ำ ต้นไม้ บ้าน ความรัก ไกล ชอบ" ล้วนมีความหมายที่เราอ้างอิงถึงได้ในสังคมโลก คำประเภทมีความหมายแบบอ้างอิงเป็นคำส่วนใหญ่ของภาษาที่มีจำนวนมาก เราไม่อาจนับได้ครบถ้วนส่วนคำที่มีความหมายทางไวยากรณ์นั้นมีจำนวนน้อย เราสามารถนับจำนวนได้ เป็นต้นว่า คำบุพบทคำสันธาน ในแต่ละภาษาจะมีจำนวนไม่มาก
          ความหมายของคำในกลุ่มที่มีความหมายแบบอ้างอิงมีหลายแบบ แตกต่างกันไป คำบางคมีความหมายกว้างและครอบคลุมรวมถึงความหมายของคำอื่นๆ ด้วย เป็นต้นว่า คำ "สัตว์"รวมความหมายของคำว่า "นก" "สุนัข" "ม้า"ไว้ด้วย คำบางคำมีความหมายที่เป็นรูปธรรมเฉพาะเจาะจงมาก และเราสามารถชี้ถึงสิ่งที่อ้างอิงได้ทันที เช่น ชื่อเฉพาะ แต่ความหมายของคำบางคำก็เป็นนามธรรมมาก เราไม่สามารถชี้ไปที่สิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ เช่น "ความดี" "ความอดทน" นอกจากนี้ความหมายของคำต่างๆ ยังมีความสัมพันธ์กันแบบเกาะกลุ่มด้วย เช่น ความหมายของ "วันจันทร์"ย่อมสัมพันธ์กับ วันอาทิตย์ วันอังคาร และวันอื่นๆในกลุ่มเดียวกัน คำบอกชื่อเดือน ชื่อสี และคำลำดับญาติ เช่น พ่อ แม่ ลูก หลาน ลุง ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย ก็เช่นเดียวกัน  นักภาษาศาสตร์ศึกษาถึงธรรมชาติของการเกาะกลุ่มกันของคำในภาษาไว้ว่า มี ๔ ประเภทใหญ่ คือ 
          ๑.การเกาะกลุ่มของคำในลักษณะเดียวกันเช่น วันจันทร์ - วันอาทิตย์ สีแดง - สีดำ - สีขาวฯลฯ คำที่มีความหมายตรงข้ามกันก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย เช่น สูง-ต่ำ อ้วน-ผอม
          ๒. การเกาะกลุ่มของคำที่นำมาใช้ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน เช่น พริก - มะนาว - น้ำปลาขนมปัง - สังขยา - เนย ฝนตก - รถติด
          ๓. การเกาะกลุ่มของคำที่มีความหมายกว้างกว่ากับคำที่มีความหมายแคบกว่า เช่น สัตว์ - สุนัขอาหาร - แป้ง - ข้าว
          ๔. การเกาะกลุ่มของคำที่มีความหมายเหมือนกัน เช่น รับประทาน - ทาน - กิน

          มีนักภาษาศาสตร์ที่ใช้วิธีการวิเคราะห์ความหมายที่เรียกว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Componential analysis) เพื่อศึกษาถึงความเหมือนและความต่างของกลุ่มคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันดังตัวอย่างกลุ่มคำที่มีความหมายใกล้เคียง เช่น บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ คอนโดมิเนียม ตึกแถว เป็นกลุ่มคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน
  บ้าน ทาวส์เฮ้าส์ คอนโดมิเนียม ตึกแถว ลักษณะความหมาย "เป็นที่อยู่อาศัย" + + + + "เป็นหน่วยทางการก่อสร้าง" + + + + "เป็นสิ่งก่อสร้างแยกเดี๋ยว" + - - - "เป็นสิ่งก่อสร้างหน่วยหนึ่งในหลาย ๆ หน่วย มีหลังคาแยกส่วน" - + - - "เป็นสิ่งก่อสร้างในอาคารสูงกว่า๕ ชั้น" - - + - "เป็นสิ่งก่อสร้างต่อเนื่องเป็นแถวยาวแยกเป็นห้อง ๆ"
          ในการวิเคราะห์ความหมายแบบนี้ "ลักษณะทางความหมาย" ของคำแยกเป็นส่วนๆ ดังตัวอย่างข้างบนนี้ คำทั้ง ๔ มีความหมายเหมือนกัน ๒ประการ คือ "เป็นที่อยู่อาศัย" และ "เป็นหน่วยทางการก่อสร้าง" ส่วนลักษณะความหมายอื่นๆ เป็นความแตกต่างของแต่ละคำ

คำ, คำ หมายถึง, คำ คือ, คำ ความหมาย, คำ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 22

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu