การละเล่นของเด็ก
การละเล่นของเด็ก, การละเล่นของเด็ก หมายถึง, การละเล่นของเด็ก คือ, การละเล่นของเด็ก ความหมาย, การละเล่นของเด็ก คืออะไร
การเล่นเป็นชีวิตจิตใจของเด็ก ไม่มีเด็กคนไหนที่ไม่ชอบเล่น ไม่ว่าจะเล่นคนเดียวหรือเล่นกับเพื่อนๆ การเล่นและเด็กจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น เด็กที่ไม่รู้จักเล่นหรือไม่ชอบเล่นอาจกล่าวได้ว่าผิดธรรมชาติ เป็นเด็กซึ่งไม่สมบูรณ์ทางกายหรือสมอง การเล่นไม่ใช่การใช้เวลาสูญเปล่า แต่เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการส่งเสริมความสามารถทางกาย จิตใจ และช่วยให้มีมนุษยสัมพันธ์อันดี ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิต ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า "เมื่อไรควรเล่น" การเล่นจะให้ประโยชน์อย่างไร แม้ในบางครั้งก็ยังใช้ "การเล่น" เป็นสื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าวิธีอื่น
การเล่นของเด็กไทยก็มีหลายอย่างที่เหมือนกับเด็กชาติอื่น และที่แตกต่างเป็นของไทยโดยเฉพาะก็มี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติของแต่ละชาติ เช่น การเล่นซ่อนหาในยุโรปก็มีเล่นกันมาก วิธีเล่นอาจแตกต่างกันไปบ้างเล็กน้อย การเล่นของเด็กในเอเชียที่คล้ายกัน ได้แก่ หมากเก็บ ในอินเดียและฟิลิปปินส์ก็มี แต่วัสดุที่นำมาเล่นต่างกัน ดังนี้เป็นต้น
การละเล่นของเด็กไทยที่จะนำมากล่าวถึงจะเป็นเพียงตัวอย่างที่เลือกมาจากที่เล่นกันอยู่ในสมัยโบราณ เฉพาะที่มีคุณค่าในการพัฒนาเด็กในด้านต่างๆ การเล่นบางอย่างยังยืนยงมาถึงปัจจุบัน บางอย่างก็หมดไปด้วยเหตุที่วัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาแทนที่ เพราะเด็กขาดความอิสระเสรีในการเล่น พ่อแม่ ครูเข้ามามีบทบาท ในการกำหนดการเล่นของเด็กมากขึ้น การเล่นแบบเดิมนี้จึงควรอนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติวัฒนธรรมของไทยให้เด็กรุ่นหลังได้รู้จักและเพื่อศึกษาลักษณะสังคมไทยในสมัยนั้นๆ
ทางยุติปัญหาที่ใช้กันอยู่มากในปัจจุบัน มีดังนี้
การจับไม้สั้นไม้ยาว ผู้เล่นผู้หนึ่งจัดหาไม้หรืออะไรที่คล้ายกัน มีจำนวนเท่าผู้เล่น ให้ไม้มีความสั้นยาวไม่เท่ากัน กำให้แน่นแล้วให้ผู้เล่นจับโดยวิธีดึงออกไป อันสุดท้ายเป็นของผู้ทำ ถ้าใครจับได้ไม้สั้นที่สุดหรือยาวที่สุดก็ต้อง
เป็นตามที่ได้ตกลงกันไว้ก่อนแล้วการจับไม้สั้นไม้ยาว ผู้ทำอาจทำให้ผู้จับเกิดความลังเล ก็จะเป็นการสนุกอีกอย่างหนึ่ง
จี้จุ๊บ ผู้เล่นผู้หนึ่งจะกางมือคว่ำลง แล้วยื่นไปข้างหน้าให้ผู้เล่นอื่นๆ เอานิ้วชี้ไปจดฝ่ามือ ผู้ที่ยื่นมือไปจะร้องจี้จุ๊บ พอร้องจบถึงคำสุดท้ายก็จะคว้านิ้วชี้ของผู้เล่นอื่นๆ ถ้าจับได้ใคร คนนั้นต้องเล่นเป็นตามที่ตกลงกันไว้ ถ้าคว้าไม่ได้ต้องทำใหม่ ๓ ครั้ง ถ้าคว้าไม่ได้อีกผู้ที่เป็นคนคว้าต้องเป็นเอง
บทร้องประกอบการเล่นมีว่า จุ้มจาลีจี้จาหลบ กินขี้กบ หลบไม่ทัน (มีหลายบท)
การยุติปัญหานี้เป็นการเล่นชนิดหนึ่งสำหรับเด็กเล็กๆ ที่ผู้ใหญ่ล่อให้เด็กเกิดความเพลิดเพลินเวลาร้องไห้งอแงได้ด้วย
เป้ายิงฉุบ ผู้เล่น ๒ คน เอามือซ่อนไว้หลังหู แล้วทำมือเป็นรูปต่างๆ คือ กระดาษ ค้อน กรรไกร ถ้าแบมือกางนิ้วหมายถึงกระดาษ ถ้าทำมือเป็นรูปกำปั้นหมายถึงค้อน ถ้าชูนิ้วสองนิ้วหมายถึงกรรไก วิธีเล่นต้องหันหน้าเข้าหากัน ยืนห่างกันพอสมควร พอร้องเป้ายิงฉุบ แล้วต่างก็ยื่นมือออกไปข้างหน้า เป็นรูปตามที่ต้องการ ถ้าฝ่ายไหนมีอำนาจกว่าฝ่ายนั้นก็ชนะ คือ ค้อนทุบกรรไกร กรรไกรตัดกระดาษ กระดาษห่อค้อน การเล่นเป้ายิงฉุบนอกจากใช้เป็นการตัดสินคู่สุดท้ายที่ยังตกลงกันไม่ได้ ยังเป็นการเล่นที่สนุกสนานอีกด้วย
โออาเหล่าตาแป๊ะ ผู้เล่น ๓ คนขึ้นไป ยืนล้อมวงกัน ทุกคนยื่นมือไปข้างหน้าพร้อมกับ แกว่งมือขณะร้องโออาเหล่าตาแป๊ะ พอจบคำตาแป๊ะ จะหงายหรือคว่ำมือ ถ้าใครผิดแปลกออกไปทางจำนวนน้อย คนนั้นต้องออกไป ทำเช่นนี้จนถึงคนสุดท้าย การคัดออกวิธีนี้เป็นการเล่นไปด้วย วิธีนี้คล้ายการเล่นทางภาคใต้ที่เรียกว่า ลาลาตี้ทำบ็อง
การละเล่นของเด็ก, การละเล่นของเด็ก หมายถึง, การละเล่นของเด็ก คือ, การละเล่นของเด็ก ความหมาย, การละเล่นของเด็ก คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!