ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

หอพระไตรปิฏก, หอพระไตรปิฏก หมายถึง, หอพระไตรปิฏก คือ, หอพระไตรปิฏก ความหมาย, หอพระไตรปิฏก คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
หอพระไตรปิฏก

          หอพระไตรปิฎก   คือ   อาคารซึ่งใช้เป็น ที่เก็บคัมภีร์พระไตรปิฎกหรือหนังสือพระธรรมคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา หอพระไตร  ปิฎกจึงมีสถานะเท่ากับเป็นหอสมุดของวัด กล่าวคือนอกจากจะใช้เป็นสถานที่สำหรับเก็บรักษาหนังสือแล้ว ยังเป็นแหล่งให้การศึกษาเพื่อการเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ อีกด้วย

          หอพระไตรปิฎกที่มีอยู่ตามวัดต่างๆ ทั่วพระราชอาณาจักรนั้น ส่วนใหญ่สร้างเป็น อาคารเดี่ยวอยู่ในบริเวณพื้นที่ส่วนสังฆาวาส  ตัวอาคารนิยมปลูกสร้างอยู่กลางสระน้ำ เพื่อป้องกันมิให้มด ปลวก และแมลงมากัดกินหนังสือ นอกจากนั้นความเย็นจากน้ำยังช่วยให้ภายในหอพระไตรปิฎกไม่ร้อนจัด เท่ากับเป็นวิธีการถนอมและอนุรักษ์หนังสือซึ่งเก็บอยู่ในตู้พระธรรมหรือหีบพระธรรม ซึ่งตั้งอยู่ภายในหอพระไตรปิฎกอีกด้วย

          อาคารซึ่งใช้เป็นที่เก็บคัมภีร์พระไตร ปิฎก หรือหอพระไตรปิฎกนั้น ในปัจจุบันนิยมเรียกสั้นๆว่า  หอไตร  หรือหอธรรม  ก็มีตามหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในจารึกหลายหลักยังบ่งบอกให้ทราบว่า  คนไทยในอดีตเรียกสถานที่เก็บคัมภีร์พระไตรปิฎกแตกต่างจากปัจจุบัน เช่นเรียกว่า หอพระปิฎกธรรม หอปิฎก และหอพระธรรมมณเฑียร ดังตัวอย่างข้อความที่ปรากฏในจารึกต่อไปนี้

          ศิลาจารึกวัดช้างล้อม จังหวัดสุโขทัยปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครกรุงเทพมหานคร   จารึกด้วยอักษรไทยสุโขทัย  ภาษาไทย   พ.ศ. ๑๙๒๗   ด้านที่ ๑   บรรทัดที่ ๔๑ ความว่า “...แล้วจึงมาตั้งกระทำหอพระปิฎกธรรม...”

          ศิลาจารึกวัดป่าใหม่   ปัจจุบันอยู่ที่วัด  ศรีอุโมงค์คำ   อำเภอเมืองฯ  จังหวัดพะเยา จารึกด้วยอักษรไทยล้านนา (อักษรฝักขาม) ภาษาไทย พ.ศ. ๒๐๔๐ ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๓ - ๑๔ ความว่า “...ไว้กับอุโบสถห้าครัว ไว้กับหอปิฎกห้าครัว...”

          ศิลาจารึกวัดพระธาตุ  มุมตะวันออกเฉียงเหนือ  จังหวัดลำพูน  จารึกด้วยอักษรไทยล้านนา (อักษรฝักขาม)  ภาษาไทย  พ.ศ.  ๒๐๔๓ ด้านที่  ๑   บรรทัดที่ ๑๒   ความว่า  “...จึงให้สร้างพระธรรมมณเฑียรอันอาเกียรณ์...”

          หอพระไตรปิฎกที่พบเห็นในปัจจุบันจะมีลักษณะเฉพาะตามรูปแบบศิลปะของยุค สมัยประกอบกับความนิยมของท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาคและฐานะของวัด  ด้วยเหตุนี้ ลักษณะรูปทรงและขนาดของหอพระไตรปิฎก จึงแตกต่างกัน  อย่างไรก็ดีส่วนใหญ่พบว่ารูปทรงสถาปัตยกรรมของหอพระไตรปิฎกมักจะสร้างตามแบบแผนอย่างประเพณีนิยม คือ เป็นอาคารในผังรูปสี่เหลี่ยม  หลังคามุงกระเบื้อง  มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์  หน้าบัน และทวยรับชายคา  โดยเครื่องบน หลังคาเหล่านี้นิยมแกะสลักไม้เป็นลวดลายต่างๆ กับลงรักปิดทองประดับกระจกด้วย  ส่วนภายในอาคาร ได้แก่  เพดาน  เสา  และผนังโดยรอบมักตกแต่งด้วยภาพจิตรกรรม

          ลักษณะของหอพระไตรปิฎกอาจจำแนกออกตามชนิดของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้  ๓  ประเภท คือ

           หรือหอพระไตรปิฎกที่สร้างด้วยอิฐ  ก่อผนังแบบอาคารตึกตั้งแต่ฐานถึงปลายผนัง  เพื่อรองรับเครื่องบนหลังคาที่เป็นโครงสร้างไม้  อาคารเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าอย่างโบสถ์หรือวิหารทั่วๆ ไป เช่น  หอพระมณเฑียรธรรม  หรือหอพระไตรปิฎก  วัดพระศรีรัตนศาสดาราม  กรุงเทพมหานคร  ลักษณะเป็นอาคารในผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือทรงคฤห์  มีหลังคาคลุมเฉพาะด้านยาวเท่านั้น  และหอพระไตรปิฎก วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม  ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร  ลักษณะเป็นอาคารจตุรมุข  และมีเครื่องบนหลังคาเป็นทรงปราสาทยอดมงกุฎ  อันเป็นลักษณะพิเศษที่เน้นฐานานุศักดิ์ทางสถาปัตยกรรมของอาคาร

หอพระไตรปิฏก, หอพระไตรปิฏก หมายถึง, หอพระไตรปิฏก คือ, หอพระไตรปิฏก ความหมาย, หอพระไตรปิฏก คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 30

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu